หน้าแรกกระบวนการยุติธรรม"นายกฯลุงตู่"ลงนามประกาศ กฏเหล็ก"ใช้ข้อกำหนด 47 ข้อ"แต่งตั้งข้าราชการตำรวจวาระประจำปี 2566

“นายกฯลุงตู่”ลงนามประกาศ กฏเหล็ก”ใช้ข้อกำหนด 47 ข้อ”แต่งตั้งข้าราชการตำรวจวาระประจำปี 2566

นายกรัฐมนตรี ลงนามประกาศ กฏเหล็ก”ใช้ข้อกำหนด 47 ข้อ”แต่งตั้งข้าราชการตำรวจวาระประจำปี 2566

เมื่อวันที่ 19 ก.ค.2566 ที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ(ตร.) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า  พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชานายกรัฐมนตรี ประธานกรรมการข้าราชการตำรวจ ได้ลงนามใน กฎหมาย ข้อกำหนด ก.ตร.ว่าด้วยการแต่งตั้งข้าราชการตำรวจ พ.ศ. 2567 มีใจความระบุว่า :

ด้วย กฎ ก.ตร. เกี่ยวกับการแต่งตั้งและโยกย้ายข้าราชการตำรวจ ซึ่งต้องออกตามความในมาตรา 88 แห่งพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2565 ยังดำเนินการไม่แล้วเสร็จหรือดำเนินการเสร็จสิ้นแล้ว แต่ยังไม่อาจนำมาใช้บังคับได้ด้วยเงื่อนไขของกฎหมาย จึงเป็นการสมควรให้มีข้อกำหนดเกี่ยวกับการแต่งตั้ง และโยกย้ายข้าราชการตำรวจ เพื่อรักษาความเที่ยงธรรมในการแต่งตั้งและโยกย้ายข้าราชการตำรวจ ให้เป็นไปตามระบบคุณธรรมที่ชัดเจน โดยในการคัดเลือกหรือแต่งตั้งข้าราชการตำรวจต้องพิจารณาจากอาวุโสและความรู้ความสามารถประกอบกัน เพื่อให้ข้าราชการตำรวจสามารถปฏิบัติหน้าที่ตามวิชาชีพได้อย่างอิสระไม่ตกอยู่ในอาณัติของบุคคลใด มีประสิทธิภาพและภาคภูมิใจในการปฏิบัติหน้าที่ของตน อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 23 และ มาตรา 179 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2565 และมติ ก.ตร. ในการประชุมครั้งที่ 7/2566 เมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม 2566 จึงวางข้อกำหนดไว้

ดังนี้

ข้อ 1. ข้อกำหนดนี้ เรียกว่า “ข้อกำหนด ก.ตร.ว่าด้วยการแต่งตั้งข้าราชการตำรวจ พ.ศ. 2566”

ข้อ 2.ข้อกำหนด ก.ตร. นี้ ให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป

ข้อ 3. ข้อกำหนด ก.ตร. นี้ ให้ใช้บังคับในการคัดเลือก การทำความตกลงกัน การให้ความเห็นชอบ และการแต่งตั้งข้าราชการตำรวจให้ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ระดับรองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติและจเรตำรวจแห่งชาติ ลงมาถึงผู้บังคับหมู่ และใช้บังคับในการแต่งตั้งข้าราชการตำรวจ วาระประจำปี 2566 เท่านั้น

ข้อ 4.ในข้อกำหนด ก.ตร. นี้

“หน่วย” หมายความว่า สำนักงานผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติและกองบัญชาการหรือเทียบเท่า

ที่มิได้สังกัดสำนักงานผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ “หน่วยงาน” หมายความว่า กองบัญชาการหรือเทียบเท่าในสังกัดสำนักงานผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ หรือกองบังคับการหรือเทียบเท่าหรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่อยู่ในสังกัดของหน่วยที่มีหัวหน้าไม่ต่ำกว่าระดับรองผู้บังคับการ ทั้งนี้ ไม่หมายความรวมถึงกองบังคับการในกองบัญชาการหรือเทียบเท่าในสังกัด

สำนักงานผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ “ตำแหน่งเฉพาะทาง” หมายความว่า ตำแหน่งที่อยู่ในกลุ่มสายงานวิชาชีพเฉพาะ ตำแหน่งควบ ปรับระดับเพิ่มลดได้ในตัวเอง และตำแหน่งอื่นตามที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติกำหนด

“ตำแหน่งทั่วไป” หมายความว่า ตำแหน่งที่อยู่ในกลุ่มสายงานบริหาร กลุ่มสายงานอำนวยการ และสนับสนุน กลุ่มสายงานสืบสวนสอบสวน และกลุ่มสายงานป้องกันปราบปราม ที่มิใช่ตำแหน่งเฉพาะทาง “ผู้มีอำนาจ” หมายความว่า ผู้มีอำนาจคัดเลือกหรือแต่งตั้งตามมาตรา 78 และมาตรา 79  แห่งพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2565 “ตำแหน่งตั้งแต่ระดับรองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติและจเรตำรวจแห่งชาติลงมาถึงผู้บังคับหมู่” ให้หมายความรวมถึงตำแหน่งเทียบเท่าที่เรียกชื่ออย่างอื่นตามที่กำหนดไว้ใน กฎ ก.ตร.”ความจำเป็นของทางราชการ” หมายความว่า เหตุที่จะต้องดำเนินการแต่งตั้ง ไม่ว่าจะเป็นกรณี เพื่อประโยชน์หรือเพื่อมิให้เกิดความเสียหายต่อทางราชการ

ข้อ 5.ให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติสามารถกำหนดแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการคัดเลือกหรือแต่งตั้ง

ได้เท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับข้อกำหนด ก.ตร. นี้ บททั่วไป

ข้อ 6.การคัดเลือกหรือแต่งตั้งข้าราชการตำรวจวาระประจำปี 2566 ให้ดำเนินการดังนี้

(1) ตำแหน่งระดับรองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติและจเรตำรวจแห่งชาติลงมาถึงระดับผู้บังคับการ ให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 31 สิงหาคม 2566

(2) ตำแหน่งระดับรองผู้บังคับการลงมาถึงระดับสารวัตร ให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 30 พฤศจิกายน 2566

(3) ตำแหน่งระดับรองสารวัตรลงมา ให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 31 มกราคม 2567

การคัดเลือกหรือการแต่งตั้งที่ไม่สามารถดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในเวลาตามวรรคหนึ่งให้ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เสนอ ก.ตร. เพื่อขอรับความเห็นชอบให้ขยายระยะเวลาการดำเนินการและไม่ถือว่าการดำเนินการที่ทำมาแล้วต้องเสียไป

ข้อ 7. ให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติและหน่วยจัดทำลำดับอาวุโสของข้าราชการตำรวจ ประกาศให้ข้าราชการตำรวจในสังกัดทราบโดยทั่วกันล่วงหน้าก่อนที่จะดำเนินการคัดเลือกหรือแต่งตั้งไม่น้อยกว่าเจ็ดวัน

ทั้งนี้ ให้ข้าราชการตำรวจที่เห็นว่าลำดับอาวุโสไม่ถูกต้อง สามารถยื่นเรื่องต่อผู้มีอำนาจให้พิจารณาทบทวนได้ภายในสิบห้าวันนับแต่วันประกาศอาวุโส หากพ้นกำหนดให้ถือว่าข้าราชการตำรวจผู้นั้นไม่ประสงค์ที่จะโต้แย้งหรือเรียกร้องสิทธิจากผู้บังคับบัญชา

ข้อ 8. การจัดทำลำดับอาวุโสของข้าราชการตำรวจและการประกาศตามข้อ 7 ให้แยกประเภทตำแหน่ง

เพื่อใช้ในการคำนวณสัดส่วนอาวุโสเพื่อเลื่อนตำแหน่งสูงขึ้นระดับผู้บัญชาการและจเรตำรวจ ถึงระดับสารวัตร

ดังนี้

(1) ตำแหน่งทั่วไป

(2) ตำแหน่งเฉพาะทาง ให้จัดแยกตามสายงานหรือลักษณะหน้าที่หรือลักษณะงานของตำแหน่งนั้น

โดยให้ถือตามตำแหน่งที่ดำรงอยู่ สำหรับข้าราชการตำรวจที่ดำรงตำแหน่งระดับสูงสุดของตำแหน่งเฉพาะทางที่มิใช่กลุ่มสายงานวิชาชีพเฉพาะของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ หรือหน่วย แล้วแต่กรณี ให้จัดลำดับอาวุโสรวมกับประเภทตำแหน่งทั่วไป   การจัดลำดับอาวุโสสำหรับการคัดเลือกแต่งตั้งเลื่อนตำแหน่งสูงขึ้นระดับผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ และรองจเรตำรวจแห่งชาติขึ้นไป ให้จัดลำดับอาวุโสในภาพรวมของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ

ข้อ 9 ให้จัดลำดับอาวุโสสำหรับผู้ที่มีคุณสมบัติครบถ้วนในการเลื่อนตำแหน่งสูงขึ้นในแต่ละระดับ

ตำแหน่ง ดังต่อไปนี้

(1)ให้ผู้ที่ดำรงตำแหน่งระดับนั้นในกรมตำรวจและสำนักงานตำรวจแห่งชาตินานกว่า เป็นผู้มีลำดับ

อาวุโสสูงกว่า

(2) ถ้าดำรงตำแหน่งตาม (1) นานเท่ากัน ให้ผู้ที่ดำรงตำแหน่งในระดับถัดลงไปในกรมตำรวจและสำนักงานตำรวจแห่งชาตินานกว่าตามลำดับจนถึงตำแหน่งระดับรองสารวัตรเป็นผู้มีลำดับอาวุโสสูงกว่า

(3 ) ถ้าดำรงตำแหน่งระดับถัดลงไปตาม (2) นานเท่ากันให้ผู้ที่มีอายุมากกว่าเป็นผู้มีลำดับอาวุโสสูงกว่า ระยะเวลาการดำรงตำแหน่งตามวรรคหนึ่ง ให้นับระยะเวลาที่ดำรงตำแหน่งจริง มิให้นับระยะเวลาทวีคูณ ข้าราชการตำรวจที่ถูกประจำหรือสำรองราชการในระดับตำแหน่งใด ให้นับเป็นระยะเวลาการดำรง ตำแหน่งระดับนั้นตลอดระยะเวลาที่ประจำหรือสำรองราชการ

ข้อ 10 การนับระยะเวลาการดำรงตำแหน่งในการคัดเลือกหรือแต่งตั้งเลื่อนตำแหน่งสูงขึ้นหรือสับเปลี่ยนหมุนเวียน ให้นับดังนี้

(1) ข้าราชการตำรวจที่ได้รับการแต่งตั้งในวาระประจำปีให้นับระยะเวลาการดำรงตำแหน่งถึงวาระการแต่งตั้งวาระประจำปีถัดไปเป็นหนึ่งปีไม่ว่าจะได้รับการแต่งตั้งเมื่อใดก็ตาม

(2) ข้าราชการตำรวจที่ได้รับการแต่งตั้งในวาระเดือนเมษายนให้นับระยะเวลาการดำรงตำแหน่งถึงวาระการแต่งตั้งเดือนเมษายนวาระประจำปีถัดไปเป็นหนึ่งปีไม่ว่าจะได้รับการแต่งตั้งเมื่อใดก็ตาม

(3) ข้าราชการตำรวจที่ได้รับการแต่งตั้งนอกเหนือจากวาระประจำปีและวาระเดือนเมษายน ให้นับแบบวันชนวัน

(4) ข้าราชการตำรวจที่ได้รับการบรรจุแต่งตั้งหรือแต่งตั้งเลื่อนชั้นเป็นสัญญาบัตรครั้งแรก หากนับระยะเวลาตั้งแต่วันที่เริ่มเป็นข้าราชการตำรวจชั้นสัญญาบัตรถึงวันที่ 30 กันยายน มีระยะเวลารวมแล้วไม่น้อยกว่าแปดเดือน ให้นับเป็นหนึ่งปี

(5) ข้าราชการตำรวจที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติรับโอนมาหรือบรรจุข้าราชการประเภทอื่นกลับเข้ารับราชการเป็นข้าราชการตำรวจในระดับรองสารวัตรให้นับระยะเวลาการดำรงตำแหน่งระดับรองสารวัตร ตั้งแต่วันที่ผู้นั้นเป็นข้าราชการชั้นตรีหรือระดับสาม หรือประเภทวิชาการระดับปฏิบัติการหรือข้าราชการทหาร

ชั้นสัญญาบัตร สำหรับการรับโอนมาหรือบรรจุข้าราชการประเภทอื่นกลับเข้ารับราชการเป็นข้าราชการตำรวจในระดับอื่น ให้นับระยะเวลาการดำรงตำแหน่งในระดับนั้นตั้งแต่วันที่รับโอนหรือบรรจุกลับแล้วแต่กรณีสำหรับข้าราชการตำรวจที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ รับโอนมาหรือบรรจุข้าราชการประเภทอื่น

กลับเข้ารับราชการเป็นข้าราชการตำรวจในระดับตำแหน่งใด หากเคยดำรงตำแหน่งในระดับเดียวกับที่รับโอนหรือบรรจุกลับ ให้นับช่วงระยะเวลาการดำรงตำแหน่งที่รับราชการในส่วนราชการอื่นเป็นระยะเวลาการดำรงตำแหน่ง

ในระดับนั้นด้วย

(6) ข้าราชการตำรวจที่ได้รับการแต่งตั้งเนื่องจากตำแหน่งเดิมถูกยกเลิก หรือถูกตัดโอนไปให้ส่วนราชการอื่น การนับระยะเวลาการดำรงตำแหน่งสำหรับการแต่งตั้งสับเปลี่ยนหมุนเวียนในตำแหน่งเท่าเดิมให้นับตั้งแต่ผู้นั้นได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเดิมก่อนถูกยกเลิกหรือถูกตัดโอน

(7) ข้าราชการตำรวจที่ถูกประจำหรือสำรองราชการในระดับตำแหน่งใด ให้นับเป็นระยะเวลาการดำรงตำแหน่งระดับนั้นตลอดระยะเวลาที่ประจำหรือสำรองราชการ

ข้อ 11 การนับระยะเวลาการดำรงตำแหน่งในกลุ่มสายงานให้นำความในข้อ 10

มาบังคับใช้โดยอนุโลม ยกเว้นข้าราชการตำรวจที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติรับโอนมาหรือบรรจุข้าราชการประเภทอื่นกลับเข้ารับราชการเป็นข้าราชการตำรวจให้นับระยะเวลาการดำรงตำแหน่งในกลุ่มสายงานในขณะที่มีสถานภาพเป็นข้าราชการตำรวจข้าราชการตำรวจที่ถูกประจำหรือสำรองราชการ หากก่อนถูกประจำหรือสำรองราชการอยู่ในกลุ่มสายงานใด ให้นับเป็นระยะเวลาการดำรงตำแหน่งในกลุ่มสายงานนั้นตลอดระยะเวลาที่ประจำหรือสำรองราชการ

ข้อ 12 การนับจำนวนตำแหน่งว่างในแต่ละระดับตำแหน่ง เพื่อนำมาคำนวณสัดส่วนจำนวนตำแหน่ง

ในการพิจารณาเลื่อนตำแหน่งสูงขึ้นเรียงตามลำดับอาวุโสของประเภทตำแหน่งทั่วไปหรือตำแหน่งเฉพาะทางตามข้อ 8 แล้วแต่กรณี ให้คำนวณจากจำนวนตำแหน่งที่ว่างอันเกิดจากกรณีต่าง ๆ เช่น เกษียณอายุราชการลาออก เสียชีวิต ไล่ออก ปลดออก การกำหนดตำแหน่งใหม่ เป็นต้น และตำแหน่งว่างจากการเกษียณอายุราชการในสิ้นปีงบประมาณ 2566 และให้หมายความรวมถึงจำนวนตำแหน่งว่างที่เกิดขึ้นจากการเลื่อนตำแหน่งทดแทนกันด้วยการนับจำนวนตำแหน่งว่างตามวรรคหนึ่ง ในกรณีที่ผู้ดำรงตำแหน่งระดับสูงสุดของตำแหน่งเฉพาะทางที่ไม่ใช่กลุ่มสายงานวิชาชีพเฉพาะของสำนักงานตำรวจแห่งชาติหรือหน่วยแล้ว หากผู้นั้นได้รับการคัดเลือกหรือแต่งตั้งเลื่อนตำแหน่งสูงขึ้นในกลุ่มอาวุโสของตำแหน่งทั่วไปและตำแหน่งที่ผู้นั้นครองอยู่มิให้นำมานับเป็นตำแหน่งว่างของตำแหน่งทั่วไป และให้นับเป็นตำแหน่งว่างของตำแหน่งเฉพาะทางนั้น

ตำแหน่งที่ปรึกษาพิเศษสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ผู้ทรงคุณวุฒิสำนักงานตำรวจแห่งชาติ นายเวร ผู้ช่วยนายเวร ตำแหน่งที่กำหนดขึ้นเพื่อรองรับการแต่งตั้ง

สำหรับผู้ที่ไปปฏิบัติภารกิจต่างประเทศ ตำแหน่งรองรับผู้ที่ลาออกไปสมัครรับเลือกตั้งและต้องกันตำแหน่งไว้ มิให้นำมานับเป็นตำแหน่งว่างเพื่อนำมาคำนวณสัดส่วนจำนวนตำแหน่งในการพิจารณาเลื่อนตำแหน่งสูงขึ้นตามวรรคหนึ่ง รวมถึงตำแหน่งอื่นที่ ก.ตร. กำหนดมิให้นำมานับเป็นตำแหน่งว่างเพื่อนำมาคำนวนสัดส่วน

จำนวนตำแหน่งในการพิจารณาเลื่อนตำแหน่งสูงขึ้นเรียงอาวุโส หรือได้กำหนดไว้แล้วด้วย การคัดเลือกหรือแต่งตั้งเลื่อนตำแหน่งสูงขึ้น

ข้อ 13 การคัดเลือกหรือแต่งตั้งข้าราชการตำรวจเลื่อนตำแหน่งสูงขึ้น ตั้งแต่ระดับรองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติและจเรตำรวจแห่งชาติลงมาถึงระดับสารวัตร ให้ผู้มีอำนาจพิจารณาจากผู้ที่มีคุณสมบัติตาม

มาตรา 77 แห่งพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2565

ระยะเวลาการดำรงตำแหน่งตามวรรคหนึ่ง ให้นับระยะเวลาที่ดำรงตำแหน่งจริง มิให้นับระยะเวลาทวีคูณ

ในกรณีที่เป็นการเลื่อนตำแหน่งสูงขึ้นในตำแหน่งควบปรับระดับเพิ่มลดได้ในตัวเองทุกกรณีให้มีระยะเวลาการดำรงตำแหน่งเป็นไปตามระเบียบหรือหลักเกณฑ์ว่าด้วยการนั้น ทั้งนี้ จะต้องไม่ขัดหรือแย้งกับระยะเวลาการดำรงตำแหน่งตามวรรคหนึ่งในการแต่งตั้งข้าราชการตำรวจในตำแหน่งควบปรับระดับเพิ่มลดได้ในตัวเองตามมาตรา 82 วรรคสี่แห่งพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2565 หากหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินใดที่กำหนดระยะเวลาการดำรงตำแหน่งสำหรับการเลื่อนตำแหน่งสูงขึ้นในระดับตำแหน่งต่าง ๆ มากกว่าระยะเวลาการดำรงตำแหน่งตามวรรคหนึ่ง ให้ปรับระยะเวลาการดำรงตำแหน่งสำหรับการเลื่อนตำแหน่งสูงขึ้นในหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินนั้นให้เป็นไปตามระยะเวลาการดำรงตำแหน่งขั้นต่ำตามวรรคหนึ่ง สำหรับผู้ที่จะมีคุณสมบัติครบถ้วนในการแต่งตั้งเลื่อนตำแหน่งสูงขึ้นตามวรรคสี่ ให้สามารถยื่นขอรับการประเมินเพื่อใช้ประกอบการแต่งตั้งเลื่อนตำแหน่งสูงขึ้นตามหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินได้

ข้อ 14 ข้าราชการตำรวจที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติรับโอนมาหรือได้รับการบรรจุและแต่งตั้งกลับเข้ารับราชการ จะต้องดำรงตำแหน่งในระดับเดียวกับตำแหน่งที่ได้รับการบรรจุและแต่งตั้งเป็นระยะเวลา

ไม่น้อยกว่าหนึ่งปี จึงจะมีสิทธิได้รับการพิจารณาคัดเลือกหรือแต่งตั้งเลื่อนตำแหน่งสูงขึ้นได้ ทั้งนี้ ไมใช้บังคับกับผู้ที่ได้รับบรรจุกลับเข้ารับราชการ ในกรณีดังนี้

(1) การบรรจุเฉพาะผู้ที่ออกจากราชการไปปฏิบัติงานตามมติคณะรัฐมนตรีกลับเข้ารับราชการตามมาตรา 94(2) (ก) แห่งพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2565

(2) การบรรจุผู้ที่ลาออกจากราชการเพื่อไปสมัครรับเลือกตั้งกรณีต่าง ๆ กลับเข้ารับราชการตามมาตรา 94(2 ) (ข) แห่งพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2565 (3) การให้กลับเข้ารับราชการตามมาตรา 131 แห่งพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2565

(4) ศาลปกครองมีคำพิพากษาถึงที่สุดหรือผู้มีอำนาจพิจารณาตามกฎหมายได้วินิจฉัยถึงที่สุดแล้วสั่งยกเลิก เพิกถอน หรือแก้ไขคำสั่งการคัดเลือกแต่งตั้งสับเปลี่ยนหมุนเวียนในระดับตำแหน่งเท่าเดิม

ข้อ 15 ข้าราชการตำรวจระดับรองผู้บังคับการลงมา ที่จะร้องขอรับการแต่งตั้งสับเปลี่ยนหมุนเวียน

ในระดับตำแหน่งเท่าเดิมต้องมีคุณสมบัติ ดังต่อไปนี้

(1) ดำรงตำแหน่งที่ได้รับการบรรจุแต่งตั้งเป็นข้าราชการตำรวจครั้งแรกหรือแต่งตั้งเลื่อนชั้นเป็นข้าราชการตำรวจชั้นประทวนหรือชั้นสัญญาบัตรครั้งแรกไม่น้อยกว่าสองปี

(2) ไม่อยู่ภายใต้เงื่อนไขท้ายคำสั่งบรรจุแต่งตั้งข้าราชการตำรวจครั้งแรก

(3) ไม่อยู่ระหว่างการพิจารณาปรับให้ได้รับอัตราเงินเดือนตามคุณวุฒิ

ข้อ 16 การแต่งตั้งข้าราชการตำรวจระดับรองผู้บังคับการลงมาจะต้องมีระยะเวลาการดำรงตำแหน่ง ไม่น้อยกว่าสองปี เว้นแต่ในกรณีดังต่อไปนี้

(1) เป็นไปด้วยความสมัครใจของผู้ได้รับการแต่งตั้ง

(2) เป็นกรณีที่ได้ปฏิบัติหน้าที่อย่างมีประสิทธิภาพ หากได้รับการแต่งตั้งไปดำรงตำแหน่งอื่น

จะเป็นประโยชน์ต่อทางราชการ (3) กรณีมีเหตุผลและความจำเป็นของทางราชการเป็นอย่างยิ่ง เพื่อมิให้เกิดความเสียหาย

แก่ทางราชการ(4) เป็นการแต่งตั้งข้าราชการตำรวจเพื่อรองรับการแต่งตั้งตามมาตรา ๘๕ แห่งพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2565 กรณีที่มีตำแหน่งว่างไม่เพียงพอรองรับการแต่งตั้งและหากสับเปลี่ยนหมุนเวียนผู้ที่ดำรงตำแหน่งครั้งสุดท้ายครบสองปีทุกรายแล้วก็ยังมีตำแหน่งว่างไม่เพียงพอรองรับการแต่งตั้ง(5)เป็นการแต่งตั้งให้พ้นจากตำแหน่งที่ถูกยกเลิกหรือถูกตัดโอนไปให้ส่วนราชการอื่น ๆ (6) เป็นการแต่งตั้งนายเวร ผู้ช่วยนายเวร อันเนื่องมาจากผู้บังคับบัญชาพ้นจากตำแหน่งหรือได้เปลี่ยนแปลงสถานภาพ และนายเวร ผู้ช่วยนายเวร ไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ต่อไปได้เนื่องจากไม่มีตำแหน่งรองรับการแต่งตั้งเพื่อให้ปฏิบัติหน้าที่ให้กับผู้บังคับบัญชาต่อไป

ทั้งนี้ การดำเนินการตาม (4 ) จะต้องได้รับความเห็นชอบจากผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติก่อนการแต่งตั้งสับเปลี่ยนหมุนเวียนข้าราชการตำรวจระหว่างหน่วย ให้คำนึงถึงความสมัครใจ และความจำเป็นของทางราชการประกอบกัน และให้ผู้มีอำนาจคำนึงถึงเจตนารมณ์การแต่งตั้งข้าราชการตำรวจเลื่อนตำแหน่งสูงขึ้น กรณีให้พิจารณาแต่งตั้งได้เฉพาะผู้ดำรงตำแหน่งในส่วนราชการนั้นตามมาตรา 80 แห่งพระราชบัญญัติ

ตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2565

การแต่งตั้งสับเปลี่ยนหมุนเวียนข้าราชการตำรวจระหว่างหน่วย สำหรับผู้ที่จะครบเกษียณอายุราชการ

ในวันที่ 30 กันยายนของปีงบประมาณนั้นและปีงบประมาณถัดไปหนึ่งปี หากไม่เป็นกรณีความสมัครใจแล้วให้คำนึงถึงความจำเป็นของทางราชการเป็นอย่างยิ่งหากเป็นกรณีที่ข้าราชการตำรวจซึ่งมีปัญหาสุขภาพเรื้อรังจำเป็นต้องรักษาตัวอย่างต่อเนื่อง ในการแต่งตั้งให้คำนึงถึงการเข้ารับการรักษาและการปฏิบัติหน้าที่ราชการประกอบกัน

ข้อ 17 ผู้ดำรงตำแหน่งหัวหน้าสถานีตำรวจระดับผู้กำกับการในกองบัญชาการตำรวจนครบาลและตำรวจภูธรภาค เมื่อดำรงตำแหน่งเดียวติดต่อกันครบสี่ปี ให้แต่งตั้งสับเปลี่ยนหมุนเวียนไปดำรงตำแหน่งอื่น

ทุกราย สำหรับข้าราชการตำรวจตามวรรคหนึ่ง ที่จะครบกำหนดระยะเวลาการดำรงตำแหน่งนอกว่าระประจำปีให้ดำเนินการในวาระประจำปีถัดไปการแต่งตั้งข้าราชการตำรวจระดับผู้กำกับการหัวหน้าสถานีตำรวจ หรือหัวหน้างานในส่วนราชการต่าง ๆไปดำรงตำแหน่งระดับผู้กำกับการที่มิใช่หัวหน้าสถานีตำรวจ หรือมิใช่หัวหน้างานในส่วนราชการต่าง ๆจะกระทำมิได้ เว้นแต่เป็นไปตามความสมัครใจของผู้รับการแต่งตั้งหรือเป็นกรณีมีเหตุผลความจำเป็นเพื่อมิให้เกิดความเสียหายแก่ทางราชการ

ข้อ 18 การคัดเลือกหรือแต่งตั้งข้าราชการตำรวจที่หมดความจำเป็นในการประจำหรือหมดเหตุในการสำรองราชการ ให้ออกจากราชการไว้ก่อน หรือปลดออกจากราชการ หรือไล่ออก ให้ดำเนินการตามลำดับ

ดังนี้

(1) ให้หน่วยต้นสังกัดเดิมของข้าราชการตำรวจผู้นั้นเป็นผู้รับผิดชอบดำเนินการ เว้นแต่ในกรณีที่ผู้บังคับบัญชาหัวหน้าหน่วยอื่นประสงค์รับตัวผู้นั้นไปดำรงตำแหน่งในหน่วยของตนก็ให้ทำความตกลงกัน

(2) ให้ดำเนินการในโอกาสแรกที่มีตำแหน่งในระดับเดียวกันกับตำแหน่งเดิมว่าง

(3) หากหน่วยต้นสังกัดเดิมของข้าราชการตำรวจผู้นั้นไม่มีตำแหน่งว่างรองรับและไม่มีหน่วยอื่นประสงค์จะรับตัวผู้นั้นไปดำรงตำแหน่งในสังกัด ให้ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติพิจารณตำแหน่งว่างในหน่วยอื่นเพื่อใช้รองรับการแต่งตั้งได้ตามความเหมาะสมและให้หัวหน้าหน่วยที่เกี่ยวข้องดำเนินการให้เป็นไปตามนั้น

ข้อ 19 การแต่งตั้งข้าราชการตำรวจที่ได้รับอนุมัติหรืออนุญาตให้ลาศึกษาตามโครงการศึกษาหรือฝึกอบรม หากไม่มีกรณีที่ต้องดำเนินการตามกฏ ก.ตร.ว่าด้วยการสั่งให้ข้าราชการตำรวจประจำสำนักงานตำรวจแห่งชาติหรือส่วนราชการใด หรือสำรองราชการในส่วนราชการใด ให้ดำเนินการแต่งตั้งข้าราชการตำรวจ

ผู้นั้นไปดำรงตำแหน่งตามโครงการศึกษาหรือฝึกอบรม ที่ได้รับอนุมัติหรืออนุญาตให้ลาศึกษาทันทีที่สามารถดำเนินการได้ และผู้นั้นจะต้องดำรงตำแหน่งตามโครงการไม่น้อยกว่าสองปี จึงจะแต่งตั้งไปดำรตำแหน่งอื่นได้

ทั้งนี้ หากตำแหน่งที่ได้รับอนุมัติหรืออนุญาตตามโครงการศึกษาหรือฝึกอบรมมีผู้ครองอยู่ ให้แต่งตั้งหรือเสนอขอแต่งตั้งผู้ครองตำแหน่งไปดำรงตำแหน่งอื่น เพื่อจะได้แต่งตั้งผู้ที่ได้รับอนุมัติหรืออนุญาตให้ลาศึกษาไปดำรงตำแหน่งแทน

การจัดทำบัญชีข้อมูลผู้เหมาะสมเลื่อนตำแหน่งสูงขึ้น

ข้อ 20 เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาให้ผู้มีอำนาจคัดเลือกหรือแต่งตั้งได้พิจารณาอย่างเที่ยงธรรม ให้ผู้บังคับบัญชาตามลำดับชั้นดำเนินการ ดังนี้

(1)ให้จัดทำบัญชีข้อมูลผู้เหมาะสมเลื่อนตำแหน่งสูงขึ้นของข้าราชการตำรวจในสังกัด โดยให้จัดแยก ประเภทตามที่ได้มีการประกาศลำดับอาวุโสของข้าราชการตำรวจตามข้อ ๘ และในการจัดเรียงลำดับในบัญชีรายชื่อให้จัดตามลำดับความเหมาะสม สำหรับการพิจารณาให้คำนึงถึงประวัติการรับราชการ ผลการปฏิบัติงาน ความประพฤติและผลการประเมินความพึงพอใจที่ประชาชนหรือผู้รับบริการได้รับจากการให้บริการขอข้าราชการตำรวจ (ถ้ามี) ประกอบกัน

(2 ) ให้จัดทำบัญชีข้อมูลผู้ไม่เหมาะสมที่จะได้รับการพิจารณาเลื่อนตำแหน่งสูงขึ้น โดยต้องมีพยาน หลักฐานที่ชัดเจน พร้อมทั้งระบุเหตุผลโดยละเอียด และเป็นรูปธรรมเพื่อชี้แจงต่อผู้บังคับบัญชาเหนือขึ้นไป

ตามลำดับชั้น

ข้อ 2 ส่วนราชการที่มีระดับสารวัตรเป็นหัวหน้า ให้หัวหน้าส่วนราชการพิจารณาสรรหาข้าราชการตำรวจระดับรองสารวัตรที่มีคุณสมบัติครบถ้วนเลื่อนตำแหน่งสูงขึ้นระดับสารวัตร แล้วจัดทำบัญซีข้อมูลผู้เหมาะสมเลื่อนตำแหน่งสูงขึ้น โดยเรียงลำดับจากผู้ที่เหมาะสมมากที่สุดลงไปจนถึงน้อยที่สุด สำหรับผู้ไม่เหมาะสมที่จะได้รับการพิจารณาเลื่อนตำแหน่งสูงขึ้น ให้จัดทำบัญชีข้อมูลผู้ไม่เหมาะสม แล้วส่งไปยังหัวหน้าหน่วยหรือหน่วยงานหรือส่วนราชการเหนือขึ้นไปอีกหนึ่งระดับตามสายการบังคับบัญชา

ข้อ 22 ส่วนราชการที่มีระดับรองผู้กำกับการหรือสารวัตรใหญ่เป็นหัวหน้า ให้หัวหน้าส่วนราชการพิจารณาสรรหาข้าราชการตำรวจที่มีคุณสมบัติครบถ้วนเลื่อนตำแหน่งสูงขึ้นระดับสารวัตรถึงรองผู้กำกับการ หรือสารวัตรใหญ่ ดังนี้

(1 ) ผู้อยู่ในเกณฑ์ที่สมควรได้รับการเลื่อนตำแหน่งสูงขึ้น ระดับสารวัตร ให้พิจารณาในรูปคณะกรรมการประกอบด้วย หัวหน้าส่วนราชการเป็นประธาน และข้าราชการตำรวจระดับสารวัตรทุกคน (ยกเว้นผู้ที่ดำรงตำแหน่ง ควบปรับระดับเพิ่มลดได้ในตัวเอง) เป็นกรรมการพิจารณาสรรหาข้าราชการตำรวจระดับรองสารวัตรที่เหมาะสมเลื่อนตำแหน่งสูงขึ้นเท่านั้น

(2) ผู้อยู่ในเกณฑ์ที่สมควรได้รับการเลื่อนตำแหน่งสูงขึ้น ระดับรองผู้กำกับการหรือสารวัตรใหญ่ให้หัวหน้าส่วนราชการพิจารณาสรรหาข้าราชการตำรวจระดับสารวัตรที่เหมาะสมเลื่อนตำแหน่งสูงขึ้นเท่านั้น(3) เมื่อดำเนินการตาม (1) หรือ (2) แล้ว ให้จัดทำบัญชีข้อมูลผู้เหมาะสมเลื่อนตำแหน่งสูงขึ้น โดยเรียงลำดับจากผู้ที่เหมาะสมมากที่สุดลงไปจนถึงน้อยที่สุด สำหรับผู้ไม่เหมาะสมให้จัดทำบัญชีข้อมูลผู้ไม่เหมาะสม แล้วส่งไปยังหัวหน้าหน่วยหรือหน่วยงานหรือส่วนราชการเหนือขึ้นไปอีกหนึ่งระดับ

ตามสายการบังคับบัญชา

ข้อ 23 ส่วนราชการที่มีระดับผู้กำกับการเป็นหัวหน้า ให้หัวหน้าส่วนราชการพิจารณาสรรหาข้าราชการตำรวจที่มีคุณสมบัติครบถ้วนเลื่อนตำแหน่งสูงขึ้นระดับสารวัตรถึงผู้กำกับการ ดังนี้(1)ผู้อยู่ในเกณฑ์ที่สมควรได้รับการเลื่อนตำแหน่งสูงขึ้น ระดับสารวัตร และรองผู้กำกับการหรือสารวัตรใหญ่ ให้พิจารณาในรูปคณะกรรมการ ประกอบด้วย หัวหน้าส่วนราชการเป็นประธาน และรองหัวหน้า

ส่วนราชการทุกคน (ยกเว้นผู้ที่ดำรงตำแหน่งควบปรับระดับเพิ่มลดได้ในตัวเอง) เป็นกรรมการ พิจารณา ข้าราชการตำรวจระดับรองสารวัตรและระดับสารวัตรที่มีคุณสมบัติครบถ้วนเลื่อนตำแหน่งสูงขึ้น โดยให้นำเอารายชื่อผู้เหมาะสมที่ส่วนราชการรองลงมาหนี่งระดับเสนอขึ้นมาพิจารณารวมกับรายชื่อข้าราชการตำรวจ ที่ขึ้นตรงต่อระดับกองกำกับการ แล้วสรรหาผู้ที่เหมาะสมเลื่อนตำแหน่งสูงขึ้นเท่านั้น

(2)บัญชีข้อมูลผู้ไม่เหมาะสมที่ได้รับข้อมูลจากส่วนราชการรองให้พิจารณาทบทวนในรูปคณะกรรมการ

ตาม (1) โดยนำข้อมูลตาม

ข้อ 24(2) มาประกอบการพิจารณา หากมีความเห็นตรงกับส่วนราชการรองให้เป็นที่ยุติหากมีความเห็นแตกต่างให้นำรายชื่อพิจารณารวมกับรายชื่อตาม (1) ทั้งนี้ ต้องระบุเหตุผลชัดเจน และเป็นรูปธรรมไว้เป็นหลักฐาน

(3) ผู้อยู่ในเกณฑ์ที่สมควรได้รับการเลื่อนตำแหน่งสูงขึ้นระดับผู้กำกับการ ให้หัวหน้าส่วนราชการพิจารณาสรรหาข้าราชการตำรวจระดับรองผู้กำกับการหรือสารวัตรใหญ่ที่เหมาะสมเลื่อนตำแหน่งสูงขึ้นเท่านั้น

(4) เมื่อดำเนินการตาม (1) ถึง (3) แล้ว ให้จัดทำบัญชีข้อมูลผู้เหมาะสมเลื่อนตำแหน่งสูงขึ้นโดยเรียงลำดับจากผู้ที่เหมาะสมมากที่สุดลงไปจนถึงน้อยที่สุด สำหรับผู้ไม่เหมาะสมให้จัดทำบัญชีข้อมูลผู้ไม่เหมาะสม แล้วส่งไปยังหัวหน้าหน่วยหรือหน่วยงานหรือส่วนราชการเหนือขึ้นไปอีกหนึ่งระดับตามสายการบังคับบัญชา

ข้อ 25 หน่วยงานหรือส่วนราชการที่มีระดับผู้บังคับการเป็นหัวหน้า ให้ดำเนินการสรรหาข้าราชการตำรวจที่มีคุณสมบัติครบถ้วนเลื่อนตำแหน่งสูงขึ้นระดับสารวัตรถึงผู้บังคับการ ดังนี้

(1) ผู้อยู่ในเกณฑ์ที่สมควรได้รับการเลื่อนตำแหน่งสูงขึ้นที่จะเลื่อนดำรงตำแหน่ง ระดับสารวัตรถึงรองผู้บังคับการ ให้พิจารณาในรูปคณะกรรมการประกอบด้วย หัวหน้าหน่วยงานเป็นประธาน และรองหัวหน้าหน่วยงานทุกคน (ยกเว้นผู้ที่ดำรงตำแหน่งควบปรับระดับเพิ่มลดได้ในตัวเอง) เป็นกรรมการ โดยดำเนินการดังนี้

(ก) ผู้อยู่ในเกณฑ์ที่สมควรได้รับการเลื่อนตำแหน่งสูงขึ้นที่จะเลื่อนดำรงตำแหน่งระดับสารวัตรถึงผู้กำกับการ ให้นำเอารายชื่อผู้เหมาะสมที่ส่วนราชการรองลงมาหนึ่งระดับเสนอขึ้นมาพิจารณารวมกับรายชื่อข้าราชการตำรวจที่ขึ้นตรงต่อระดับกองบังคับการ แล้วสรรหาผู้ที่เหมาะสมเลื่อนตำแหน่งสูงขึ้นเท่านั้น (ข) บัญชีข้อมูลผู้ไม่เหมาะสมที่ได้รับข้อมูลจากส่วนราชการรองให้พิจารณาทบทวน โดยนำข้อมูลตามข้อ 20(2) มาประกอบการพิจารณา (สำหรับผู้ไม่เหมาะสมที่ส่วนราชการรองพิจารณาเป็นที่ยุติแล้วไม่ต้องนำมาพิจารณา) หากมีความเห็นตรงกับส่วนราชการรองให้เป็นที่ยุติ หากมีความเห็นแตกต่างให้นำรายชื่อพิจารณารวมกับรายชื่อตาม (ก)

ทั้งนี้ ต้องระบุเหตุผลชัดเจน และเป็นรูปธรรมไว้เป็นหลักฐาน(ค) ผู้อยู่ในเกณฑ์ที่สมควรได้รับการเลื่อนตำแหน่งสูงขึ้นที่จะเลื่อนดำรงตำแหน่งระดับรองผู้บังคับการให้พิจารณาจากข้าราชการตำรวจระดับผู้กำกับการที่มีคุณสมบัติครบถ้วนและสรรหาผู้ที่เหมาะสมเลื่อนตำแหน่งสูงขึ้นเท่านั้น

(2) ผู้อยู่ในเกณฑ์ที่สมควรได้รับการเลื่อนตำแหน่งสูงขึ้นที่จะเลื่อนดำรงตำแหน่งระดับผู้บังคับการให้หัวหน้าหน่วยงานพิจารณาจากข้าราชการตำรวจระดับรองผู้บังคับการที่เหมาะสมเลื่อนตำแหน่งสูงขึ้นเท่านั้น (3) เมื่อดำเนินการตาม (1) หรือ (2) แล้ว ให้จัดทำบัญชีข้อมูลผู้เหมาะสมเลื่อนตำแหน่งสูงขึ้น

โดยเรียงลำดับจากผู้ที่เหมาะสมมากที่สุดลงไปจนถึงน้อยที่สุด สำหรับผู้ไม่เหมาะสมให้จัดทำบัญชีข้อมูลผู้ไม่เหมาะสม แล้วส่งไปยังหัวหน้าหน่วยหรือหน่วยงานเหนือขึ้นไปอีกหนึ่งระดับตามสายการบังคับบัญชา

ข้อ 26 หน่วยงานในสังกัดสำนักงานผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ที่มีระดับผู้บัญชาการเป็นหัวหน้าให้ดำเนินการสรรหาข้าราชการตำรวจที่มีคุณสมบัติครบถ้วนเลื่อนตำแหน่งสูงขึ้นระดับสารวัตรถึงผู้บัญชาการ ดังนี้

(1) ผู้อยู่ในเกณฑ์ที่สมควรได้รับการเลื่อนตำแหน่งสูงขึ้นที่จะเลื่อนดำรงตำแหน่งระดับสารวัตรถึงรองผู้บัญชาการให้พิจารณาในรูปคณะกรรมการ ประกอบด้วย หัวหน้าหน่วยงานเป็นประธาน และรองหัวหน้า หน่วยงานทุกคนเป็นกรรมการ โดยดำเนินการ ดังนี้(ก) ผู้อยู่ในเกณฑ์ที่สมควรได้รับการเลื่อนตำแหน่งสูงขึ้นที่จะเลื่อนดำรงตำแหน่งระดับสารวัตร ถึงผู้บังคับการ ให้นำเอารายชื่อผู้เหมาะสมที่ส่วนราชการรองลงมาหนึ่งระดับ เสนอขึ้นมาพิจารณารวมกับ รายชื่อข้าราชการตำรวจที่ขึ้นตรงต่อระดับกองบัญชาการแล้วสรรหาผู้เหมาะสมเลื่อนตำแหน่งสูงขึ้นเท่านั้น(ข)บัญชีข้อมูลผู้ไม่เหมาะสมที่ได้รับข้อมูลจากส่วนราชการรองให้พิจารณาทบทวน โดยนำข้อมูล ตามข้อ 20(2) มาประกอบการพิจารณา (สำหรับผู้ไม่เหมาะสมที่ส่วนราชการรองพิจารณาเป็นที่ยุติแล้ว ไม่ต้องนำมาพิจารณา) หากมีความเห็นตรงกับส่วนราชการรองให้เป็นที่ยุติ หากมีความเห็นแตกต่างให้นำรายชื่อพิจารณารวมกับรายชื่อตาม (ก) ทั้งนี้ ต้องระบุเหตุผลชัดเจน และเป็นรูปธรรมไว้เป็นหลักฐาน (ค) ผู้อยู่ในเกณฑ์ที่สมควรได้รับการเลื่อนตำแหน่งสูงขึ้นที่จะเลื่อนดำรงตำแหน่งระดับรองผู้บัญชาการ ให้พิจารณาจากข้าราชการตำรวจระดับผู้บังคับการที่มีคุณสมบัติครบถ้วนแล้วสรรหาผู้เหมาะสมเลื่อนตำแหน่งสูงขึ้นเท่านั้น

(2)ผู้อยู่ในเกณฑ์ที่สมควรได้รับการเลื่อนตำแหน่งสูงขึ้นที่จะเลื่อนดำรงตำแหน่งระดับผู้บัญชาการให้ผู้บัญชาการพิจารณาจากข้าราชการตำรวจระดับรองผู้บัญชาการที่มีคุณสมบัติครบถ้วนและสรรหาให้เหลือเฉพาะผู้เหมาะสมเลื่อนตำแหน่งสูงขึ้นเท่านั้น

(3) เมื่อดำเนินการตาม (1) หรือ (2) แล้ว ให้จัดทำบัญชีข้อมูลผู้เหมาะสมเลื่อนตำแหน่งสูงขึ้นโดยเรียงลำดับจากผู้ที่เหมาะสมมากที่สุดลงไปจนถึงน้อยที่สุด สำหรับผู้ไม่เหมาะสมให้จัดทำบัญชีข้อมูลผู้ไม่เหมาะสม แล้วส่งไปยังผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ

ข้อ 27 หน่วยที่มีระดับผู้บัญชาการเป็นหัวหน้าให้ดำเนินการสรรหาข้าราชการตำรวจที่มีคุณสมบัติครบถ้วนเลื่อนตำแหน่งสูงขึ้นระดับผู้บังคับการถึงผู้บัญชาการ ดังนี้(1) ผู้อยู่ในเกณฑ์ที่สมควรได้รับการเลื่อนตำแหน่งสูงขึ้นที่จะเลื่อนดำรงตำแหน่งระดับผู้บังคับการถึงรองผู้บัญชาการ ให้พิจารณาในรูปคณะกรรมการ ประกอบด้วย หัวหน้าหน่วยเป็นประธาน และรองหัวหน้าหน่วยทุกคนเป็นกรรมการ ให้ดำเนินการ ดังนี้(ก) ผู้อยู่ในเกณฑ์ที่สมควรได้รับการเลื่อนตำแหน่งสูงขึ้นที่จะเลื่อนดำรงตำแหน่งระดับผู้บังคับการให้นำเอารายชื่อผู้เหมาะสม ที่หน่วยงานในสังกัดเสนอขึ้นมาพิจารณารวมกับรายชื่อข้าราชการตำรวจที่ขึ้นตรงต่อระดับกองบัญชาการ แล้วสรรหาผู้เหมาะสมเลื่อนตำแหน่งสูงขึ้นเท่านั้น(ข) ผู้อยู่ในเกณฑ์ที่สมควรได้รับการเลื่อนตำแหน่งสูงขึ้นที่จะเลื่อนดำรงตำแหน่งระดับรองผู้บัญชาการให้พิจารณาจากข้าราชการตำรวจระดับผู้บังคับการที่มีคุณสมบัติครบถ้วน แล้วสรรหาผู้เหมาะสมเลื่อนตำแหน่งสูงขึ้นเท่านั้น

(2)ผู้อยู่ในเกณฑ์ที่สมควรได้รับการเลื่อนตำแหน่งสูงขึ้นที่จะเลื่อนดำรงตำแหน่งระดับผู้บัญชาการให้ผู้บัญชาการพิจารณาจากข้าราชการตำรวจระดับรองผู้บัญชาการที่มีคุณสมบัติครบถ้วนและสรรหาให้เหลือเฉพาะผู้เหมาะสมเลื่อนตำแหน่งสูงขึ้นเท่านั้น

(3) เมื่อดำเนินการตาม (1) หรือ (2) แล้ว ให้จัดทำบัญชีข้อมูลผู้เหมาะสมเลื่อนตำแหน่งสูงขึ้นโดยเรียงลำดับจากผู้ที่เหมาะสมมากที่สุดลงไปจนถึงน้อยที่สุด สำหรับผู้ไม่เหมาะสมให้จัดทำบัญชีข้อมูลผู้ไม่เหมาะสม แล้วส่งไปยังผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ

ข้อ 27 การพิจารณาผู้ไม่เหมาะสมเลื่อนตำแหน่งสูงขึ้นระดับผู้บัญชาการลงมาถึงระดับผู้บังคับการให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติดำเนินการพิจารณาทบทวนผู้ม่เหมาะสมที่หน่วยหรือหน่วยงานเสนอมาในรูปคณะกรรมการประกอบด้วย ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติเป็นประธาน รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติทุกคนและจเรตำรวจแห่งชาติเป็นกรรมการ โดยนำข้อมูลตามข้อ 20 (2) มาประกอบการพิจารณา (สำหรับผู้ไม่เหมาะสม

ที่ส่วนราชการรองพิจารณาเป็นที่ยุติแล้วไม่ต้องนำมาพิจารณา) หากมีความเห็นตรงกับหน่วยหรือหน่วยงานให้เป็นที่ยุติ หากมีความเห็นแตกต่างให้ส่งรายชื่อกลับไปยังหน่วยหรือหน่วยงานของข้าราชการตำรวจผู้นั้นเพื่อนำไปพิจารณารวมกับรายชื่อผู้เหมาะสมของหน่วยงานนั้นอีกครั้ง ทั้งนี้ ต้องระบุเหตุผลชัดเจน และเป็นรูปธรรมไว้เป็นหลักฐาน

สำหรับผู้ไม่เหมาะสมเลื่อนตำแหน่งสูงขึ้นเป็นระดับรองผู้บังคับการลงมา ให้หน่วยดำเนินการพิจารณาทบทวนผู้ไม่เหมาะสมที่หน่วยงานเสนอมาในรูปคณะกรรมการประกอบด้วย หัวหน้าหน่วยเป็นประธานและรองหัวหน้าหน่วยทุกคนเป็นกรรมการ โดยนำข้อมูลตามข้อ 2  (2) มาประกอบการพิจารณา (สำหรับผู้ไม่เหมาะสมที่ส่วนราชการรองพิจารณาเป็นที่ยุติแล้วไม่ต้องนำมาพิจารณา) หากมีความเห็นตรงกับหน่วยงาน ให้เป็นที่ยุติ หากมีความเห็นแตกต่างให้ส่งรายชื่อกลับไปยังหน่วยงานของข้าราชการตำรวจผู้นั้น เพื่อนำไปพิจารณารวมกับรายชื่อผู้เหมาะสมของหน่วยงานนั้นอีกครั้ง ทั้งนี้ ต้องระบุเหตุผลชัดเจน และเป็นรูปธรรมไว้เป็นหลักฐาน

ข้อ 29 การจัดทำบัญชีข้อมูลผู้เหมาะสมเลื่อนตำแหน่งสูงขึ้น ในส่วนราชการนอกเหนือจากข้อ 21 ถึงข้อ 27ให้เป็นไปตามที่ผู้มีอำนาจคัดเลือกหรือแต่งตั้งกำหนดในรูปคณะกรรมการในการพิจารณาตามความเหมาะสม

ข้อ 30 การจัดทำบัญชีข้อมูลผู้เหมาะสมเลื่อนตำแหน่งสูงขึ้น ที่จะต้องพิจารณาในรูปคณะกรรมการหากคณะกรรมการมีไม่ถึงสามคน ให้ผู้ที่มีระดับตำแหน่งสูงสุดและเรียงตามอาวุโสร่วมเป็นคณะกรรมการจนครบสามคน หากยังไม่ถึงสามคนให้ผู้มีระดับตำแหน่งถัดลงไปและเรียงตามลำดับอาวุโสร่วมเป็นกรรมการจนครบสามคนหากไม่สามารถพิจารณาในรูปคณะกรรมการได้ให้ผู้มีอำนาจคัดเลือกหรือแต่งตั้งกำหนดรูปแบบในการพิจารณาตามความเหมาะสม

ข้อ 31 การจัดทำบัญชีข้อมูลผู้เหมาะสมเลื่อนตำแหน่งสูงขึ้นของส่วนราชการซึ่งเป็นต้นสังกัดชั้นต้น

ให้ผู้จัดทำระบุเหตุผล ความเหมาะสม ของข้าราชการตำรวจที่สมควรได้รับการพิจารณาคัดเลือกหรือแต่งตั้งเลื่อนตำแหน่งสูงขึ้น

ข้อ 32 การจัดทำบัญชีข้อมูลผู้เหมาะสมเลื่อนตำแหน่งสูงขึ้นของข้าราชการตำรวจที่ช่วยราชการขาดจากต้นสังกัด หรือนอกสังกัดสำนักงานตำรวจแห่งชาติ หรือรักษาราชการแทนขาดจากต้นสังกัดให้ผู้บังคับบัญชาชั้นต้นของข้าราชการตำรวจที่ไปช่วยราชการ หรือรักษาราชการแทน ส่งผลการปฏิบัติงานไปยังส่วนราชการต้นสังกัดชั้นต้น เพื่อประกอบการพิจารณาแนวทางการจัดทำบัญชีรายชื่อผู้อยู่ในเกณฑ์ที่สมควรได้รับการเลื่อนตำแหน่งสูงขึ้น

ข้อ 33การจัดทำบัญชีรายชื่อผู้อยู่ในเกณฑ์ที่สมควรได้รับการเลื่อนตำแหน่งสูงขึ้นให้พิจารณาแยกประเภทตามที่ได้มีการประกาศลำดับอาวุโสของข้าราชการตำรวจตามข้อ 8 โดยให้จัดผู้ซึ่งมีอาวุโสสูงกว่า ได้อยู่ในลำดับที่เหนือกว่า และให้ดำเนินการดังนี้

(1) ระดับผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติถึงรองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ให้ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติเป็นผู้จัดทำบัญชีรายชื่อผู้อยู่ในเกณฑ์ที่สมควรได้รับการเลื่อนตำแหน่งสูงขึ้นในภาพรวมของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ(2) ระดับผู้บังคับการถึงผู้บัญชาการ ให้ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติเป็นผู้จัดทำบัญชีรายชื่อผู้อยู่ในเกณฑ์ที่สมควรได้รับการเลื่อนตำแหน่งสูงขึ้นในภาพรวมของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ โดยพิจารณาจากบัญชีข้อมูลผู้เหมาะสมเลื่อนตำแหน่งสูงขึ้น

(3) ระดับสารวัตรถึงรองผู้บังคับการ ในสังกัดสำนักงานผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ และที่มิได้สังกัดสำนักงานผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ให้หัวหน้าหน่วยเป็นผู้จัดทำบัญชีรายชื่อผู้อยู่ในเกณฑ์ที่สมควรได้รับการเลื่อนตำแหน่งสูงขึ้น โดยพิจารณาจากบัญชีข้อมูลผู้เหมาะสมเลื่อนตำแหน่งสูงขึ้นวิธีการแต่งตั้งสับเปลี่ยนหมุนเวียนในตำแหน่งเท่าเดิม

ข้อ 34 ข้าราชการตำรวจที่ประสงค์จะร้องขอรับการแต่งตั้งสับเปลี่ยนหมุนเวียนในระดับตำแหน่งเท่าเดิม ให้ยื่นคำร้องขอรับการแต่งตั้งพร้อมเอกสารประกอบการพิจารณา (ถ้ามี) เสนอต่อผู้บังคับบัญชา ตามลำดับชั้น และให้หัวหน้าหน่วยนั้นพิจารณามีความเห็น แล้วให้ผู้มีอำนาจที่ประสงค์จะแต่งตั้งเป็นผู้สั่งแต่งตั้งในกรณีที่มีข้าราชการตำรวจร้องขอรับการแต่งตั้งสับเปลี่ยนหมุนเวียนไปดำรงตำแหน่งในหน่วยอื่นระหว่างกัน หากผู้มีอำนาจประสงค์จะแต่งตั้งให้ทำความตกลงกัน แล้วให้ผู้มีอำนาจพิจารณาแต่งตั้งไปดำรงตำแหน่งที่เหมาะสมภายในหน่วยที่ร้องขอ ในกรณีที่ผู้มีอำนาจเห็นว่าข้าราชการตำรวจที่ร้องขอรับการแต่งตั้งมีคุณสมบัติไม่เป็นไปตามข้อ 15 ให้ยุติการพิจารณา หรือหากมีเหตุผลความจำเป็นก็ให้ขอรับความเห็นชอบจากผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติทั้งนี้ คำร้องที่ขอรับการแต่งตั้งจะใช้พิจารณาในวาระการแต่งตั้งนั้นเพียงคราวเดียวเท่านั้น

ข้อ 35 การแต่งตั้งข้าราชการตำรวจที่อยู่ภายใต้เงื่อนไขท้ายคำสั่งบรรจุแต่งตั้งข้าราชการตำรวจครั้งแรกหรือดำรงตำแหน่งที่ได้รับการบรรจุแต่งตั้งเป็นข้าราชการตำรวจครั้งแรกหรือแต่งตั้งเลื่อนชั้นเป็นข้าราชการตำรวจชั้นประทวนหรือชั้นสัญญาบัตรครั้งแรกไม่ครบสองปี หรืออยู่ระหว่างการพิจารณาปรับให้ได้รับอัตราเงินเดือนตามคุณวุฒิ ให้ขอรับความเห็นชอบจากผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ

ข้อ 36 การแต่งตั้งสับเปลี่ยนหมุนเวียนของผู้ดำรงตำแหน่งควบปรับระดับเพิ่มลดได้ในตัวเอง หากมี การกำหนดเป็นการเฉพาะก็ให้เป็นไปตามระเบียบหลักเกณฑ์ว่าด้วยการนั้นคณะกรรมการจัดทำข้อมูลเสนอแต่งตั้ง

ข้อ 37 คณะกรรมการจัดทำข้อมูลเสนอแต่งตั้งของส่วนราชการต่าง ๆ ตามมาตรา 78(4) และมาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2565?มีดังนี้

(1) หน่วยงานระดับกองบัญชาการ คณะกรรมการประกอบด้วย หัวหน้าหน่วยงานเป็นประธานและรองหัวหน้าหน่วยงานเป็นกรรมการ(2) หน่วยงานระดับกองบังคับการ คณะกรรมการประกอบด้วย หัวหน้าหน่วยงานเป็นประธานและรองหัวหน้าหน่วยงานเป็นกรรมการ

สำหรับหน่วยงานที่ขึ้นตรงต่อผู้มีอำนาจ ซึ่งมีหัวหน้าระดับรองผู้บังคับการ คณะกรรมการประกอบด้วย หัวหน้าหน่วยงานระดับรองผู้บังคับการเป็นประธาน และผู้กำกับการหัวหน้าส่วนราชการเป็นกรรมการ โดยให้ผู้มีอำนาจรับฟังข้อมูลเสนอแต่งตั้งของหัวหน้าหน่วยงานนั้นด้วย หากผู้มีอำนาจคัดเลือกหรือแต่งตั้งมีความเห็นแตกต่างจากข้อมูลการเสนอแต่งตั้งของหัวหน้าหน่วยงานนั้น ให้ชี้แจงเหตุผลต่อคณะกรรมการพิจารณาการแต่งตั้งข้าราชการตำรวจด้วย คณะกรรมการตามวรรคหนึ่งและวรรคสอง ให้มีอำนาจหน้าที่ในการจัดทำข้อมูลเสนอคัดเลือกหรือ แต่งตั้งข้าราชการตำรวจ โดยในการเสนอข้อมูลให้พิจารณาเสนอรายชื่อได้เฉพาะข้าราชการตำรวจที่ดำรงตำแหน่งในสังกัดเท่านั้น แล้วให้หัวหน้าส่วนราชการเสนอไปยังผู้มีอำนาจพิจารณาสำหรับกองบังคับการที่ไม่สังกัดกองบัญชากาในสำนักงานผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ให้นำความตาม (2 ) มาบังคับใช้โดยอนุโลม กรณีกรรมการตามวรรคหนึ่งและวรรคสอง มีไม่ถึงสามคนให้นำความตามข้อ 50 วรรคสองและวรรคสาม มาบังคับใช้โดยอนุโลม

การจัดทำข้อมูลเสนอแต่งตั้ง ให้เป็นความรับผิดชอบของคณะกรรมการจัดทำข้อมูลเสนอแต่งตั้งจะต้องตรวจสอบคุณสมบัติและความเหมาะสมของข้าราชการตำรวจที่ได้รับการเสนอเลื่อนตำแหน่งสูงขึ้น ซึ่งต้องเป็นผู้มีความรู้ความสามารถ มีผลงานที่ชัดเจน สามารถตรวจสอบได้และตรงกับความเป็นจริง

ข้อ 38 การจัดทำข้อมูลเสนอคัดเลือกหรือแต่งตั้งข้าราชการตำรวจของหัวหน้าหน่วยงานระดับ รองผู้บังคับการขึ้นไปที่ขึ้นตรงต่อผู้มีอำนาจนอกเหนือจากข้อ ๓๗ วรรคสอง ให้พิจารณาในรูปคณะกรรมการตามที่ผู้มีอำนาจคัดเลือกหรือแต่งตั้งกำหนด แล้วเสนอไปยังผู้มีอำนาจประกอบการพิจารณาต่อไป

ข้อ 39 ให้ผู้มีอำนาจจัดทำบัญชีคัดเลือกหรือแต่งตั้ง โดยนำบัญชีรายชื่อผู้อยู่ในเกณฑ์ที่สมควรได้รับการเลื่อนตำแหน่งสูงขึ้นและข้อมูลเสนอแต่งตั้งของส่วนราชการต่าง ๆ ตามข้อ 37 หรือข้อ 38 มาประกอบการพิจารณาและเสนอไปยังคณะกรรมการพิจารณาการแต่งตั้งข้าราชการตำรวจตามมาตรา 81 แห่งพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2565 คณะกรรมการพิจารณาการแต่งตั้งข้าราชการตำรวจ

ข้อ 40 ในการคัดเลือกหรือแต่งตั้งข้าราชการตำรวจ ให้คณะกรรมการพิจารณาการแต่งตั้งข้าราชการตำรวจ เป็นไปตามมาตรา 81 แห่งพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2565 หากคณะกรรมการมีไม่ถึงสามคน ให้ผู้ที่มีระดับตำแหน่งสูงสุดและเรียงตามอาวุโสร่วมเป็นคณะกรรมการจนครบสามคน หากยังไม่ถึงสามคนให้ผู้มีระดับตำแหน่งถัดลงไปและเรียงตามลำดับอาวุโสร่วมเป็นกรรมการจนครบสามคนหากไม่สามารถพิจารณาในรูปคณะกรรมการได้ให้ผู้มีอำนาจกำหนดรูปแบบในการพิจารณาตามความเหมาะสม วิธีการคัดเลือกหรือแต่งตั้งของผู้มีอำนาจ

ข้อ 41 การคัดเลือกหรือแต่งตั้งข้าราชการตำรวจตามมาตรา 82 แห่งพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2565 ให้พิจารณาแยกประเภทตามที่ได้มีการประกาศลำดับอาวุโสของข้าราชการตำรวจตามข้อ 8 จากผู้ที่มีรายชื่ออยู่ในบัญชีรายชื่อผู้อยู่ในเกณฑ์ที่สมควรได้รับการเลื่อนตำแหน่งสูงขึ้น ดังนี้

(1) ข้าราชการตำรวจที่จะคัดเลือกแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ระดับรองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติและจเรตำรวจแห่งชาติลงมาถึงผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติและรองจเรตำรวจแห่งชาติ ให้พิจารณาเรียงตามลำดับอาวุโส

(2) ข้าราชการตำรวจที่จะคัดเลือกแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ระดับผู้บัญชาการและจเรตำรวจลงมาถึงระดับผู้บังคับการ ให้พิจารณเรียงตามลำดับอาวุโสจำนวนไม่น้อยกว่าร้อยละห้าสิบของจำนวนตำแหน่งว่างในแต่ละระดับตำแหน่งในภาพรวมของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ

(3) ข้าราชการตำรวจที่จะแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ระดับรองผู้บังคับการลงมาถึงระดับสารวัตร ให้พิจารณาเรียงตามลำดับอาวุโสจำนวนไม่น้อยกว่าร้อยละสามสิบสามของจำนวนตำแหน่งว่างในแต่ละระดับตำแหน่งของหน่วยนั้น การพิจารณาคัดเลือกหรือแต่งตั้งข้าราชการตำรวจเลื่อนตำแหน่งสูงขึ้นตาม (2) และ (3) ให้พิจารณา

จากข้าราชการตำรวจที่มีลำดับอาวุโสสูงที่สุดเรียงลำดับลงไปจนครบตามจำนวนสัดส่วนอาวุโส หากยังไม่ครบตามจำนวนให้ผู้มีอำนาจพิจารณาแก้ไขปัญหา โดยการแต่งตั้งผู้ที่ดำรงตำแหน่งซึ่งมีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งตรงตามคุณสมบัติของข้าราชการตำรวจที่รอรับการพิจารณาและมีความสมัครใจ ไปดำรงตำแหน่งอื่นเพื่อเปิดตำแหน่งว่าง ที่ไม่เป็นการสับเปลี่ยนหมุนเวียนข้าราชการตำรวจระหว่างหน่วย สำหรับรองรับการคัดเลือกหรือแต่งตั้งให้ได้มากที่สุด หากยังไม่ครบตามจำนวนสัดส่วนอาวุโสให้รายงานปัญหา อุปสรรค พร้อมทั้งแนวทางแก้ไขต่อ ก.ตร. พิจารณา เช่น กำหนดเป็นเหตุพิเศษ เป็นต้น จำนวนตำแหน่งว่างที่เหลือจากการพิจารณาตาม (2) และ (3) ให้พิจารณาโดยคำนึงถึงอาวุโสและความรู้ความสามารถประกอบกัน รวมทั้งบัญชีที่จัดทำตามข้อ 20 และความเหมาะสมกับตำแหน่งโดยสามารถพิจารณาคัดเลือกหรือแต่งตั้งจากบัญชีรายชื่อผู้อยู่ในเกณฑ์ที่สมควรได้รับการเลื่อนตำแหน่งสูงขึ้นของประเภทตำแหน่งอื่นก็ได้ การคัดเลือกหรือแต่งตั้งข้าราชการตำรวจตาม (2) และ (3)ให้ดำรงตำแหน่งเฉพาะทาง ให้พิจารณา เรียงตามลำดับอาวุโสจำนวนไม่น้อยกว่าร้อยละห้าสิบหรือร้อยละสามสิบสามของจำนวนตำแหน่งว่างหรือกรอบตำแหน่งว่างในแต่ละระดับตำแหน่งตามลักษณะหน้าที่หรือลักษณะงานของตำแหน่งนั้น ๆ แล้วแต่กรณี ส่วนตำแหน่งว่างที่เหลือจากการพิจารณา ให้นำความในวรรคสองและวรรคสาม มาบังคับใช้โดยอนุโลม เว้นแต่ ก.ตร. ได้กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการคัดเลือกหรือแต่งตั้งเป็นการเฉพาะ สำหรับข้าราชการตำรวจ ที่ดำรงตำแหน่งระดับสูงสุดของตำแหน่งเฉพาะทางที่ไม่ใช่กลุ่มสายงานวิชาชีพเฉพาะของสำนักงานตำรวจแห่งชาติหรือของหน่วย แล้วแต่กรณี ให้นำไปพิจารณารวมกับข้าราชการตำรวจที่ดำรงตำแหน่งในประเภทตำแหน่งทั่วไป

ข้อ 42 การแต่งตั้งนายเวร และผู้ช่วยนายเวร ของผู้บังคับบัญชาระดับผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ขึ้นไปและผู้บัญชาการประจำสำนักงานผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติหรือจเรตำรวจที่มิใช่ตำแหน่งหัวหน้าจเรตำรวจ ไปดำรงตำแหน่งอื่นอันเนื่องมาจากกรณีผู้บังคับบัญชาได้เปลี่ยนแปลงสถานภาพ ให้ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติพิจารณาจัดสรรตำแหน่งในหน่วยต่าง ๆ ได้ตามความเหมาะสมเพื่อใช้รองรับการแต่งตั้งโดยให้พิจารณาจัดสรรไปดำรงตำแหน่งในหน่วยที่ข้าราชกรตำรวจผู้นั้นสังกัดอยู่ก่อนที่จะได้รับการแต่งตั้งเป็นนายเวร และผู้ช่วยนายเวร เป็นลำดับแรก แล้วให้หน่วยที่เกี่ยวข้องดำเนินการแต่งตั้งไปดำรงตำแหน่งในสังกัดตามขั้นตอนของกฎหมายต่อไปเว้นแต่มีหน่วยอื่นรับตัวไปดำรงตำแหน่งในสังกัดและข้าราชการตำรวจผู้นั้นมีความสมัครใจ

ข้อ 43 ข้าราชการตำรวจตั้งแต่ระดับรองผู้บังคับการลงมาที่ได้รับการแต่งตั้งทั้งกรณีสับเปลี่ยนหมุนเวียนและเลื่อนตำแหน่งสูงขึ้นออกไปนอกหน่วย โดยไม่สมัครใจก่อนข้อกำหนด ก.ตร. นี้ใช้บังคับหากประสงค์ขอรับการแต่งตั้งกลับหน่วยเดิม หรือหน่วยงานที่มีที่ตั้งในพื้นที่จังหวัดเดียวกันกับพื้นที่ตั้งของหน่วยงานเดิม เพื่อเป็นการบรรเทาความเดือดร้อน ให้ยื่นคำร้องต่อผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ(ผ่านสำนักงานกำลังพล)ให้ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ แต่งตั้งคณะทำงานขึ้นมาคณะหนึ่ง ประกอบด้วยรองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติที่รับผิดชอบในงานบริหาร เป็นหัวหน้าคณะทำงาน ผู้แทนหน่วยที่เกี่ยวข้องเป็นคณะทำงานและผู้บัญชาการสำนักงานกำลังพลเป็นคณะทำงานและเลขานุการ เพื่อพิจารณาคำร้องตามวรรคหนึ่ง เสนอต่อผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ภายใต้หลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่สามารถสับเปลี่ยนหมุนเวียนกันได้โดยไม่กระทบกับสถานภาพกำลังพลของหน่วย เพื่อให้ผู้มีอำนาจแต่งตั้งดำเนินการตามกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องต่อไป

ข้อ 44 การทำความตกลงกันในการแต่งตั้งข้าราชการตำรวจระดับรองผู้บังคับการลงมา ให้หัวหน้าหน่วยระหว่างหน่วยต้นสังกัดกับหน่วยที่ประสงค์จะแต่งตั้งข้าราชการตำรวจ ประสานทำความตกลงกันให้ปรากฎเป็นหลักฐานทางราชการ

ข้อ 45 เมื่อผู้มีอำนาจมีคำสั่งแต่งตั้งแล้ว ให้ส่งสำเนาคำสั่งไปยังสำนักงานกำลังพลภายในสามวันนับแต่วันที่มีคำสั่งแต่งตั้ง เพื่อดำเนินการตามกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง การดำเนินการที่ไม่เป็นไปตามข้อกำหนดและการตีความ

ข้อ 46 การคัดเลือกหรือแต่งตั้งที่มิได้เป็นไปตามข้อกำหนด ก.ตร. นี้ จะกระทำมิได้ เว้นแต่จะได้รับความเห็นชอบจาก ก.ตร. เท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.2565

ข้อ 47 ในกรณีมีข้อสงสัยหรือมีปัญหาการตีความตามข้อกำหนด ก.ตร. นี้ ให้ ก.ตร. เป็นผู้มีอำนาจพิจารณาและวินิจฉัย ให้คำวินิจฉัยของ ก.ตร. เป็นที่สุดให้ไว้ ณ วันที่ 9’กรถฎาคม พ.ศ. 2566 ข้อกำหนดดังกล่าวระบุ

อ่านกฏหมาย ข้อกำหนด ก.ตร.ว่าด้วยการแต่งตั้งข้าราชการตำรวจ พ.ศ. 2566

https://cdn2.me-qr.com/pdf/16373456.pdf

#thaitabloid

RELATED ARTICLES
- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_img