“พล.ต.อ.เอก ก.ตร.ผู้ทรงคุณวุฒิ” เผยตำรวจสายสอบสวน ตบเท้า เรียกร้องหมดกำลังใจ ท้อแท้สะท้อนถึงความตกต่ำ ของต้นทางกระบวนการยุติธรรม แนะ ตร.ต้องเดินหน้าเร่งปรับหลักเกณฑ์แก้วิกฤตเพื่อดึงดูดจุดจูงใจ หากปล่อยใว้ มีเผ่นลาออกหรือวิ่งเต้นย้ายสายต่อเนื่อง
เมื่อวันที่ 14 ส.ค. 2566 พล.ต.อ.เอก อังสนานนท์ ก.ตร.ผู้ทรงคุณวุฒิ ได้เปิดเผย ถึงกรณีที่ มีการประชุม คณะกรรมการส่งเสริมงานสอบสวน เมื่อวันที่ 11 ส.ค.2566 ที่ผ่านมา ซึ่งมี พล.ต.อ.ดำรงศักดิ์ กิตติประภัสร์ ผบ.ตร.ได้เรียกประชุมด่วนและนั่งหัวโต๊ะเป็นประธานในที่ประชุมด้วยตนเอง นั้น ได้มีเสียงสะท้อนตอบรับผ่านมาตนจำนวนมาก
กรณีนี้ ซึ่งสมัยก่อน ใครเป็น รอง สวส.(สืบสวนสอบสวน)จะดูเท่ ทรนงองอาจมาก ใครๆก็ดิ้นรนอยากมาเป็น รอง สวส. รอง สวป.ที่มีวุฒิกฏหมาย ดูมีทรงหน่อย ก็วิ่งเต้นขอให้ ผู้ว่าฯมีคำสั่งให้ทำหน้าที่สอบสวนได้ คนเป็น รอง สวส.จึงดูมีศักดิ์ศรีน่าเกรงขามมากกับอำนาจหน้าที่ที่มีเหนือสายงานอื่นๆ
แต่ปัจจุบัน ด้วยภาระงานและปริมาณงานที่มากจนล้นมือ ความทรนง องอาจค่อยๆหายไปประกอบกับขวัญกำลังใจตกต่ำ เนื่องจาก ผู้บังคับบัญชาไม่ให้ความสำคัญ ไม่เหลียวแล พงส.ในปัจจุบันจึงแทบไม่เหลือความองอาจในอดีต เดินตัวลีบ ไปงานเลี้ยงที่ไหนก็นั่งหลบมุม ไม่อยากบอกใครว่าตัวเองเป็น พงส.กลัวคนเขาจะดูแคลนว่าไม่มีเส้นสาย
ทั้งๆที่ พงส.มีอำนาจหน้าที่มากมาย เหนือกว่าสายงานอื่นๆ เช่น ออกหมายเรียก ขออนุมัติจับกุม เปรียบเทียบปรับคดีฯ ว่ากล่าวตักเตือนใบสั่ง ดุลยพินิจในการให้ประกันตัวฯ(ช้าหรือด่วนก็ได้) ดุลยพินิจในการแจ้งข้อหาแล้วปล่อยตัวไปไม่ควบคุมหรือแจ้งข้อหาแล้วนำตัวไปขออำนาจศาลฝากขัง การชั่งน้ำหนักพยานหลักฐานจะฟ้องหรือไม่ฟ้อง อื่นๆอีกมาย เรียกได้ว่าอำนาจที่สายงานอื่นมี พงส.มีหมด แต่อำนาจของ พงส. สายงานอื่นไม่มี
พล.ต.อ.เอก ยังกล่าวอีกว่า ด้วยกำลังใจที่ตกต่ำ พงส.จึงมองไม่เห็นความสำคัญของตนเอง มองไม่เห็นอำนาจหน้าที่ที่มีเหนือตำรวจสายงานอื่นๆ ทุกวันนี้อยู่แบบซังกะตายไปวันๆ (เป็นงูเห่าแต่ทำเหมือนตัวเองเป็นงูเขียว) ตัองสร้างขวัญกำลังใจเป็นอันดับแรกครับ ทำให้เขาเห็นว่าเขามีความสำคัญ น่าเกรงขาม เมื่อ พงส.มีแรงฮึดรู้ว่าตัวเองสำคัญอย่างไร ผู้บังคับบัญชา เห็นความสำคัญ ทุกคนจะตั้งใจทำงาน มีศักดิ์ศรี น่าเกรงขาม ทรนงองอาจ เหมือนในอดีต งานสอบสวนในภาพรวมก็จะมีคุณภาพตามมา ซึ่ง พงส. ปัจจุบันแย่เลย ,ไม่มีคุณภาพ ,ไม่พัฒนาต่อเนื่อง ,ไม่มีแรงจูงใจ ,ไม่ได้รับการดูแลเท่าที่ควร ,ไม่เหมือนสมัยก่อนเลย
ตนอยากให้เน้นเรื่อง การเติบโตในสายงาน อยากให้ใช้ระบบประเมินผลงาน การทดสอบความรู้ งานสอบสวน เหมือนเมื่อก่อน แต่คงเป็นไปไม่ได้ แต่เพื่อลองหาวิธีที่คล้ายๆกัน มาทำดู เพื่อเป็นแรงจูงใจ ไม่ให้ พงส.ย้ายสายงานง่าย ๆ ขอให้ยากๆหน่อย ไม่งั้น พงส.ย้ายหนีหมด จะเหลือคนแก่ๆ กฏ ระเบียบ ข้อบังคับน้อยๆหน่อย เบื้องบน อย่าแย่งกันโชว์พาว โดยออกกฏ ระเบียบ ข้อบังคับให้ พงส.เป็นการเพิ่มภาระ เปล่าๆ พงส. เขาไม่ HAPPY หรอก เฮ้อ .!!! บ่นไปก็เท่านั้น
อย่างเช่นในขณะนี้ สภ.เมืองหนองคาย มีพนักงานสอบสวนอยู่ 18 คน แต่ปฏิบัติหน้าที่เข้าเวรสอบสวนรับแจ้งความจริงๆเพียง 7 คน จึงต้องจัดเข้าคนละ 24 ชม. ถามว่าแล้วที่หายไปนั้น ไปไหนกันหมด ได้รับคำตอบว่า – ไปอยู่กับชุดสอบสวนของ รอง ผบ.ตร.ท่านหนึ่ง- ไปช่วยราชการที่ สภ.อื่น- ไปทำหน้าที่หัวหน้าจุดตรวจ – อยู่หน้าห้อง ผกก.ฯลฯ ปัญหาพวกนี้ หากผบช.ภ.4 จะเน้นงานสอบสวนให้มีประสิทธิภาพซึ่งเป็นหน้างานด่านแรกของการพบประชาชนที่ต้องให้บริการ ขวัญและกำลังใจจึงเป็นสิ่งสำคัญมาก
พล.ต.อ. เอก ยังได้กล่าวต่ออีกว่า หากพูดกันตรงๆคือ ตำรวจทุกวันนี้ หนีงานสอบสวนกันเกือบทุกคนครับ เคยได้ยินว่า “หากงานสอบสวนดีจริง ทำไมนักเรียนนายร้อยจึงหนีงานสอบสวน” ตนถึงกับหน้าชา ตนจึงอยากให้นักเรียนนายร้อยที่จบใหม่ถูกล๊อคว่าต้องปฏิบัติหน้าที่เข้าเวรสอบสวนอย่างน้อย 4 ปี ก่อนจะย้ายสายได้และห้ามไปช่วยราชการและช่วยผีอย่างเด็ดขาด หากไปเดินตามใคร ต้องพิจารณาโทษทั้งตัวเองและคนที่ไปเดินตามครับ อย่างตนเองๆ ไม่เคยเอาพนักงานสอบสวนมาเดินตามแม้แต่ครั้งเดียว ตนให้ไปเข้าเวรสอบสวนเพื่อให้ศึกษางานสอบสวน และส่วนตัวเห็นด้วยอย่างมากที่จะพัฒนางานสอบสวนในทุกๆมิติ ก่อนที่งานสอบสวนของสำนักงานตำรวจแห่งชาติจะเสียหายไปมากกว่านี้
ตนจึงอยากเห็น วิกฤตคือโอกาส ลองระบุความเสี่ยงโดยวิธี SWOT งานสอบสวน
จุดอ่อนW/ภัยคุกคามT/น่าเป็นห่วงครับ
ระยะหลังจะเห็นสภาออกกฏหมายโอนงานสอบสวนไปให้หน่วยงานอื่นปิดจุดอ่อน (w)พัฒนาจุดแข็ง(s)สร้างโอกาส (o)สกัดภัยคุกคาม(t)h)(o)(w)? คืองานหินมาถูกทางแล้วขอเอาใจช่วยครับ
ในส่วนการสร้างแรงจูงใจให้ พงส.ควรโฟกัส ไปที่เงินตอบแทนสำนวนอย่างจริงจังชัดเจน เน้นย้ำนะ ต้องเหมาะสมคุ้มค่าเหนื่อยในการทำสำนวน เงินตอบแทนเหล่านี้ควรที่จะเบิกได้ทุกเดือนไม่ใช่เป็นการตกเบิก ที่เลวร้ายคือ หน.สถานีบางแห่งมีการหักเปอร์เซ็นไว้ด้วย มองว่าเรื่องนี้ก็สำคัญเป็นแรงจูงใจได้อย่างดี แต่เงินประจำตำแหน่งเมืองเล็กเมืองใหญ่เท่ากันหมด นั้นไม่เห็นด้วยมากๆ
ช่วงที่จัดทำร่างกฎหมายปฏิรูปตำรวจที่กฤษฎีกาเรามองเรื่องนี้เป็นเรื่องใหญ่และเป็นปัญหาสำคัญเพราะงานสอบสวนเป็นกระบวนการยุติธรรมต้นทางหากทำดีย่อมเกิดความเป็นธรรม แล้วคนทำต้องมีศักยภาพ เราจึงสร้างสายงานสอบสวนขึ้นมาแล้วสร้างความก้าวหน้าให้ไปถึงรอง ผบ.ตร.และ ผบ.ตร. สร้างความเป็นอิสระในการทำงาน มีเงินเพิ่ม เป็นขวัญและกำลังใจ แต่ทาง ตร.ไม่รับแนวคิดนี้ ก.ตร.ผู้ทรงคุณวุฒิ กล่าว
#thaitabloid