หน้าแรกกระบวนการยุติธรรม"พล.ต.อ.สมพงษ์"เตือนภัยหยุดยาวสงกรานต์

“พล.ต.อ.สมพงษ์”เตือนภัยหยุดยาวสงกรานต์

“พล.ต.อ.สมพงษ์”เตือนภัยสงกรานต์หยุดยาว แต่คนร้ายไม่หยุด รีบกลับไปเตือนญาติด่วน

เมื่อวันที่ 5 เม.ย.2565 พล.ต.อ.สมพงษ์ ชิงดวง ที่ปรึกษาพิเศษ ตร.และหัวหน้าคณะทํางานสร้างเสริมภูมิคุ้มกัน ต้านภัยอาชญากรรมทางเทคโนโลยี พร้อมด้วยคณะทํางาน เปิดเผยว่า ได้ร่วมกันนําเสนอสถิติการรับแจ้งความออนไลน์รอบสัปดาห์และ ภัยที่เกิดขึ้นใหม่ เพื่อประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนได้มีภูมิป้องกันภัยออนไลน์ ไม่ตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพ โดยมี รายละเอียด ดังนี้

ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (26 มี.ค.-1 เม.ย.2566) รวมทั้งสัปดาห์มีผู้แจ้งความ 4,045 เคส/619,718,786.50 บาท สถิติการรับแจ้งเพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ที่แล้ว 207 เคส/308,896,024.03 บาท โดยสถิติการรับแจ้งความคดีออนไลน์มากที่สุด 5 อันดับ ได้แก่ อันดับ 1) คดีหลอกลวงซื้อขายสินค้าหรือบริการ 1,761 เคส/29,322,434.61 บาท 2) คดีหลอกลวงให้ โอนเงินเพื่อทํางานหารายได้พิเศษ 565 เคส/86,215,154.63 บาท 3) คดีหลอกลวงให้กู้เงิน 412 เคส/25,532,331.28 บาท 4) คดีข่มขู่ทางทางโทรศัพท์ให้เกิดความกลัวแล้วหลอกให้โอนเงิน (Call Center) 354 เคส/60,282,753.69 บาท และ 5) คดีหลอกลวงให้ลงทุนผ่านระบบคอมพิวเตอร์ 249 เคส/16,973,048.71 บาท


ภัยออนไลน์ที่น่าสนใจและเกิดขึ้นมากในรอบสัปดาห์ มีจํานวน 3 เรื่อง ดังนี้ เรื่องที่ 1. “เงินหมดบัญชี แถมเป็นหนี้ บัตรเครดิต” คดีนี้แก๊ง Call Center โทรศัพท์หาเหยื่อ อ้างว่ามีชื่อค้างอยู่ในระบบเป็นบุคคลที่ยังไม่ได้ชําระภาษีประจําปี และต้องเสียภาษีไม่เช่นนั้นจะต้องเสียภาษีย้อนหลัง จากนั้นคนร้ายได้ให้เหยื่อแอดไลน์ และให้กดลิงก์เข้าเว็บไซต์กรมที่ดิน ปลอม ต่อมาให้กดดาวน์โหลดที่ข้อความโฆษณา(Banner) ตรากรมที่ดิน เพื่อติดตั้งแอปควบคุมโทรศัพท์ของเหยื่อ หน้าจอ เหยื่อปรากฏการทํางานเป็นเปอร์เซ็นต์ และให้รอจนครบ 100% ถ้าครบแล้วระบบจะให้สแกนใบหน้าเพื่อยืนยันข้อมูลบุคคล และอัพเดทข้อมูลในกรมที่ดิน ช่วงนี้คนร้าย ให้โอนเงินค่าธรรมเนียมไปบริจาคยังมูลนิธิเด็ก เพื่อหลอกดูรหัส แล้วล็อค หน้าจอของเหยื่อ และห้ามเหยื่อปิดเครื่อง อ้างว่าถ้าไม่เสร็จกระบวนการ จะถูกเรียกภาษีย้อนหลัง 2-3 หมื่นบาท ช่วงนี้ คนร้ายเห็นว่าเงินในบัญชีของเหยื่อมีน้อย จึงไปทํารายการถอนเงินสดจากบัตรเครดิตมาใส่ในบัญชีธนาคาร(คนร้ายรู้รหัส PIN) เนื่องจากเหยื่อผูกบัตรเครดิตไว้กับแอปของธนาคาร แล้วถอนเงินออกไปจนหมด จึงขอแจ้งเตือนว่า 1)อย่าโหลดแอป ต่างๆ นอก google play store หรือ app store และสังเกตุคําเตือนจากโทรศัพท์ของเราขณะโหลดแอป 2) อย่าโหลดแอป ที่ข้อความขึ้นว่า“.APK”เพราะเป็นแอปที่เป็นอันตราย3)อย่าผูกบัตรเครดิตไว้กับแอปของธนาคาร และอย่าดาวน์โหลด แอปที่ไม่ผ่านการยืนยันโดยแพลตฟอร์มที่น่าเชื่อถือ


เรื่องที่ 2 “อยากมีรายได้ แต่ได้รายจ่าย” คดีนี้คนร้ายแอบอ้างเป็นเจ้าหน้าที่ Shopee โฆษณารับสมัครงานใน Facebook หรือโทรหาเหยื่อ เมื่อเหยื่อสอบถามรายละเอียด คนร้ายจึงให้แอดไลน์แล้วดึงเข้ากลุ่มไลน์ทํางานที่มีสมาชิกใน กลุ่มจํานวนหนึ่งเพื่อสร้างความน่าเชื่อถือ โดยในกลุ่มมีหน้าม้าพูดคุยว่าทําภารกิจโปรโมทสินค้าเสร็จสิ้นและได้รับเงินค่า คอมมิชชั่นจริง เหยื่อหลงเชื่อจึงทําภารกิจโปรโมทสินค้าที่มีมูลค่าหลักร้อยเป็นภารกิจแรก โดยคนร้ายส่งลิงก์ Shopee ของ จริงให้เหยื่อกดสั่งสินค้าใส่ตะกร้า จากนั้นคนร้ายให้บันทึกหน้าจอส่งให้ดูพร้อมโอนเงินตามมูลค่าสินค้านั้นๆเข้าบัญชีคนร้าย คนร้ายโอนเงินคืนพร้อมให้ค่าคอมมิชชั่นกลับมาเพื่อหลอกให้เหยื่อรู้สึกว่าได้คอมมิชชั่นจากการทํางานจริง จากนั้นคนร้ายให้ เหยื่อทําภารกิจต่อไปโดยค่าสินค้าและค่าคอมมิชชั่นมากขึ้น เมื่อสินค้ามีมูลค่าหลักหมื่น หรือหลักแสน คนร้ายอ้างว่าเหยื่อทํา ผิดพลาดต้องโอนเงินเพิ่มเพื่อแก้ไข สุดท้ายจะไม่โอนเงินคืน จึงขอแจ้งเตือนว่า ถ้าอยากมีรายได้จากการทํางานออนไลน์ ต้องไม่เป็นงานที่เราต้องโอนเงินไปก่อน จึงได้ทํางาน หากมีลักษณะเช่นนี้หลอกลวงแน่นอน ด้วยความปรารถนาดีจากสํานักงานตํารวจแห่งชาติ และศูนย์ปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยีสารสนเทศ(PCT)

เรื่องที่3“อยากกู้เงินแบบง่ายๆกลับเสียเงินแบบง่ายๆเช่นกัน”คดีนี้คนร้ายสร้างเว็บไซต์บริษัทคันทรี่กร๊ปุโฮล ดิ้งส์ (CGH) ปลอม สําหรับหลอกกู้เงินออนไลน์ดอกเบี้ยต่ํา เมื่อเหยื่อกดเขาไปและกดเพิ่มเพื่อนไลน์คนร้ายคนที่ 1 ที่แปะมา กับเว็บไซต์ปลอม คนร้ายคนที่ 1 ให้ผู้เสียหายกรอกข้อมูลส่วนตัว เสร็จแล้วส่งลิงก์ไลน์ให้คุยกับคนร้ายคนที่ 2 คนร้ายคนที่ 2 ส่งสัญญาปลอมให้เหยื่อว่าได้สิทธิกู้เงิน แต่เนื่องจากเป็นลูกค้าใหม่ ต้องโอนเงินค้ําประกันก่อน เพื่อแสดงว่ามี ความสามารถผ่อนชําระได้ จากนั้นก็จะหลอกต่อว่าต้องจ่ายค่าเบี้ยประกัน ค่าธรรมเนียม หรือทําผิดขั้นตอนที่กําหนดต้องโอน เงินเพิ่มเพื่อแก้ไข ซึ่งจะได้คืนพร้อมเงินกู้ แต่คนร้ายก็จะหลอกให้จ่ายเงินไปเรื่อยๆ และหลอกให้เปิดเผยเลขบัญชีและโอน ชําระเงิน เป็นค่างวด พร้อมทั้งให้บันทึกหน้าจอการโอนเงินส่งให้ และได้ตั้งเงื่อนไขเข้มงวดไว้หลายข้อ จากนั้นจะหลอกให้ โอนเงินเพิ่ม อ้างว่าต้องโอนผ่านบัญชีที่ลงทะเบียนไว้ โอนเงินเกินเวลาที่กําหนด หรือทําธุรกรรมผิดพลาด หลังจากนั้นจึงอ้าง ว่าใส่เลขบัตรประชาชนผิดเป็นเหตุให้เลขบัญชีถูกอายัด แล้วส่งลิงก์ไลน์ให้ติดต่อถอนอายัดกับคนร้ายคนที่ 3 ที่อ้างเป็น พนักงานธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งคนร้ายคนที่ 3 นี้มีการข่มขู่เหยื่อด้วยกฎหมายและให้เหยื่อส่งรูปบัตรประชาชนให้ สุดท้ายหลอกให้เหยื่อโอนเงินเพิ่มอีก เมื่อรู้ตัวว่าโดนหลอกก็สูญเสียเงินไปจํานวนมากแล้ว
สํานักงานตํารวจแห่งชาติ มีความห่วงใยพี่น้องประชาชน จึงขอประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนที่เดินทางกลับไปเยี่ยม ญาติพี่น้องและผู้ใหญ่ที่บ้าน ช่วยกันเตือนให้เขาเหล่านั้นรู้เท่าทัน ไม่ตกเป็นเหยื่อของแก๊งคนร้ายในโลกออนไลน์
ด้วยความปรารถนาดีจากสํานักงานตํารวจแห่งชาติ และศูนย์ปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยีสารสนเทศ(PCT)

คดีแก๊ง Call Center หลอกว่าเป็นกรมที่ดิน
กลโกง จุดสังเกต วิธีป้องกัน
1. โทรหลอก ขู่ให้กลัว อย่างใดอย่าง หนึ่ง

  1. ให้แอดไลน์ เพื่อที่จะได้ส่งลิงค์ เว็บไซต์กรมที่ดินปลอม และหลอกให้ โหลดและติดตั้งแอปปลอม
  2. คนร้ายเข้าควบคุมเครื่องโทรศัพท์ ทันทีหลังจากที่ติดตั้งแอปปลอม
  3. คนร้ายออกอุบาย ให้ทําธุรกรรม บนแอปธนาคาร เพื่อหลอกดูรหัส โดย ระหว่างนี้ อาจมีการให้สแกนใบหน้า เพื่อยืนยันตัวตน ซึ่งใบหน้าก็จะเป็น ใบหน้าของเหยื่อเจ้าของบัญชี
  4. คนร้าย แอบเข้าแอปธนาคาร หรือ แอปบัตรเครดิต เพื่อโอนเงินเข้า กระเป๋าตัวเอง โดยอาศัยจังหวะเวลา ที่ระยะการยืนยันตัวตนยังไม่สิ้นสุด จุดสังเกตุของแท้กับของปลอม ของปลอม 1) กดเมนูทุกเมนูบนWebsite ไม่ได้ 2) มีภาพโฆษณา(Banner) เป็นตรา กรมที่ดิน และมีข้อความภาษาไทย ให้ดาวน์โหลดแอพพลิเคชั่นควบคุม เครื่องโทรศัพท์ ของแท้ 1) ที่Urlจะต้องเป็น https://www.dol.go.th 2) กดเมนูได้ทุกเมนู 3) ไม่มีเมนู ให้ดาวน์โหลดแอป
    1. ศึกษากลโกงของมิจฉาชีพจากแหล่ง ความรู้ต่างๆ เพื่อไม่ให้ตกเป็นเหยื่อ ของคนร้าย
  5. ไม่มีเจ้าหน้าที่รัฐ ส่งลิงค์ให้ ประชาชนดาวน์โหลดแอป
  6. แอปที่โหลดและติดตั้ง นอก google play store หรือ app store เป็นแอป ที่ไม่น่าเชื่อถือ
  7. สังเกตุ ลิงค์ หากเป็นหน่วยงานรัฐ มักจะลงท้ายด้วยนามสกุล .go.th
  8. คนร้าย มักจะให้แอดไลน์ เพื่อเพิ่ม ความน่าเชื่อถือด้วยการปลอมโปรไฟล์ และสะดวกต่อการส่งลิงก์ และยากต่อ การติดตามของ จนท.มากกว่า sms
  9. ไม่ควรผูกบัตร เครดิตไว้กับบัตร เดบิตหรือบัญชีของธนาคาร

คดีคนร้ายแอบอ้างเป็นเจ้าหน้าที่บริษัท Shoppee
กลโกง จุดสังเกต วิธีป้องกัน
1. คนร้ายแอบอ้างเป็นเจ้าหน้าที่ Shopee โฆษณารับสมัครงานใน Facebook หรือโทรศัพท์หาเหยื่อ

  1. เหยื่อสอบถามรายละเอียดคนร้าย จึงให้แอดไลน์แล้วดึงเข้ากลุ่มไลน์ ทํางานที่มีที่มีสมาชิกในกลุ่มจํานวน หนึ่งเพื่อสร้างความน่าเชื่อถือ โดยมี หน้าม้าพูดคุยว่าทําภารกิจโปรโมท สินค้าเสร็จสิ้นและได้รับเงินค่า คอมมิชชั่นจริง
  2. คนร้ายให้เหยื่อ ทําภารกิจโปรโมท สินค้าที่มีมูลค่าหลักร้อยเป็นภารกิจ แรก โดยคนร้ายส่งลิงก์ Shoppee ของจริงให้เหยื่อกดสั่งสินค้าใส่ตะกร้า จากนั้นให้บันทึกหน้าจอส่งให้คนร้าย ดูพร้อมโอนเงินตามมูลค่าสินค้านั้นๆ เข้าบัญชีคนร้าย
  3. คนร้ายโอนเงินค่าสินค้าพร้อมค่า คอมมิชชั่นกลับมาให้เหยื่อ
  4. คนร้ายให้เหยื่อทําภารกิจต่อไป โดยค่าสินค้าและค่าคอมมิชชั่นมากขึ้น 6. เมื่อสินค้ามีมูลค่าหลักหมื่น หรือ หลักแสน คนร้ายอ้างว่าเหยื่อทํา ผิดพลาดต้องโอนเงินเพิ่มเพื่อแก้ไข สุดท้ายจะไม่โอนเงินคืน 1.จุดสังเกตุของปลอมกับของจริง ของปลอม 1) บัญชีไลน์ เป็นบัญชีส่วนบุคคล แต่ ใช้ชื่อเหมือนกับบัญชีทางการ เพื่อให้ เหยื่อสับสนหรือหลงเชื่อ 2) มีเมนูให้กดโทร และสามารถโทร คุยผ่านไลน์ได้ 3) บัญชีธนาคารที่ใช้โอนเงินเป็นชื่อ บัญชีบุคคลธรรมดา ของจริง 1) บัญชีไลน์ของหน่วยงาน จะเป็น บัญชีทางการ 2) ไม่มีเมนูให้กดโทร และไม่สามารถ โทรคุยผ่านไลน์ได้ 3) บัญชีธนาคารที่ใช้โอนเงินเป็นชื่อ บัญชีบริษัท 2.คนร้ายใช้หน้าม้าในการพูดคุยว่าได้ ทําภารกิจแล้วได้รับเงินค่าคอมมิชชั่น จริง 3.มีการโอนเงินกลับให้เหยื่อในครั้ง แรกๆ เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือว่าได้รับ ค่าคอมมิชชั่นจริง
    1. ศึกษากลโกงของมิจฉาชีพจากแหล่ง ความรู้ต่างๆ เพื่อไม่ให้ตกเป็นเหยื่อ ของคนร้าย
  5. ตรวจเช็คกับทางบริษัททุกครั้งก่อน การเข้าร่วมกิจกรรมใดๆ
  6. การทํางานหรือทําภารกิจใดๆ ที่ ต้องมีการโอนเงินให้ก่อน ให้สงสัยไว้ ก่อนว่าเป็นกลโกงของมิจฉาชีพ
  7. หากมีการสั่งสินค้าควรระบุเก็บเงิน ปลายทาง

คดีแอบอ้างบริษัทคันทรี่กรุ๊ปโฮลดิ้งส์ (CGH) หลอกให้กู้เงิน
กลโกง จุดสังเกต วิธีป้องกัน
1. คนร้ายสร้างเว็บไซต์บริษัทคันทรี่ กรุ๊ปโฮลดิ้งส์ (CGH) ปลอม สําหรับ หลอกกู้เงินออนไลน์ดอกเบี้ยต่ํา

  1. เมื่อเหยื่อกดเข้าไปดูและกดเพิ่ม เพื่อนคนร้ายคนที่ 1 ที่แปะมากับ เว็บไซต์ปลอม คนร้ายคนที่ 1 ให้เหยื่อ กรอกข้อมูลส่วนตัว เสร็จแล้วส่งลิงก์ ไลน์ให้คุยกับคนร้ายคนที่ 2
  2. คนร้ายคนที่ 2 ส่งสัญญาปลอมให้ เหยื่อและหลอกให้เปิดเผยเลขบัญชี และโอนชําระเงิน เป็นค่างวด ค่า เบี้ยประกัน ค่าธรรมเนียม พร้อมทั้ง ให้บันทึกหน้าจอการโอนเงินส่ง และ ได้ตั้งเงื่อนไขเข้มงวดไว้หลายข้อ
  3. คนร้ายหลอกให้โอนเงินเพิ่ม อ้างว่า ต้องโอนผ่านบัญชีที่ลงทะเบียนไว้ โอน เงินเกินเวลาที่กําหนด หรือทําธุรกรรม ผิดพลาด หลังจากนั้นจึงอ้างว่าใส่เลข บัตรประชาชนผิดเป็นเหตุให้เลขบัญชี ถูกอายัด
  1. คนร้ายคนที่ 2 ส่งลิงกไ์ ลน์ให้ติดต่อ ถอนอายัดกับคนร้ายคนที่ 3 ที่อ้าง เป็นพนักงานธนาคารแห่งประเทศ ไทย
  2. คนร้ายคนที่ 3 นี้ข่มขู่เหยื่อด้วย กฎหมายและให้เหยื่อส่งรูปบัตร ประชาชนให้ สุดท้ายหลอกให้เหยื่อ โอนเพิ่มอีก เมื่อรู้ตัวว่าโดนหลอกก็ สูญเสียเงินไปจํานวนมากแล้ว 1.จุดสังเกตุของปลอมกับของจริง ของปลอม 1) ทําธุรกิจเกี่ยวกับการให้กู้เงิน 2) มีเมนูให้กดเพิ่มเพื่อนไลน์ และ กดหมายเลขโทรศัพท์ 3) แอบอ้างใช้รูปบุคคลที่หน้าตาดีมี ชื่อเสียงเป็นรูปโปรไฟล์ ของจริง 1) ชื่อเว็บไซต์ที่ถูกต้อง คือ cgholdings.co.th และมีหน้าจอเตือน ให้ระวังช่องทางการติดต่อปลอม 2) ทําธุรกิจเกี่ยวกับการลงทุน 3) ไม่มีช่องทางการติดต่อทางไลน์ มี แต่เมนูติดต่อทางอีเมล และหมายเลข โทรศัพท์ 2.คนร้ายจะอ้างเรื่องต่างๆ หลอกให้ โอนเงิน จากนั้นจะบอกว่าใส่เลขบัตร ประชาชนผิดเป็นเหตุให้บัญชีถูกอายัด 3.หลอกให้ถอนอายัดกับธนาคารแห่ง ประเทศไทย สุดท้ายกลับถูกหลอกให้ โอนเงินเพิ่ม
    1. ศึกษากลโกงของมิจฉาชีพจากแหล่ง ความรู้ต่างๆ เพื่อไม่ให้ตกเป็นเหยื่อ ของคนร้าย
  3. ควรกู้เงินจากแหล่งสถาบันที่ น่าเชื่อถือ มีความมั่นคง มีกฎหมาย คุ้มครองอย่างชัดเจน
  4. การกู้เงิน ที่ต้องมีการโอนเงินให้ ก่อน ให้สงสัยไว้ก่อนว่าเป็นกลโกง ของมิจฉาชีพ 4.พึงสังเกตหุน้าหลักในเว็บไซต์ปลอม คนร้ายจะสร้างให้คล้ายกับของจริง
RELATED ARTICLES
- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_img