“ปฏิรูปกองทัพ เริ่มตรงไหนละ…?”

30268

แต่ละพรรคการเมืองล้วนต้องการปฏิรูปกองทัพทั้งนั้น ด้วยบาดแผลจากประวัติศาสตร์ทางการเมืองและการปกครองของไทยตั้งแต่ปี 2475 จนถึงปัจจุบัน โดยกองทัพยึดอำนาจจากพระมหากษัตริย์ ยึดจากพลเรือน และออกกฎหมายนิรโทษกรรมตัวเอง เมื่อเกิดสงครามโลกทั้ง2ครั้ง จนสงครามสงบมีการก่อตั้งองค์การสันนิบาตชาติ (The League of Nations-LNภายใต้สนธิสัญญาแวร์ซายด์ วัตถุประสงค์เพื่อป้องกันและระงับสงครามโลกแต่ประสบความล้มเหลวจนเกิดสงครามโลก ครั้งที่2 ตามมาทำให้เกิดองค์การสหประชาชาติ United Nations-UN) ที่มีองค์กรย่อยอีกมาก มีวัตถุประสงค์หลักคือการระงับและป้องกันภัยพิบัติต่างๆ รวมถึงระงับภัยจากข้อขัดแย้งระหว่างประเทศ

“ประเทศไทยเป็นสมาชิกของ UN ลำดับที่55ไม่รวมกับการเป็นภาคีสมาชิกขององค์กรย่อยภายใต้ชื่อ United Nations Peacekeeping -UNP)ที่มีชื่อหน่วยงานตามประเทศที่มีภาระกิจ เช่น United Nations Military Observer Group in India and Pakistan-UNMOGIP”

กองบัญชาการกองทัพไทยต้องส่งกำลังพลทั้ง3เหล่าทัพ(ตามข้อตกลงระหว่างประเทศภายใต้เงื่อนไขเวลาปฎิบัติภาระกิจคือ1ปี) กำลังพลทุกนายต้องผ่านการคัดเลือกและทดสอบทั้งจากหน่วยงานต้นสังกัดเองและจากตัวแทนของ UNP

ตามปกติเมื่อครบกำหนดทางUNP จะส่งกำลังพลกลับประเทศ เท่าที่ทราบยังไม่เคยมีการบันทึกไว้ว่าเมื่อภาระกิจยังไม่บรรลุจะมีการขอต่อห้วงเวลาของภาระกิจ ด้วยงานส่วนใหญ่เป็นงานประจำ (routine operation) หรือ วันต่อวัน (Day -to- day operation) น่าจะทำให้ผู้บังคับบัญชาที่นั่งอยู่ในกองบัญชาการกองทัพไทยส่วนที่เกี่ยวข้องมีอาการติดความสบายไม่ได้สนใจหรือแม้แต่จะคิดปรับปรุงองค์กร และพัฒนาตัวเองให้เข้ากับยุคสมัยที่ต้องมีการปรับเปลี่ยนระบบเพื่อให้เข้ากับโลกที่พัฒนาขึ้นความความคิดและการกระทำที่เคยล้าหลังอย่างไรก็ยังทำเช่นนั้น เคยทำงานแบบใด ก็จะทำแบบนั้น และไม่เคยสนใจว่าองค์กรระหว่างประเทศที่กองบัญชาการกองทัพไทยติดต่อประสานงานด้วยเค้าได้ปรับเปลี่ยนเพื่อให้บรรลุถึงวัตถุประสงค์ในการจัดตั้งองค์กร (น่าจะไม่เคยอ่านหรืออาจเคยอบรมแต่คงเอาแค่พอผ่าน)  เช่น เมื่อมีการร้องขอการต่อภาระกิจออกไปอีกห้วงเวลาหนึ่ง

“สิ่งที่กองบัญชาการกองทัพไทยทำคือนิ่งเฉย จนใกล้เวลาเพื่อให้มีการส่งกลับกำลังพลตามวาระ เมื่อโดนทวงถาม ได้ให้คำตอบที่อวดวิสัยทัศน์ว่าการศึกษาวิชาทหารไม่ได้ช่วยให้มองโลกได้กว้างขึ้น มันเป็นการทำให้ภาพลักษณ์ของประเทศและกองทัพไทยด้วยประสิทธิภาพไปอย่างมิอาจหลีกเลี่ยงได้เพราะแม้แต่เหตุผลในวิชาชีพก็ไม่สมเหตุผลเหมือนไม่ใช่มืออาชีพ มารยาททางการเมืองระหว่างประเทศก็อ่อนด้อย ทฤษฎีว่าอย่างไรก็ตามนั้นคงลืมไปว่าทฤษฎีหรือข้อปฎิบัตินั้นเราไม่ได้เป็นคนเขียน ทำงานตามตัวอักษรโดยไม่คำนึงถึงภาพลักษณ์และชื่อเสียงประเทศและกองทัพ”

น่าจะถึงเวลาที่กองทัพไทยควรปฏิรูปโดยเริ่มจาก

(1)  การศึกษาทั้งระบบปรับทัศนคติของกำลังพลให้รู้จักปรับ เปลี่ยนสมกับเป็นทหารมืออาชีพไม่ใช่ทหารหุ่นยนต์ (รุ่นเก่า)  เพราะรุ่นใหม่ AI คิดได้และดีกว่าบางคน

(2)  ถึงเวลาที่ต้องเอากำลังพลส่วนเกิน ที่ทำงานไม่เป็น ทำไม่ได้ ไม่เรียนรู้ ด้วยการประเมินผลอย่างเคร่งครัดจากหน่วยงานนอก โดยเฉพาะชั้นยศนายพลออกเพราะเรามี AI ที่ทำได้โดยไม่มี อารมณ์หรือความหลงตนเองเข้ามาเกี่ยวข้อง