หน้าแรกกระบวนการยุติธรรมตร.บูรณาการร่วม หน่วยงานภาครัฐ วางมาตรการ เอาผิดกลุ่มทุนนอมินี ต่างชาติ กลุ่มทุนยึดครองธุรกิจของคนไทย

ตร.บูรณาการร่วม หน่วยงานภาครัฐ วางมาตรการ เอาผิดกลุ่มทุนนอมินี ต่างชาติ กลุ่มทุนยึดครองธุรกิจของคนไทย

รวมทั้งมีการประกอบธุรกิจต่าง ๆ ที่อาจเป็นการละเมิดต่อกฎหมาย อาทิ การหลบเลี่ยงภาษี การฟอกเงิน การพนันออนไลน์

เมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2566 ที่ห้องประชุม 4 ชั้น 2 อาคาร 1 ตร. พล.ต.อ.ดำรงศักดิ์ กิตติประภัสส์ ผบ.ตร. มอบหมายให้ พล.ต.อ.รอย อิงคไพโรจน์ รอง ผบ.ตร. เป็นประธานในการประชุมกำหนดแนวทางการปัองกัน แก้ไข กลุ่มทุนต่างชาติมายึดครองธุรกิจของคนไทย โดยมีผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วย พล.ต.ต.ชูฉัตร ธารีฉัตร รอง ผบช.สตม., พล.ต.ต.วริศร์สิริภ์ ลีละศิริ ผบก.ตม.3, พล.ต.ต.เชิงรณ ริมผดี ผบก.ศท.ตม. พร้อมหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง นายชวดล นิปธานนท์ ผอ.กองตรวจลงตราฯ กรมการกงศุล, นายกำแหง กล้าสูคนธ์ รอง อธิบดีกรมะัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์, นายสันติ นันทสุวรรณ รองอธิบดีกรมการจัดหางาน, นางปาริชาติ หลักดี ผู้แทนกรมสรรพากร, นายนพดล อุเทน ผอ.กองข่าวกรองทางการเงิน ปปง., นายวรเศรษฐ์ สุรพนานนท์ชัย ผอ.ส่วนวิเคราะห์ข่าวกรองทางการเงิน และผู้เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุม

พล.ต.อ.รอย ได้กล่าวภายหลังประชุมว่า จากในสถาณะการณ์ปัจจุบันมีกลุ่มคนต่างชาติ ที่เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรไทย แล้วมีพฤติการณ์เป็นนายทุน,กลุ่มทุนยึดครองธุรกิจของคนไทย รวมทั้งมีการประกอบธุรกิจต่าง ๆ ที่อาจเป็นการละเมิดต่อกฎหมาย อาทิเช่น การหลบเลี่ยงภาษี การฟอกเงิน การพนันออนไลน์ เป็นต้น ส่งผลกระทบต่อความมั่นคงทางการเมืองเศรษฐกิจ และสังคมของประเทศไทย เป็นอย่างมาก เพื่อให้การกำหนดมาตรการการป้องกันและแก้ไขปัญหาดังกล่าว เป็นไปด้วยความรอบคอบถ้วนในทุกมิติ

ในวันนี้การประชุมได้”กำหนดมาตรการการป้องกันและแก้ไขปัญต่างชาติเข้ามายึดครองธุรกิจของคนไทย” โดยได้เชิญผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง หลักสำนักงานตำรวจตรวจคนเข้าเมืองเป็นหน่วยงานหลัก ที่ประชุมการกำหนดมาตรการการป้องกันและแก้ไขปัญหากลุ่มทุนต่างชาติเข้ามายึดครองธุรกิจของคนไทยมี ดังนี้ หน่วยงานที่เข้าประชุมได้ร่วมปฏิบัติชี้แจงประเด็นถึงขอบเขตอำนาจหน้าที่และขั้นตอนดำเนินการในกรณีที่คนต่างด้าวจะมาประกอบธุรกิจในประเทศไทย ให้ที่ประชุมทราบประกอบด้วย – กรมการกงสุล กระทรวงการต่างประเทศ- กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์- กรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน- กรมสรรพากร กระทรวงการคลัง – สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.)เพื่อพิจารณา สภาพปัญหากลุ่มทุนต่างชาติเข้ามายึดครองธุรกิจของคนไทยในปัจจุบัน ร่วมกันกำหนดมาตรการการป้องกันและแก้ไขปัญหาให้เป็นรูปธรรมเพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติร่วมกัน

ในที่ประชุมได้เห็นชอบ กำหนดมาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหากลุ่มทุนต่างชาติเข้ามายึดประกอบธุรกิจโดยผิดกฎหมายในประเทศไทยในระยะเร่งด่วน ระยะกลาง และมาตรการระยะยาว ดังนี้ 1.) มาตรการเร่งด่วน เริ่มตั้งแต่กระบวนการการคัดกรองบุคคลต่างชาติก่อนที่จะเริ่มต้นในการประกอบธุรกิจ 1.1) เริ่มตั้งแต่สถานกงสุลหรือสถานเอกอัครราชทูตไทยในต่างประเทศ ใช้มาตรการในการคัดกรองเบื้องต้นสำหรับคนต่างด้าวที่ยื่นขอวีซ่าเข้ามาประกอบธุรกิจในประเทศไทย, 1.2.) กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ กำหนดเงื่อนไขและคุณสมบัติพร้อมเอกสารประกอบที่น่าเชื่อถือให้ชัดเจนสำหรับคนต่างด้าวเข้ามายื่นขอจดทะเบียนการค้า การจัดตั้งนิติบุคคล บริษัท หรือกิจการอื่นในประเทศไทย ตรวจสอบผู้ถือหุ้นในบริษัทและคัดแยกกลุ่มเสี่ยง เช่น คนไทยถือหุ้นในหลายบริษัทของคนต่างด้าวในลักษณะถือแทน (นอมินี) ส่งข้อมูลให้ ตร.(ตำรวจท่องเที่ยว สตม. และตำรวจพื้นที่) และ ปปง.เพื่อ ดำเนินการตรวจสอบและบังคับใช้กฎหมายโดยทันที

1.3) กรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน ตรวจสอบเรื่องการอนุญาตการประกอบธุรกิจและการทำงานของคนต่างด้าว, 1.4) สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง ตรวจสอบเมื่อคนต่างด้าวเข้ามาในราชอาณาจักรด้วยวีซ่าอื่น และมีความประสงค์เปลี่ยนวีซ่าเป็นวีซ่าประเภททำงาน ตลอดจนตรวจสอบคนต่างด้าวที่ถือหนังสือเดินทางสองสัญชาติ โดยเฉพาะที่เป็นกลุ่มเป้าหมายสำคัญ

2.) มาตรการระยะกลาง กระบวนการตรวจสอบการประกอบธุรกิจ การดำเนินการของคนต่างด้าวในประเทศไทย เป็นการตรวจสอบความถูกต้องเรื่องของการดำเนินการให้เป็นไปตามหลักกฎหมาย ดำเนินการโดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง, 2.1) เจ้าหน้าที่ตำรวจพื้นที่ ตำรวจท่องเที่ยว สตม. บช.ก. โดยประสานการปฏิบัติและเป้าหมายในการดำเนินการกับกระทรวงพาณิชย์ กระทรวงแรงงานในพื้นที่รับผิดชอบ (กรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน, กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์), 2.2) ประสานส่วนราชการอื่นๆ เช่น กรมการท่องเที่ยว กรมการขนส่ง ตรวจสอบตามอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายที่ส่วนราชการรับผิดชอบ และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

3.) มาตรการระยะยาว 3.1) มาตรการการจัดเก็บภาษีจากการประกอบธุรกิจต้องถูกตรวจสอบได้ และจัดให้มีการจัดเก็บทุกประเภทภาษี โดยหน่วยงานจัดเก็บภาษีที่เกี่ยวข้องตรวจสอบและดำเนินการ, 3.2) การเชื่อมโยงฐานข้อมูลในระบบสรรพากร สตม. กรมพัฒนาธุรกิจการค้า ฯลฯ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการคัดกรองและตรวจสอบการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว

พล.ต.อ.รอยฯ กล่าวว่า “ตร. จะได้ตั้งชุดปฏิบัติการบูรณาการร่วมกับส่วนราชการที่เกี่ยวข้องเพื่อรองรับการปฏิบัติตามแผนมาตรการดังกล่าวข้างต้น โดยได้กำหนดเป้าหมายในการตรวจสอบและบังคับใช้กฎหมายโดยเร่งด่วน ในพื้นที่ กทม. ภาคเหนือและภาคใต้ จำนวนกว่า 100 เป้าหมาย ได้ร่วมกันประสานข้อมูลกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องลง เพื่อพื้นที่ตรวจสอบเบื้องต้นแล้ว หากพบมีข้อสงสัยหรือลักษณะที่อาจเข้าข่ายผิดกฎหมาย จะได้บูรณาการระหว่างหน่วยงานบังคับใช้กฎหมายทุกฉบับ หากประชาชนมีข้อมูล เบาะแส เรื่องร้องเรียน ขอให้แจ้งสำนักงานตำรวจแห่งชาติทางหมายเลขโทรศัพท์ 191 หรือ 1599 หรือในระบบร้องเรียน JCOMS”

RELATED ARTICLES
- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_img