ทั้งนี้ รฟท.จะพยายามเร่งรัดผู้รับเหมาก่อสร้างให้เร็วที่สุดนั้น คือ เป้าหมายสำคัญ โดยคาดว่าการก่อสร้างงานโยธาจะแล้วเสร็จตามแผนงานและเปิดบริการได้ในปี 2565 ซึ่งถือเป็นจุดเปลี่ยนหนึ่งของ รฟท.ที่การเดินทางด้วยรถไฟเร็วขึ้น จากกรุงเทพไปหัวหินใช้ระยะเวลาเพียง 2.30 ชม.
สำหรับการก่อสร้างรถไฟทางคู่ นครปฐม-ชุมพร ระยะทาง 421 กม. วงเงินก่อสร้างจำนวน 33,982 ล้านบาท แบ่งการก่อสร้างออกเป็น 5 สัญญา โดยแต่ละสัญญามีความคืบล่าสุด ประกอบด้วย
สัญญา 1 นครปฐม-หนองปลาไหล แผนงานสะสม 70.176% ผลงานสะสม 69.257%ช้ากว่าแผน -0.919%
สัญญา 2 หนองปลาไหล-หัวหิน แผนงานสะสม 70.248% ผลงานสะสม 72.652% เร็วกว่าแผน +2.404%
สัญญา 3 หัวหิน-ประจวบฯ แผนงานสะสม 74.750% ผลงานสะสม 74.500% ช้ากว่าแผน -0.250%
สัญญา 4 ประจวบฯ-บางสะพานน้อย แผนงานสะสม 96.754% ผลงานสะสม 66.623% เร็วกว่าแผน -30.131 %
และสัญญา 5 บางสะพานน้อย-ชุมพร แผนงานสะสม 75.259% ผลงานสะสม 56.451% ช้ากว่าแผน -18.808%
รวมทั้ง 5 สัญญา แผนงานสะสม 77 437% ผลงานสะสม 67.967% ช้ากว่าแผน -9.541%