หน้าแรกกระบวนการยุติธรรม“บิ๊กปั๊ด”สั่งชุดสืบสวน ศปอส.ตร.บุกรวบตัวโจรไซเบอร์หลอกโอนเงิน พบก่อเหตุ 7 สน.รวด เร่งขยายผล

“บิ๊กปั๊ด”สั่งชุดสืบสวน ศปอส.ตร.บุกรวบตัวโจรไซเบอร์หลอกโอนเงิน พบก่อเหตุ 7 สน.รวด เร่งขยายผล

เมื่อวันที่ 25 พ.ย.2563 เวลา 20 .00 น. ที่ ศูนย์ปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยีสารสนเทศสำนักงานตำรวจแห่งชาติ(ศปอส.ตร.) ผู้สื่อข่าวรายงานว่าจากกรณีที่ น.ส.ณัฐชมนต์ ธิติมงคลไพศาล เดินทางมาแจ้งความร้องทุกข์ต่อ พนักงานสอบ ศปอส.ตร. เมื่อวันที่ 24 ก.ย. 63 ชุดรับแจ้งและสอบสวนชุดที 1 พนักงานสอบสวนได้ทํา การรวบรวมพยานหลักฐานที่เกี่ยวข้องในคดี สอบสวนปากคําผู้เสียหาย และประสานชุดสืบสวน ฝศปอส.ตร.ส่งมอบคดีต่อไปยังท้องที่เกิดเหตุสน.ตลิ่งชันตามหนังสือ ศปอส.ตร.ที่ 0066/2034 ลงวันที่ 24 ก.ย.2573 นั้น โดยเหตุจากที่ผู้เสียหายได้แจ้งประกาศขายกระเป๋าสินค้า ยี่ห้อ หลุยส์วิคตอง มือสอง ผ่าน เฟสบุ๊คชื่อว่า Meem Nutchamon ในราคา 68,000 บาท ต่อมามีบุคคลทักผู้แจ้งเข้ามาผ่านระบบข้อความในแอพลิ เคชั่นไลน์ โดยบุคคลดังกล่าวใช้บัญชีชื่อว่า F (รูปภาพโปรไฟล์เป็นรูปปลาวาฬ) ทักหาผู้แจ้ง โดยแจ้งว่า เห็น โพสขายกระเป๋า และเกิดความสนใจแต่เนื่องจากกระเป๋ามีราคาสูง จึงเกรงว่าตนจะถูกหลอกจึง อยากให้มีการซื้อขายผ่านนายหน้า หรือคนกลางซึ่งนายคนหน้าดังกล่าวนั้น จะเป็นแอดมินหรือผู้ดูแล เพจ โดยบุคคลดังกล่าวที่เป็นนายหน้าใช้เฟสบุ๊กใช้ชื่อว่า Jean Hudesk จากนั้นบุคคลดังกล่าวใช้เฟสบุ๊ก ใช้ชื่อว่า Jean Hudesk ได้ทักผู้แจ้งผ่านระบบข้อความเฟสบุ๊ค โดยแจ้งว่าตนเป็นคนกลาง หรือนาย หน้าที่รับซื้อผ่านสินค้าระหว่างผู้ซื้อ และผู้ขายผ่านระบบโซเชี่ยล โดยบุคคลที่ใช้เฟสบุ๊กชื่อว่า Jean Hudesk ได้แจ้งวิธีการขายสินค้าคือ ให้มีการมัดจําเงินค่าสินค้าก่อนในราคา 40% ของสินค้าที่จะมี การขาย เพื่อป้องกันว่าเมื่อผู้แจ้งได้รับเงินแล้วจะไม่ส่งสินค้า โดยบุคคลดังกล่าวได้ใช้กลอุบายต่างๆ พูดจาโน้มน้าวจนผู้แจ้งหลงเชื่อ จึงยินยอมที่จะมีการจ่ายค่ามัดจําสินค้า 40% ในราคา 27,200 บาท จากนั้นผู้แจ้ง จึงทําการโอนเงินผ่านช่องทางแอพลเิ คชั่นในโทรศัพท์มือถอื ดด้วยการสั่งการการ กดเงินโดยไม่ใช้บัตร ATM จากบัญชีธนาคารไทยพาณิชย์ เลขบัญชี1562957626 ชื่อบัญชี น.ส. ณัฐชมนต์ ธิติมงคลไพศาล โดยเมื่อคนร้ายจะทําการกดเงิน ผู้แจ้งได้มีการส่งรหัสผ่านระบบข้อความ เฟสบุ๊ค และมีการดําเนินการทางธุรกรรมการกดเงินสดผ่านตู้ ATM โดยระบบได้มีการแจ้งข้าฯผ่าน ข้อความโทรศัพท์มือถือว่ามีการถอนเงินจํานวนยอด 27,200 บาท เมื่อวันที่ 18 กันยายน 2563 เวลา 12.50 น. และผู้แจ้ง ทราบภายหลังว่าคนร้ายมีการถอนเงินผ่าน ตู้ ATM เลขที่ 7184 ซ.จรัญ สนิทวงศ์48 จากนั้นคนร้ายก็เงียบหายไปนั้น

ซึ่งต่อมา พล.ต.อ.สุวัฒน์ แจ้งยอดสุข รอง ผบ.ตร. ผู้อำนวยการศูนย์ปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยีสารสนเทศสำนักงานตำรวจแห่งชาติ(ศปอส.ตร.)ได้สั่งการให้ชุดสืบสวน ศปอส.ตร.เร่งสืบสวนสอบสวน ติดตามตัวคนร้ายให้ได้โดยเร็ว ซึ่งจากการสอบสวนสืบสวน จนทราบว่า คนร้ายในคดีนี้คือ นายนิติภูมิ ป้องกัน ซึ่ง ได้ก่อเหตุในลักษณะเดียวกันนี้ ในท้องที่ สน.พญาไท โดยพนักงานสอบสวน สน.พญาไท ได้มีการรับคํา ร้องทุกข์ และมีการอออกหมายจับ ซึ่งปัจจุบันฝ่ายสืบสวนของ ศปอส.ตร. แจ้งว่าได้รับข้อมูลจาก ผู้เสียหายในคดีว่าผู้ต้องหา มีพฤติการณ์ในการปลอมเป็นแอดมินเพจ และหลอกผู้เสียหายอื่นๆ ใน ลักษณะเดียวกันนี้ อีกหลายท้องที่ ซึ่งผู้เสียหายบางรายเคยเห็นหน้าคนร้าย และมีการดูภาพถ่าย ภายหลัง โดยผู้เสียหายหลายคนเห็นภาพใบหน้า และมีการยืนยันว่าเป็นคนร้าย ซึ่งชุดสืบสวน ศปอส.ตร.ได้มการสืบสวนและประสานกับพนักงานสอบสวน สน.ตลิ่งชันเพื่อเร่งรัดในการดําเนินคดี

ล่าสุด พล.ต.อ.สุวัฒน์ เปิดเผยว่าเจ้าหน้าที่ชุด สืบสวน ศปอส.ตร.ได้จับกุมตัวผู้ต้องหา นายนิตินัย ป้องกัน อายุ 19 ปีตามหมายจับ ของศาลแขวงดุสิตที่ จ.247/2563 ลงวันที่ 18 กันยายน 2563 ตามความผิดฐาน ฉ้อโกง ที่ใต้ตึก 3 พิบูลย์คอนโดทาวน์ ถนนประชาราษฎร์สายหนึ่ง ซอย 36 แขวงบางซื่อเขตบางซื่อ กรุงเทพมหานคร นำตัวส่งพ.ต.ท. บารมี วงษ์อินตา พนักงานสอบสวน สน. พญาไท ข้อหาคดีฉ้อโกง

โดย นายนิตินัย ผู้ต้องหา ได้ สารภาพว่า ได้อ่านข่าวพบว่ามีผู้เสียหายหลายรายถูกหลอกจากการซื้อสินค้าออนไลน์ ต่อมามีปัญหาด้านการเงิน จึงได้ลองทำการหลอกลวงผู้เสียหายรายอื่นบ้างโดยได้เข้าไปอยู่ในกลุ่ม Facebook ที่มีการขายสินค้ากระเป๋าแบรนด์เนม หรือนาฬิการาคาแพงต่างๆ เมื่อพบเป้าหมายประกาศขายสินค้า ก็จะ Inbox ติดต่อซื้อสินค้าจากผู้ขายนั้น เมื่อตกลงซื้อขายแล้ว ได้ใช้อุบาย อ้างว่าเพื่อความปลอดภัยของทั้งผู้ซื้อและผู้ขาย ให้ทำการซื้อขายผ่านแอดมินของกลุ่ม Facebook นี้ หากผู้ขายตกลง ก็จะให้ QR Code แจ้งว่าเป็น Line ของแอดมินกลุ่มผู้ขายสินค้า ก็จะ Add Line ไปตาม QR Code นั้น โดยคิดว่าเป็นแอดมินของกลุ่ม ในส่วนของผู้ต้องหา QR Code ที่ให้ไปนั้น เป็นของผู้ต้องหาเอง ก็จะปลอมตัวเป็นเป็นแอดมินกลุ่มดังกล่าว
เมื่อเจรจากับผู้ขายสินค้านั้น ก็จะอ้างว่าเพื่อความมั่นใจ ว่าผู้ขายจะส่งสินค้าให้ผู้ซื้อแน่นอน ไม่ขายให้รายอื่น ขอให้ผู้ขายวางเงินมัดจำ ไว้ที่แอดมินกลุ่ม ในอัตรา 40 % ของราคาสินค้า โดยเมื่อผู้ขายหลงเชื่อ ได้โอนเงินดังกล่าวไปยังบัญชีที่ผู้ต้องหาให้ไว้ ผู้ต้องหาก็จะลบบัญชี Facebook Line หลบหนีไป

ในคดีนี้ มีผู้เสียหาย แจ้งความดำเนินคดีแล้ว 7 สน. พงส.รับคำร้องทุกข์ไว้ในคดีความผิด “ฉ้อโกง” ตาม ป.อาญา ม.341 แต่จากพฤติการณ์การกระทำผิด นั้น เป็นการกระทำความผิดฐาน ฉ้อโกงโดยแสดงตนเป็นบุคคลอื่น ตาม ป.อาญา ม.342(1) ซึ่งเป็นบทหนัก จะได้ประสาน พงส. ผู้รับผิดชอบเพื่อสืบสวนขยายผลผู้ที่เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิด มานำเนินคดีตามกฏหมายต่อไป

RELATED ARTICLES
- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_img