เพราะการเก็บเงินจริงจัง เป็นเรื่องยากของเด็กจบใหม่ หรือวัยเริ่มทำงาน โดยเฉพาะคนที่อยากสร้างเนื้อสร้างตัวเพื่อสร้างรากฐานที่มั่นคงตั้งแต่เนิ่น ๆ ด้วยเงินเดือนที่อยู่ในระดับ Entry Level หรือเพิ่งเริ่มต้น ซึ่งหลายคนนอกจากต้องรับมือกับค่าใช้จ่ายส่วนสำคัญ ไม่ว่าจะเป็นค่าเดินทาง ค่าที่อยู่อาศัย หรือค่าอาหารในทุกวันแล้ว อาจต้องชำระคืนทุนการศึกษา หรือต้องช่วยแบ่งเบาภาระทางบ้านอีกด้วย ดังนั้น First Jobbers อาจพบเจอความท้าทายทางการเงินได้หลากหลาย
วันนี้ fintips by ttb #เรื่องเงินที่รู้จริงแบบเพื่อนที่รู้ใจ ชวนคุณมารู้จักเคล็ดลับ 5 นิสัยที่ช่วยให้วัยเริ่มทำงานเก็บเงินได้ไวขึ้น เพื่อการเงินที่ดีขึ้น
- กำหนดงบประมาณที่ใช้ต่อเดือน
ไม่ว่าการเริ่มต้นชีวิตมนุษย์ทำงานจะยุ่งเหยิงแค่ไหน แบกอะไรบ้าง แต่เรื่อง “การเงิน”ต้องไม่หลุดโฟกัส เมื่อตั้งใจเก็บเงินอย่างจริงจัง สิ่งสำคัญคือ การคุมงบใช้จ่ายอย่างหนักแน่น ซึ่งการรู้จักตัวเองว่าในแต่ละเดือน ต้องเสียค่าใช้จ่ายไปกับอะไร เท่าไหร่ ทั้งค่าที่อยู่อาศัย ค่าน้ำ ค่าไฟ รวมถึงค่าชอปปิงต่าง ๆ จะเป็นจุดเริ่มต้นของการจัดสรรงบประมาณที่ใช้จ่ายต่อเดือน และการแยกบัญชีเป็นสัดส่วน 2 บัญชี คือ บัญชีเพื่อใช้และเพื่อออม เป็นตัวช่วยที่ดีในการจัดสรรเงิน และช่วยให้ติดตามการใช้เงินได้ง่ายขึ้น โดยจะได้รู้ว่าใช้เงินค่าอะไรไปเท่าไหร่ ตลอดเดือนจะเหลือเงินให้ใช้เท่าไหร่ ใกล้เต็มลิมิตแล้วหรือยัง และทำให้มั่นใจได้ว่าไม่รบกวนเงินที่ตั้งใจเก็บไว้แน่นอน
- ตั้งเป้าหมายการออม
เมื่อมีอิสระทางการเงินของตัวเองและทำงานเหนื่อย การเปย์ตัวเองด้วยของรางวัลจึงเป็นเรื่องปกติของวัยเริ่มทำงาน แต่หากมีความตั้งใจเก็บเงินให้ไวขึ้น การตั้งเป้าหมายการออมจะช่วยให้มีความแน่วแน่และข้ามผ่านอุปสรรคยั่วยวนใจได้ดีขึ้น ไม่ว่าจะเป็นเป้าหมายระยะสั้น เช่น เดือนนี้จะเก็บเงินให้ได้ 5,000 บาท เพื่อไปเที่ยวต่างประเทศ ซื้อของที่อยากได้มานาน หรือเป้าหมายระยะยาว เช่น เก็บเงินเพื่อดาวน์คอนโด ดาวน์รถ การมีเส้นชัยที่ต้องไปให้ถึง ย่อมทำให้มีกำลังใจในการเก็บเงินโดยไม่ล้มเลิกไปเสียก่อน
- มีเงินสำรองฉุกเฉิน
เพราะชีวิตมีความไม่แน่นอน อาจเจอเรื่องไม่คาดฝันได้ทุกเวลา เช่น เจ็บป่วยจากอุบัติเหตุหรือโรคภัยไข้เจ็บ มีเรื่องให้จำเป็นต้องจ่ายเงินก้อนใหญ่
หรืองานที่ทำยังไม่มั่นคง อาจมีเหตุให้ต้องเปลี่ยนงาน ออกจากงาน เงินสำรองฉุกเฉินจึงเป็นเบาะรองรับสำคัญ เมื่อถึงวันสะดุดล้มก็ไม่เจ็บช้ำจนเกินไป
หนึ่งทางออกเพื่อรองรับความเสี่ยงเหล่านี้คือ การสำรองเงินบางส่วนไว้ผ่านการเปิดบัญชีเงินฝากที่มีประกันอุบัติเหตุฟรี เช่น เปิดบัญชีเงินฝาก ttb all free ที่ทำธุรกรรมออนไลน์ ได้อย่างสะดวก รวดเร็วผ่าน แอป ttb touch ที่สำคัญยังได้ประกันอุบัติเหตุฟรี เบิกค่ารักษาได้ 3,000บาท/อุบัติเหตุ ไม่จำกัดจำนวนครั้ง เพียงคงเงินฝากไว้ในบัญชีไม่ต่ำกว่า 5,000 บาท ทุกวันตลอดทั้งเดือน
หากอายุยังน้อยและไม่แน่ใจว่าจะซื้อประกันอะไรดี แค่มีเงินฝากเก็บไว้ในบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ttb all free ก็ได้รับประกันอุบัติเหตุฟรีแบบไม่ต้องสมัครอะไร หรือเสียค่าอื่นใดเพิ่ม เริ่มต้นสร้างวินัยทางการเงิน ด้วยการมียอดเงินฝากคงเหลืออยู่ในบัญชี ttb all free ให้ได้ตามเงื่อนไข เพิ่มความคุ้มครองทางการเงินได้อีกทาง
- ทำบันทึกรายรับรายจ่าย
หลายคนอาจมองว่าการทำบันทึกรายรับรายจ่ายยุ่งยาก เพราะต้องติดตามว่าในแต่ละวันจ่ายเงินค่าอะไรบ้าง ทว่าที่จริงแล้ว นิสัยการใช้จ่ายของคนวัยทำงานในปัจจุบัน มักเลือกโอนเงินผ่านโมบายแบงก์กิ้ง หรือรูดจ่ายผ่านบัตรเดบิต ทำให้การทำบันทึกรายรับรายจ่ายเป็นเรื่องง่ายขึ้น ไม่ต้องคอยย้อนทวนความจำหรือว้าวุ่นกับเงินหล่นหาย เพราะมีหลักฐานทุกครั้งที่โอนเงินออกจากบัญชี ย้อนกลับมาดูก็เห็นทั้งภาพรวมและรายละเอียดทุกรายการ ทำให้ช่วยประเมินตัวเองได้ง่ายขึ้น จัดลำดับความสำคัญของรายจ่ายได้อย่างชัดเจน และเห็นภาพว่ายอดใช้จ่ายไหนควรตัดออกเพื่อให้เก็บเงินได้มากขึ้น
สะดวกมากขึ้นด้วยฟังก์ชัน ‘Smart Search’ จากแอป ttb touch ให้คุณค้นหา และเรียกดูทุกรายการเดินบัญชีได้ง่าย ๆ เป็นตัวช่วยบันทึกและสรุปรายการใช้-จ่าย ให้คุณวางแผน ดูแลการเงินได้ดีขึ้น
- เลี่ยงการสร้างหนี้โดยไม่จำเป็น หรือไม่ก่อให้เกิดรายได้
การใช้จ่ายเกินตัวของวัยทำงานอาจกลายเป็นภาระหนี้ที่ยากเกินแบกรับ
ดังนั้น หากเป้าหมายคือการมีเงินเก็บ สิ่งสำคัญที่ต้องเลี่ยงคือ “หนี้” เพราะการมีหนี้หมายถึงการหยิบยืม ที่จำเป็นต้องจ่ายคืนในภายหลัง ซึ่งหากเป็นหนี้แล้ว การจะสำรองเงินไว้เพื่อการออมอาจเป็นเรื่องยากขึ้น หาเงินได้เท่าไหร่ก็ต้องนำไปจ่ายคืนในส่วนที่หยิบยืมมา
หากทำได้ทั้ง 5 ข้อดังกล่าวข้างต้น ก็จะทำให้วัยเริ่มทำงานมีโอกาสเก็บเงินได้เร็วมากขึ้น และการเปิดบัญชีเงินฝากเพื่อเก็บเงินอย่างจริงจังควบคู่กันไปด้วยนั้น ก็เป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยสร้างรากฐานที่มั่นคงตั้งแต่เนิ่น ๆ พร้อมเปิดโอกาสให้ความเป็นไปได้ใหม่ ๆ ได้มากกว่า
มาร่วมออกแบบชีวิตทางการเงินในวันนี้และในอนาคต เพื่อพิชิตเป้าหมายการมีชีวิตทางการเงินที่ดีขึ้น ด้วยเคล็ดลับทางการเงินดี ๆ ได้ที่ “fintips by ttb” เรื่องเงินที่รู้จริงแบบเพื่อนที่รู้ใจ
เพียงคลิก https://www.ttbbank.com/th/fintips-088 หรืออ่านบทความฉบับเต็มได้ที่ https://www.ttbbank.com/th/fintips-startsave-pr