เมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2565 เวลา 14.00 น. ผู้สื่อข่าวไทยแทบลอยด์รายงานว่า องค์คณะวินิจฉัยอุทธรณ์ ได้อ่านคำพิพากษาชั้นวินิจฉัยอุทธรณ์ คดีโครงการบ้านเอื้ออาทร ที่โจทก์และนายวัฒนา เมืองสุข จำเลยที่ 1 อุทธรณ์ ตามคดีหมายเลขดำที่ อม.อ5. 1/2564 และ อม.อ5. 1/2565 ระหว่าง อัยการ สูงสุด โจทก์ นายวัฒนา เมืองสุข จำเลยที่ 1 กับพวกรวม 14 คนองค์คณะวินิจฉัยอุทธรณ์พิจารณาแล้ว ประเด็นเรื่องอำนาจฟ้องนั้น เห็นว่า คณะกรรมการ คตส. แต่งตั้งนาย ก. เป็นประธานอนุกรรมการตรวจสอบโครงการบ้านเอื้ออาทรระยะที่ 4 ตั้งแต่วันที่ 25 ตุลาคม 2549 นาย ก. จึงมีอำนาจรวบรวมพยานหลักฐานตั้งแต่วันดังกล่าวเป็นต้นไป รวมถึงอำนาจในการสอบปากคำพยานบางปากตามอุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 ด้วย การไต่สวนพยานของนาย ก.จึงเป็นการไต่สวนที่ชอบด้วยกฎหมายแล้ว และปรากฎข้อเท็จจริงว่าก่อนมีการฟ้องคดีคณะกรรมการ ป.ป.ช. และอัยการสูงสุดได้แต่งตั้งผู้แทนเป็นคณะทำงาน เพื่อพิจารณาข้อไม่สมบูรณ์โดยมีการประชุมเพื่อพิจารณาร่วมกัน
ซึ่งการประชุมครั้งสุดท้ายคณะทำงานผู้แทนฝ่ายคณะกรรมการ ป.ป.ช. และคณะผู้แทนฝ่ายอัยการสูงสุดพิจารณาพยานหลักฐานที่ไม่สมบูรณ์จนไม่มีข้อโต้แย้งกัน และได้ข้อยุติทุกข้อแล้วก่อนมีการส่งสำนวนให้อัยการสูงสุดฟ้องเป็นคดีนี้ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องประเด็นเรื่องการเป็นเจ้าพนักงานตามฟ้องของจำเลยที่ 1 นั้น เห็นว่า ขณะเกิดเหตุ จำเลยที่ 1 เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ประกอบกับพระราชบัญญัติการเคหะแห่งชาติ พ.ศ. 2537มาตรา 5 บัญญัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ และมาตรา 28 ยังบัญญัติด้วยว่า ให้รัฐมนตรีมีอำนาจหน้าที่กำกับโดยทั่วไป ซึ่งกิจการของ กคช.
จำเลยที่ 1 จึงเป็นบุคคลที่ได้รับแต่งตั้งตามกฎหมายให้ปฏิบัติหน้าที่ราชการ และเป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา มีอำนาจหน้าที่กำกับโดยทั่วไป จำเลยที่ 1 ย่อมมีอำนาจหน้าที่ในการออกนโยบาย กำหนดแนวทางในการจัดซื้อจัดจ้าง หลักเกณฑ์และวิธีการปฏิบัติในการยื่นข้อเสนอเพื่อจัดทำโครงการ รวมทั้งการกำหนดแนวทางในการยกเลิกประกาศการเคทะแห่งชาติฉบับเดิมและออกประกาศการเคหะแห่งชาติฉบับใหม่ หรือสั่งให้การเคหะแห่งชาติปฏิบัติหรือไม่ปฏิบัติ ซึ่งกิจการของการเคหะแห่งชาติ จำเลยที่ 1 จึงเป็นเจ้าพนักงานตามฟ้อง หากข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 ใช้อำนาโดยมิชอบดังกล่าว การกระทำของจำเลยที่ 1 ย่อมครบองค์ประกอบความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 148 (เดิม) แล้วประเด็นจำเลยที่ 1 กระทำความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานใช้อำนาจในตำแหน่งโดยมิชอบ ข่มขืนใจ หรือจูงใจเพื่อให้บุคคลใดมอบให้หรือหามาให้ซึ่งทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดแก่ตนเองหรือผู้อื่นหรือไม่ นั้น เห็นว่า ขณะที่มีการไต่สวนโครงการบ้านเอื้ออาทร ระยะที่ พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 ยังไม่มีบทบัญญัติการกันบุคคลหรือผู้ถูกกล่าวหาไว้เป็นพยานโดยไม่ดำเนินคดี จึงเป็นอำนาจของ คตส. ที่จะกันบุคคลหรือผู้ถูกกล่าวหาเป็นพยานได้ เมื่อการสอบถ้อยคำพยานเป็นประโยชน์ต่อการไต่สวน
เมื่อมิได้มีการจูงใจให้พยานต้องให้การผิดไปจากมูลความจริง และไม่ปรากฎข้อเท็จจริงว่าคณะอนุกรรมการได่สวนได้กำหนดเนื้อหาที่พยานต้องให้การไว้เป็นการล่วงหน้า หรือมีการชี้นำพยานว่าต้องให้การยืนยันไปในทางใด โดยพยานมีอิสระที่จะให้การไปตามความรู้เห็นของตน จึงมิได้เป็นพยานชนิดที่เกิดขึ้นจากการจูงใจหรือมีคำมั่นสัญญาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 226 และรับฟังเป็นพยานหลักฐานเพื่อพิสูจน์ความจริงได้ ขณะจำเลยที่ 1 ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรี มีการจัดทำหนังสือนำส่งเอกสารประกอบการประชุมคณะกรรมการการเคทะแห่งชาติโดยระบุชื่อ จำเลยที่ 4 ในฐานะที่ปรึกษาจำเลยที่ 1 หลายครั้ง จำเลยที่ 5 อ้างว่าจำเลยที่ 4 เป็นทีมงานที่ปรึกษาของจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 3 แจ้งนางอาภรณ์พนักงานการเคทะแห่งซึ่งเป็นทีมเลขานุการของผู้ว่าการเคหะแห่งชาติว่า จำเลยที่ 4 เป็นที่ปรึกษาของจำเลยที่ 1
พฤติการณ์เชื่อได้ว่า จำเลยที่ 4 เป็นที่ปรึกษาของจำเลยที่ 1 อย่างไม่เป็นทางการ จำเลยที่ 1 เข้าร่วมประชุมมอบนโนบายให้ปรับปรุงหลักเกณฑ์พิจารณาโครงการบ้านเอื้ออาทรใหม่ และจำเลยที่ 1 มีส่วนเกี่ยวข้องกับการอนุมัติให้ผู้ประกอบการดำเนินโครงการบ้านเอื้ออาทร แม้ผู้ประกอบการบางรายได้รับอนุมัติหน่วยก่อสร้างไปแล้ว แต่จำเลยที่ 1 เปลี่ยนหลักเกณฑ์โครงการบ้านเอื้ออาทร โดยผู้ประกอบการต้องวางหลักประกันมูลค่าร้อยละ 5 และได้รับเงินล่วงหน้าจากการเคหะแห่งชาติซึ่งจำเลยที่ 1 เป็นผู้สั่งการเกี่ยวกับการจ่ายเงินล่วงหน้าให้กับผู้ประกอบการ เมื่อจำเลยที่ 1 ให้จำเลยที่ 1 แสดงออกว่าเป็นที่ปรึกษาอย่างไม่เป็นทางการ ประกอบกับมีการเรียกเงินจำนวนมากจากผู้ประกอบการหลายรายเกี่ยวพันกับโครงการบ้านเอื้ออาทรซึ่งอยู่ในการกำกับดูแลของจำเลยที่ 1 แล้วลำพังจำเลยที่ 4 ย่อมไม่มีอำนาจหน้าที่ดำเนินการเองได้ การกระทำของจำเลยที่ 3 กับพวกจึงมีลักษณะเป็นขบวนการ
เชื่อว่าจำเลยที่ 1 รู้เห็นถึงการกระทำของจำเลยที่ 4 ด้วย ฟังได้ว่า จำเลยที่ ร่วมข่มขืนใจหรือจูงใจแก่ผู้ประกอบการให้นำเงินมอบให้เพื่อตอบแทนที่การเคหะแห่งชาติอนุมัติให้เข้าทำสัญญาตามฟ้อง การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงเป็นความผิดตามคำพิพากษาของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองประเด็นการริบทรัพย์สินนั้น เห็นว่า เมื่อเงินที่จำเลยที่ 3 กับพวกได้มาเป็นทรัพย์สินที่ได้มาโดยการกระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 148 ซึ่งขณะนั้นพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง พ.ศ. 2560มาตรา 42 และ 43 ยังไม่มีผลใช้บังคับ และพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 ไม่มีบทบัญญัติเกี่ยวกับการริบทรัพย์สิน จึงต้องนำประมวลกฎหมายอาญาใช้บังคับแทน แม้โจทก์ไม่ได้อ้างประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33(2) แต่เมื่อโจทก์มีคำขอให้ริบเงินแล้ว ศาลจึงมีอำนาจริบเงินได้ ทั้งต้องปรับบทกฎหมายให้ถูกต้องและเป็นเหตุอยู่ในส่วนลักษณะคดี อันมีผลถึงจำเลยอื่นที่ไม่ได้อุทธรณ์ด้วย
สำหรับพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง พ.ศ. 2560 มาตรา 44 เป็นมาตรการเพื่อการบังคับให้ได้มาซึ่งสิ่งที่ศาลสั่งริบ จึงนำมาใช้บังคับให้จำเลยที่1 ส่งเงินที่ริบโดยชำระเป็นเงินแทนตามมูลค่าของเงินที่ศาลสั่งริบพร้อมด้วยดอกเบี้ยได้ประเด็นการริบเงิน 89 ล้านบาท ตามอุทธรณ์โจทก์นั้น เห็นว่า การจ่ายเงินจำนวน 89,000,000.บาท ให้จำเลยที่ 7 เป็นการจ่ายเงินเพื่อตอบแทนข้อตกลงในการผลักดันโครงการบ้านเอื้ออาทรของบริษัท ช. โครงการอื่นนอกจากโครงการบ้านเอื้ออาทร ส. เงินจำนวน 89,000,000 บาท
จึงเป็นเงินที่สัมพันธ์กับเงินสินบนที่ใช้ในการอำนวยความสะดวกให้กับโครงการบ้านเอื้ออาทรอื่นของบริษัท ช. เงินดังกล่าวจึงเป็นเงินที่ได้มาจากการกระทำความผิดที่ศาสมีอำนาจริบได้พิพากษาแก้เป็นว่า ไม่ปรับบทตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง พ.ศ. 256 มาตรา 42, 43 แต่ให้ปรับบทตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 30 (2 ) ริบเงิน 89,000,000 บาท ด้วย
โดยให้จำเลยผู้มีหน้าที่ต้องส่งเงิน 89,000,000 บาท ที่ริบชำระเป็นเงินแทนตามมูลค่าของเงินที่ศาลสั่งริบภายในกำหนด 90 วัน นับแต่วันอ่านคำพิพากษานี้ หากจำเลยที่ 1 ที่ 4 ถึงที่ 8 และที่ 1ไม่ชำระเงินภายในระยะเวลากำหนด ต้องชำระดอกเบี้ยอัตราร้อยละ7.5 ต่อปี ของต้นเงินแต่ละจำนวนนับแต่วันที่ 24 กันยายน 2563 เป็นต้นไปจนถึงวันที่ 10เมษายน 2564 และอัตราร้อยละ 5 ต่อปี นับแต่วันที่ 11 เมษายน 2564 เป็นต้นไปกว่าจะชำระเสร็จ แต่อัตราดอกเบี้ยนับแต่วันที่ 11 เมษายน 2564 หากกระทรวงการคลังออกพระราชกฤษฎีกาปรับเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ยให้ปรับเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ยไปตามนั้น ทั้งนี้ต้องไม่เกินอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ตามที่โจทก์ขอ โดยให้จำเลยที่ 1 และที่ 4 ถึงที่8 ร่วมกันชำระเงินแทนตามมูลค่าเพิ่มขึ้นอีกคนละ 89,000,000 บาท จากคำพิพากษาศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองกำหนดไว้ นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง