fintips by ttb #เรื่องเงินที่รู้จริงแบบเพื่อนที่รู้ใจ ชวนเช็กกันอีกรอบก่อน
สิ้นปี! สำหรับเหล่ามนุษย์เงินเดือนที่มีรายได้ถึงเกณฑ์ต้องยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา มาสำรวจให้ดี ๆ ว่าปีนี้วางแผนภาษีล่วงหน้ากันครบถ้วนแล้วหรือยัง โดยเริ่มจากการคำนวณจำนวนภาษีที่ต้องเสียและหาตัวช่วยลดหย่อนภาษีรูปแบบต่าง ๆ ยื่นภาษีเงินได้ผ่านช่องทางไหนได้บ้าง
การยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในปี 2567 สามารถทำได้หลายวิธี มีทั้งการยื่นภาษีแบบเอกสารกระดาษที่สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขาใกล้บ้าน ภายในวันที่ 31 มีนาคม 2567 หรือจะเลือกยื่นภาษีออนไลน์ผ่านเว็บไซต์ของกรมสรรพากรที่ www.rd.go.th สามารถทำได้ถึงวันที่8 เมษายน 2567
- อัตราภาษีเงินได้เท่าไหร่ถึงต้องเสียภาษี
การคำนวณภาษีจะเป็นการคิดคำนวณแบบขั้นบันได ซึ่งจากข้อมูลอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา 2566
ผู้มีเงินได้สุทธิ 0 – 150,000 บาทแรก จะได้รับการยกเว้นภาษี และเงินได้สุทธิเกิน 150,000 บาทขึ้นไป จะเริ่มอยู่ในเกณฑ์ที่ต้องเสียภาษี โดยเริ่มที่ฐาน 5% รายละเอียดเกณฑ์อัตราภาษีสามารถดูได้จากภาพประกอบด้านล่าง
- ภาษีเงินได้เกิน มีอะไรที่สามารถนำมาช่วยลดหย่อนได้บ้าง
“ค่าลดหย่อน” คือ สิทธิประโยชน์ทางภาษีที่ถูกกำหนดตามกฎหมาย กำหนดไว้ให้สามารถนำไปหักออกจากเงินได้หลังจากที่หักค่าใช้จ่ายแล้ว จะช่วยทำให้เราเสียภาษีน้อยลงหรืออาจจะไม่ต้องเสียภาษีเลยก็สามารถทำได้เช่นกัน โดยในแต่ละปีอาจมีรายการลดหย่อนภาษีต่างกันออกไปเล็กน้อย เนื่องจากนโยบายของรัฐในช่วงนั้น ๆ โดยสำหรับปี 2566 มีรายการลดหย่อนภาษีแบ่งออกเป็น 4 กลุ่มหลัก ได้แก่
ค่าลดหย่อนภาษีส่วนตัวและครอบครัว
- ลดหย่อนส่วนตัว 60,000 บาท
- คู่สมรส (จดทะเบียนสมรส – ไม่มีรายได้) 60,000 บาท
- บุตร คนละ 30,000 บาท หากเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมาย สามารถหักลด
หย่อนได้ไม่จำกัดจำนวนคน แต่ถ้าเป็นบุตรบุญธรรม สามารถหักลด
หย่อนได้ไม่เกิน 3 คน โดยมีเงื่อนไขดังนี้
- อายุไม่เกิน 20 ปี
- หากอายุ 21 – 25 ปี ต้องศึกษาอยู่ในระดับ ปวส. ขึ้นไป
- บุตรมีเงินได้ไม่ถึง 30,000 บาทต่อปี ในกรณีบุตรคนที่ 2 ขึ้นไปที่เกิด
ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2561 เป็นต้นไป จะสามารถลดหย่อนได้คนละ
60,000 บาท
- ค่าฝากครรภ์และคลอดบุตร หักลดหย่อนได้ตามจริง แต่ไม่เกิน
60,000 บาท - ค่าดูแลเลี้ยงดูพ่อแม่ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป คนละ 30,000 บาท โดยพ่อ
แม่ต้องมีรายได้ไม่เกิน 30,000 บาทต่อปี และสามารถหักลดหย่อน
สำหรับพ่อแม่ของคู่สมรสได้อีกคนละ 30,000บาท - ค่าอุปการะเลี้ยงดูคนพิการหรือคนทุพพลภาพ คนละ 60,000 บาท
โดยผู้พิการต้องมีรายได้ไม่เกิน 30,000 บาทต่อปี และมีบัตรประจำตัว
คนพิการ
- ค่าลดหย่อนภาษีกลุ่มประกันและการลงทุน (ลำดับ)
- ประกันสังคมสูงสุด 9,000 บาท
- เบี้ยประกันสุขภาพพ่อแม่ของตัวเองและของคู่สมรส ลดหย่อนตามที่จ่าย
จริง แต่ไม่เกิน 15,000 บาท - เบี้ยประกันชีวิตทั่วไป หรือเงินฝากแบบมีประกันชีวิต (คุ้มครอง 10 ปีขึ้น
ไป) ลดหย่อนตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 100,000 บาท - เบี้ยประกันสุขภาพตัวเอง ลดหย่อนตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 25,000
บาท และเมื่อรวมกับประกันชีวิตทั่วไปแล้ว ต้องไม่เกิน 100,000 บาท - เบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญ ลดหย่อนได้ 15% ของรายได้ แต่ไม่เกิน
200,000 บาท และอาจจะลดหย่อนได้สูงสุด 300,000 บาท ถ้ายังไม่
ได้ใช้สิทธิลดหย่อนเบี้ยประกันชีวิตทั่วไป โดยมีเงื่อนไขดังนี้
- ระยะเวลาคุ้มครอง 10 ปีขึ้นไป
- จ่ายผลตอบแทนให้ผู้เอาประกันตั้งแต่อายุ 55 ปี ต่อเนื่องไป
จนถึงอายุ 85 ปี หรือมากกว่านั้น
- กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ / กองทุนสงเคราะห์ครูโรงเรียนเอกชน ลด
หย่อนได้ 15% ของรายได้ แต่ไม่เกิน 500,000 บาท และสำหรับ
กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) ลดหย่อนได้ 30% ของราย
ได้ แต่ไม่เกิน 500,000 บาท - กองทุนรวมเพื่อการออม (SSF) ลดหย่อนได้สูงสุด 30% ของรายได้ แต่
ไม่เกิน 200,000บาท โดยมีเงื่อนไขดังนี้
- ต้องถือหน่วยลงทุนไม่ต่ำกว่า 10 ปี นับจากวันที่ซื้อ
- ไม่มีขั้นต่ำในการซื้อและไม่ต้องซื้อต่อเนื่องทุกปี
- กองทุนเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) ลดหย่อนได้สูงสุด 30% ของรายได้
แต่ไม่เกิน 500,000บาท โดยมีเงื่อนไขดังนี้
- ต้องซื้อต่อเนื่องทุกปี หรืออย่างน้อยปีเว้นปี
- ต้องถือหน่วยลงทุนไม่น้อยกว่า 5 ปี นับตั้งแต่วันที่ซื้อครั้งแรก
โดยนับเฉพาะปีที่มีการซื้อหน่วยลงทุน คือ ปีใดไม่ลงทุนจะไม่
นับว่ามีการลงทุนในปีนั้น - ขายได้ตอนอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์
- กองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) ลดหย่อนได้ตามจริง สูงสุด 30,000
บาท
ทั้งนี้ กองทุน RMF, กองทุน SSF, กบข., กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ, กองทุนสงเคราะห์ครูเอกชน, กองทุนการออมแห่งชาติ และประกันชีวิตแบบบำนาญ เมื่อรวมกันทั้งหมด ต้องไม่เกิน 500,000 บาท
- ค่าลดหย่อนภาษีกลุ่มกระตุ้นเศรษฐกิจ
- ดอกเบี้ยบ้าน ลดหย่อนได้ตามจริงแต่ไม่เกิน 100,000 บาท โดยมี
เงื่อนไขดังนี้
- เป็นดอกเบี้ยจากเงินกู้เพื่อซื้อบ้าน คอนโดมิเนียม หรือที่อยู่
อาศัย โดยเราต้องอาศัยในบ้านหลังนี้ด้วย - ต้องเป็นการกู้เพื่อซื้อหรือสร้างที่อยู่บนที่ดินของตัวเอง หรือกู้
เพื่อซื้อคอนโดมิเนียม - ต้องเป็นการกู้ยืมจากสถาบันการเงินภายในประเทศ
- หากมีการกู้สำหรับที่อยู่อาศัยมากกว่า 1 แห่ง สามารถรวมกัน
ได้ แต่ต้องไม่เกิน 100,000 บาท - กรณีกู้ร่วมกันหลายคน ให้แบ่งดอกเบี้ยคนละเท่า ๆ กัน
- เงินลงทุนวิสาหกิจเพื่อสังคม (Social Enterprise) 100,000 บาท
- ช้อปดีมีคืน 40,000 บาท โดยมีเงื่อนไขดังนี้
- ซื้อสินค้าและบริการทั่วไปที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) หนังสือ
(รวมถึง e-book) และสินค้า OTOP ลงทะเบียนกับกรมพัฒนา
ชุมชนแล้ว - มีใบกำกับภาษีแบบเต็มรูป ลดหย่อนได้ 30,000 บาท
- มีใบกำกับภาษีแบบอิเล็กทรอนิกส์ ลดหย่อนเพิ่มได้อีก
10,000 บาท - ใช้สำหรับการซื้อสินค้าในช่วงวันที่ 1 มกราคม – 15
กุมภาพันธ์ 2566 - ค่าลดหย่อนภาษีกลุ่มเงินบริจาค
- บริจาคพรรคการเมือง 10,000 บาท
- เงินบริจาคเพื่อการศึกษา สนับสนุนกีฬา พัฒนาสังคมต่าง ๆ มูลนิธิ
ด้านสาธารณสุข และโรงพยาบาลรัฐ ลดหย่อนภาษีได้ 2 เท่าของที่
จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 10% ของเงินได้หลังหักค่าใช้จ่ายและค่าลด
หย่อน - เงินบริจาคอื่น ๆ มูลนิธิและองค์กรสาธารณกุศล ลดหย่อนได้ตามที่
จ่ายจริง แต่ไม่เกิน10% ของเงินได้หลังหักค่าใช้จ่ายและค่าลด
หย่อน
สำหรับใครที่มองหาวิธีเปลี่ยนเรื่องภาษีให้เป็นเรื่องที่ง่ายขึ้น ทีทีบีขอแนะนำ “My Tax” ฟีเจอร์ใหม่ บนแอป ttb touch ผู้ช่วยจัดการภาษีแบบครบวงจร ที่มาพร้อมฟีเจอร์ครบครันด้านภาษี ช่วยให้คุณวางแผนการเงินเพื่อประหยัดภาษีได้ล่วงหน้า…สะดวก ใช้งานก็ง่าย แถมไม่ต้องยุ่งยากกับเอกสารอีกด้วย
คลิก https://ttbbank.com/mytax เพื่อลองใช้งาน My Tax ผ่านแอป ttb touch วางแผนลดหย่อนภาษีสามารถจัดการได้แต่เนิ่น ๆ