หน้าแรกกระบวนการยุติธรรมUNODC ชี้ อุปทานยาเสพติดชนิดสังเคราะห์ในเอเชียตะวันออก-เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ยังคงอยู่ในระดับรุนแรง

UNODC ชี้ อุปทานยาเสพติดชนิดสังเคราะห์ในเอเชียตะวันออก-เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ยังคงอยู่ในระดับรุนแรง

รายงานจาก UNODC อุปทานยาเสพติดชนิดสังเคราะห์ในเอเชียตะวันออกและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ยังคงอยู่ในระดับที่รุนแรงและมีความหลากหลาย

วันที่ 2 มิถุนายน 2566 UNODC เชิญ สำนักงาน ป.ป.ส. ร่วมโต๊แถลงรายงานฉบับใหม่จากสำนักงานว่าด้วยยาเสพติดและอาชญากรรมแห่งสหประชาชาติ (UNODC) เตือนว่าตลาดยาเสพติดชนิดสังเคราะห์ในเอเชียตะวันออกและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ปัจจุบันมีความหลากหลาย การผลิตและการลักลอบค้าเมทแอมเฟตามีนยังคงมีปริมาณมากภายในภูมิภาคและได้ส่งออกไปยังภูมิภาคอื่น ในขณะที่การผลิตเคตามีนและยาเสพติดชนิดสังเคราะห์อื่นก็มีการขยายตัว

รายงาน “ยาเสพติดชนิดสังเคราะห์ในเอเชียตะวันออกและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้: การพัฒนาล่าสุดและความท้าทายปี 2023” ยืนยันว่ามีการขยายตัวและความหลากหลายของการผลิตยาเสพติดชนิดสังเคราะห์และการลักลอบค้าในเอเชียตะวันออกและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แต่เส้นทางการลักลอบเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก “กลุ่มอาชญากรข้ามชาติได้คาดการณ์ ปรับตัว และพยายามหลีกเลี่ยงสิ่งที่รัฐบาลดำเนินการอยู่ ในปี 2565 เราเห็นกลุ่มอาชญากรข้ามชาติเริ่มหลีกเลี่ยงบริเวณชายแดนไทยบริเวณสามเหลี่ยมทองคำกว่าที่ผ่านมา” นายเจเรมี ดักลาส ผู้แทน UNODC ประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และแปซิฟิกกล่าว “ผู้ค้ายังคงส่งยาเสพติดจำนวนมากผ่านส.ป.ป. ลาวและตอนเหนือของฝั่งไทย แต่ขณะเดียวกันพวกเขาได้ผลักดันยาเสพติดปริมาณมากผ่านทางตอนกลางของเมียนมาร์ไปยังทะเลอันดามันผ่านเส้นทางที่น้อยคนจับตามองอยู่” นายเจเรมีกล่าวเสริมว่า “กลุ่มอาชญากรจากทั่วทั้งภูมิภาคก็เริ่มเคลื่อนไหวและเชื่อมต่อกันอีกครั้งหลังจากการปิดพรมแดนจากการระบาดโควิด-19 ที่ยาวนาน โดยรูปแบบในช่วงปลายปี 2565 และต้นปี 2566 เริ่มคล้ายกับช่วงปี 2562”

การจับกุมเมทแอมเฟตามีนในปี 2565 กลับไปสู่ระดับก่อนโควิด-19 ในเอเชียตะวันออกและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยยึดได้เกือบ 151 ตัน ส่วนหนึ่งเนื่องจากพรมแดนทางบก โดยเฉพาะในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงตอนล่างซึ่งยังคงเสี่ยงต่อการลักลอบค้าสารเคมีที่เกี่ยวข้องด้วย ในขณะเดียวกัน การสกัดกั้นที่เข้มงวดขึ้นในมณฑลยูนนานของจีนและตามแนวชายแดนไทยกับเมียนมาร์ส่งผลให้ระดับการยึดเมทแอมเฟตามีนในจีนลดลงอย่างมากและลดลงเล็กน้อยในประเทศไทย และส่งผลให้มีการใช้เส้นทางเดินเรือเพิ่มขึ้น เอเชียใต้ยังถูกรวมเข้ากับตลาดเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ด้วย โดยมีเมทแอมเฟตามีนปริมาณสูงจากเมียนมาร์ไหลทะลักเข้าสู่บังกลาเทศ และมีเพิ่มขึ้นบ่อยครั้งในแถบตะวันออกเฉียงเหนือของอินเดีย นอกจากนี้ ราคาขายส่งและราคาขายตามท้องถนนของเมทแอมเฟตามีนยังคงอยู่ที่หรือลดลงสู่ระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ในปี 2565 ทั่วทั้งภูมิภาค ซึ่งบ่งชี้ว่าอุปทานไม่หมดลง

นอกเหนือจากเมทแอมเฟตามีนแล้ว ภูมิภาคนี้ยังยึดเคตามีนได้สูงสุดเป็นประวัติการณ์ถึง 27.4 ตันในปี 2565 เพิ่มขึ้นร้อยละ 167 โดยทุกประเทศและพื้นที่ในภูมิภาคนี้รายงานว่าเพิ่มขึ้น ยกเว้นฮ่องกง การยึดเมทแอมเฟตามีนและเคตามีนจำนวนมากที่ถูกขนส่งพร้อมกันโดยเจ้าหน้าที่จากทั่วภูมิภาค บ่งชี้ว่ากลุ่มอาชญากรผลักดันยาเสพติดทั้งสองพร้อมกันเพื่อเพิ่มความต้องการเคตามีน

“สถานการณ์เคตามีนในภูมิภาคนี้สะท้อนถึงแนวทางที่ขับเคลื่อนด้วยอุปทานซึ่งใช้ในการขยายตลาดเมทแอมเฟตามีนในช่วงกลางคริสต์ทศวรรษ 2010” นายอินชิก ซิม ผู้ประสานงานระดับภูมิภาคของ UNODC ด้านยาเสพติดชนิดสังเคราะห์ให้ความเห็นว่า “ทั้งนี้ทั้งนั้น ข้อมูลเกี่ยวกับการใช้เคตามีนมีจำกัด และไม่ชัดเจนว่าแพร่หลายมากเพียงใด การวิจัยยังมีความจำเป็นอย่างมาก”

ในขณะเดียวกัน ยาเสพติดชนิดสังเคราะห์ที่มีส่วนผสมของสารเคมีชนิดต่างๆ และบางครั้งบรรจุพร้อมกับผลิตภัณฑ์ที่ถูกต้องตามกฎหมายยังคงพบได้ทั่วเอเชียตะวันออกและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งมีผลเสียต่อสุขภาพอย่างร้ายแรงสำหรับผู้ที่บริโภคผลิตภัณฑ์ดังกล่าวโดยเจตนาหรือโดยไม่รู้ตัว

UNODC ทำงานอย่างใกล้ชิดกับประเทศต่างๆ ในเอเชียตะวันออกและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เพื่อติดตามสถานการณ์ยาเสพติด แนวโน้มของยาเสพติด และให้คำแนะนำเกี่ยวกับความร่วมมือ การตรวจจับ การควบคุมสารตั้งต้นและเคมีภัณฑ์ และยุทธศาสตร์ด้านสาธารณสุข ตลอดจนช่วยเหลือประเทศต่างๆ ในการทำงานร่วมกันและภารกิจปฏิบัติการข้ามพรมแดน

#สำนักข่าวไทยแทบลอยด์ สื่อออนไลน์ ที่ยึดถือจรรยาบรรณครบถ้วน

RELATED ARTICLES
- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_img