ตั้งแต่เปิดปีมา เชื่อว่าหลายคนคงได้เห็นรถอีวีวิ่งตามท้องถนนเป็นปริมาณที่เพิ่มขึ้นจนสังเกตได้ ล่าสุด กรมการขนส่งทางบก ประกาศยอดจดทะเบียนใหม่รถยนต์ไฟฟ้าประเภทแบตเตอรี่ (BEV) (จดป้ายขาวครั้งแรก ) ประจำเดือนมีนาคม 2566 อยู่ที่ 6,262 คัน ตัวเลขคาดการณ์ยอดทั้งหมดของปี 2566 ที่ว่าจะอยู่ระหว่าง 25,000-35,000 คัน ซึ่งนับเป็น 2 เท่าของปีก่อน จึงไม่น่าจะไกลความเป็นจริงนัก ปัจจัยที่ส่งเสริมแนวโน้มนี้ คือ นโยบายภาครัฐที่เป็นตัวกระตุ้นทั้งในฝั่งผู้ผลิตและผู้บริโภค ไม่ว่าจะเป็นการลดค่าภาษีรถยนต์อีวีลง 80% สำหรับรถที่จดทะเบียนระหว่างวันที่ 9 พฤศจิกายน 2565 – 8 พฤศจิกายน 2568 เป็นระยะเวลา 1 ปี นับจากวันที่จดทะเบียน เพื่อช่วยลดค่าใช้จ่ายสำหรับผู้ใช้รถยนต์อีวี และการที่ค่ายรถยนต์จากหลายประเทศเริ่มเข้ามาจดทะเบียนจัดตั้งบริษัท มีแผนการลงทุนโรงงานผลิต และนำรถรุ่นใหม่เข้ามาจำหน่ายในประเทศไทยมากขึ้น รวมไปถึงความก้าวหน้าของอุตสาหกรรมที่ทำให้รถวิ่งได้ไกลขึ้นกว่าในอดีต แนวโน้มสถานีชาร์จไฟฟ้าที่เพิ่มจำนวนและครอบคลุมมากขึ้น และเทคโนโลยีหัวจ่ายไฟฟ้าที่ใช้ระยะเวลาชาร์จต่อครั้งสั้นลง ทำให้อีโคซิสเต็มของรถอีวีมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เหล่านี้ถือเป็นสัญญาณที่ดีของแวดวงอีวีในอนาคต
การได้มาซึ่งรถที่เหมาะสมเป็นแค่ก้าวแรกของผู้ใช้รถอีวีมือใหม่ สิ่งสำคัญคือความรับผิดชอบที่มาพร้อมกับรถและการดูแลในระยะยาว ประกันภัยที่ดีคือหัวใจสำคัญ เพื่อให้ผู้ใช้รถสามารถคุ้มครองความเสียหายของรถได้อย่างมั่นใจและมีการวางแผนด้านการเงินอย่างชาญฉลาด ประกันรถอีวียังถือเป็นเรื่องใหม่ที่ผู้เกี่ยวข้องทุกคนในแวดวงอีวีต้องศึกษาเพิ่มเติมจากเงื่อนไขปกติของประกันรถทั่วไป ส่วนมากจะมาในรูปแบบของการแถมประกันภัยชั้น 1 ฟรี ปีแรกจากค่ายรถหรือดีลเลอร์ต่าง ๆ แต่เมื่อหมดประกันฟรีแล้ว ผู้ใช้รถอีวีจะต้องศึกษาหาข้อมูลเพื่อวางแผนการใช้จ่ายสำหรับเบี้ยประกัน เรามาดูกันว่า หลักสำคัญ 3 ประการ ก่อนเลือกซื้อประกันภัยรถอีวีที่ตอบโจทย์ความต้องการ มีอะไรบ้าง
- คุณภาพ ควรเลือกปรึกษากับโบรคเกอร์ประกันภัยที่ไว้ใจได้ มีตัวเลือกและข้อมูลของบริษัทประกันภัย รวมไปถึงการซ่อมศูนย์บริการหรืออู่รถ ที่ครบถ้วนและมีคุณภาพ เนื่องจากรถอีวีเพิ่งเข้ามาตีตลาดในไทย บริษัทประกันภัยต้องมีการศึกษาและประเมินราคาใหม่ ต้องมีการเตรียมความพร้อมในหลาย ๆ ด้าน ทั้งระบบค่าดูแลรักษาและการซ่อม ล้วนแล้วแต่ต้องอาศัยความเชี่ยวชาญเฉพาะทางของศูนย์เข้ามาช่วยจัดการ อะไหล่บางประเภทยังมีราคาสูง รวมถึงระบบการเคลมที่ต้องปรับเปลี่ยนให้เข้ากับรถอีวี
- คุ้มครอง ในปัจจุบัน แพ็คเกจความคุ้มครองของประกันภัยแต่ละบริษัทจะยังไม่โดดจากกันมากนัก อาจจะแตกต่างกันในเรื่องของโปรโมชันหรือบริการหลังการขายด้านอื่น ๆ หรือเบี้ยประกันรวมเมื่อเทียบกับระยะเวลาคุ้มครองของรถแต่ละรุ่น ควรใช้เวลาในการศึกษาข้อมูลดี ๆ ในส่วนของรถมอเตอร์ไซค์อีวี (ไม่เกิน 150 cc) ในตลาดจะยังไม่มีประกันภัยชั้น 1 ให้ลูกค้าเลือกซื้อ ส่วนใหญ่จะมีแต่ประกันรถสูญหาย และประกันภัยชั้น 3+ ที่คุ้มครองแค่กรณีสูญหาย หรือ Total Loss กรณีชนกับยานพาหนะทางบก (รถชนรถ) โดยที่กรณีดังกล่าวไม่สามารถซ่อมได้เท่านั้น แต่ไม่รวมถึงความเสียหายเล็ก ๆ น้อย ๆ
- คุ้มค่า ประกันภัยรถอีวี เป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ในตลาด จึงต้องอาศัยความเข้าใจและศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อเลือกใช้บริการประกันภัยที่คุ้มค่าที่สุด ก่อนการตัดสินใจซื้อประกันภัยรถอีวี ควรทำตารางเปรียบเทียบค่าเบี้ยประกันภัยจากหลาย ๆ เจ้า ทั้งราคาซ่อมห้างกับซ่อมอู่ โดยประเมินจากงบที่มี ซึ่งโบรคเกอร์ที่ดีจะช่วยวางแผนค่าใช้จ่ายระยะยาวให้กับผู้ใช้รถมือใหม่ได้ด้วย
บริการจากโบรคเกอร์ประกันภัยหลาย ๆ แบรนด์ อย่าง “กรุงศรี ออโต้ โบรคเกอร์” มีการนำเสนอประกันภัยรถอีวี และจัดโปรโมชันอย่างต่อเนื่อง ล่าสุด คือ โปรโมชันประกันชั้น 1 สำหรับ ORA Good Cat เริ่มต้น 21,300 บาท ส่วนลดค่าเบี้ย 5% พร้อมแบ่งจ่ายเงินสดสูงสุด 6 งวด ซ่อมห้าง จ่ายค่ายาง 100% และรับเงินปลอบขวัญ 5,000 บาท/ครั้ง ทั้งนี้ ผู้ช่วยด้านประกันภัย “คานะ” จะมาช่วยแนะนำและทำให้การซื้อประกันไม่ยุ่งยาก เพียงเพิ่มเพื่อน Line Official Account @Krungsriautobroker
มากกว่านั้น ยังมีแอปพลิเคชัน GO by Krungsri Auto ที่มีฟีเจอร์ช่วยอำนวยความสะดวกสบายสำหรับผู้ใช้รถอีวี อย่าง “สถานีชาร์จรถไฟฟ้า (EV Station)” เพื่อตรวจสอบตำแหน่งที่ตั้งของสถานีชาร์จ สถานะพร้อมใช้งาน และประเภทเครื่องชาร์จของแต่ละสถานีได้แบบเรียลไทม์อีกด้วย
การตัดสินใจซื้อรถอีวี ควรมีการวางแผนทางการเงินที่มีประสิทธิภาพ เพื่อจะได้ไม่ต้องมากังวลกับค่าใช้จ่าย ซ่อมแซม ดูแล ที่บานปลายหลังการซื้อ “หลัก 3 ประการ คุณภาพ คุ้มครอง และคุ้มค่า” จะช่วยในการตัดสินใจเลือกซื้อประกันภัยรถอีวีได้อย่างมั่นใจ และได้รับประสบการณ์การขับขี่ที่ดียิ่งขึ้นต่อไป