โดยการยางแห่งประเทศไทย (กยท.) ได้กำหนดแนวทาง ปฏิรูปยางพาราชุดแรกเพื่อตอบโจทย์ยุคนิวนอร์มอลจากผลกระทบของโควิด-19 ซึ่งคาดว่าจะสามารถเพิ่มรายได้ชาวสวนยางและสถาบันยางพร้อมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ
ทั้งนี้สำหรับ มาตรการ ที่วางไว้ มี 6 แนวทางประกอบด้วย
1.มาตรการตลาดและราคา (Market & Price) ให้เร่งศึกษาหาข้อสรุปการจัดตั้งตลาดซื้อขายล่วงหน้าส่งมอบจริง) ของยางพาราที่เรียกว่า “ตลาดไทยคอม” (ThaiCom)
2.มาตรการการบริหารด้านอุปทาน (Supply Side Management) กำหนดให้ลดพื้นที่สวนยาง 2 ล้านไร่โดยลดพื้นที่สวนยางปีละ 2 แสนไร่ เป็นเวลา 10 ปีเพื่อลดปริมาณการผลิตโดยขอการสนับสนุนไร่ละ 10,000 บาทจากรัฐบาล
3.มาตรการการบริหารด้านอุปสงค์ (Demand Side Management) เร่งขยายตลาดในจีนโดยให้ขยายการค้ายางพาราให้ครอบคลุมในทุกมณฑลของประเทศจีน เพื่อเพิ่มช่องทางการขายยางพาราต่อยอดจากในอดีตที่การค้ายางกระจุกตัวอยู่ในบางมณฑล
4. มาตรการส่งเสริมการแปรรูปสร้างมูลค่าเพิ่ม เร่งส่งเสริมการลงทุนโรงงานผลิตถุงมือยางรวมทั้งผลิตภัณฑ์อื่นๆ ตอบโจทย์ความต้องการใหม่ในยุคนิวนอร์มอล (New Normal) จากผลกระทบของโควิด 19 โดยเร่งเดินหน้าส่งเสริมการลงทุนในรับเบอร์ซิตี้ (Rubber City) และพื้นที่ใกล้แหล่งผลิตยางพารา
5. มาตรการลดสต็อกยางพารา ให้ กยท. เสนอแนวทางการบริหารจัดการสต็อกยางพาราที่คงค้างกว่า 1 แสนตัน โดยให้เสนอต่อคณะกรรมการในการประชุมครั้งต่อไป วันที่ 9 กรกฎาคม และ 6. มาตรการเพิ่มรายได้