ปปง.ดึงเกม ยึดทรัพย์ ”นายพลคนดัง“เปิดช่องถ่ายเทเงินหนี ชำแหละไทม์ไลน์ดึงเกม ”คนใน ปปง.“ส่อรู้เห็นเป็นใจ

3817

เปิดอุปสรรคเส้นทาง ปปง. อายัดทรัพย์ พัวพันเว็บพนัน เลื่อนเเล้วเลื่อนอีก วิจารณ์หึ่ง เส้นสายภายในเยอะ ประวิงคดี

เมื่อค่ำที่ผ่านมา “เสือซ่อนเล็บ“ ได้นั่งดู TV Nation นำเสนอเปิดข้อมูล จากกรณีหลังมีการจับกุมผู้ต้องหาคดีเว็บพนันที่พัวพันกับนายตำรวจใหญ่ ในชุดแรก สน.ท้องที่ รายงานรายละเอียดเกี่ยวกับคดีไปยัง ปปง. เพื่อตรวจสอบเส้นทางการเงินเพิ่มเติม โดน ปปง.มีการตั้งชุดสืบ นำไปสู่การอายัดทรัพย์ผู้ต้องหาได้นับร้อยๆ รายการ ตามคำสั่งอาขัดที่ ย. 2/2567 และ ย.80/2567 การอายัดทรัพย์ในชุดแรก ผู้ต้องหาไม่สามารถชี้แจงที่มาได้ ทำให้ ปปง.ได้เสนออัยการ ศาล และ ปัจจุบันศาลแพ่ง ประทับรับฟ้องตามคดีดีดำที่ 51/2567

รายงานข่าวระบุว่า จากนั้น ปปง. ทยอยพบเส้นทางการเงินที่เกี่ยวกับข้องกับบัญชีทรัพย์ที่ถูกอายัดในรอบแรก จะทยอยออกคำสั่งอาอัดเพิ่มอีก 4 ราย จนกระทั่งเจ้าหน้าที่สืบสวน ปปง.มาพบว่ามีเส้นเงินจากบัญชีม้าของผู้ต้องหาคดีฟอกเงินพนันออนไลน์ “มินนี่” เจ้าแม่เว็บพนันอายุน้อยร้อยเว็บ ที่ถูกอายัดไปในรอบแรกนั้น มีเงินจากบัญชีน้ำดังกล่าวโอนมาชำระเบี้ยประกันชีวิตในกรมธรรรม์ ชื่อ  “ตำรวจคนดัง” และ ภรรยา

ข้อมูลทางการสืบสวนยังพบว่า คนดำเนินการใช้บัญชีม้าโอนมาให้ ก็คือ ”รอง ค.“ พ่อบ้านคนสนิท ซึ่งตกเป็นผู้ต้องหาฟอกเงิน แต่ละครั้งหลังการโอน “รอง ค.” ต้องส่งสลิปการโอนรายงานกลับไป ยัง “ตำรวจคนดัง” ให้ทราบด้วย ยิ่งทำให้เห็นว่า “ตำรวจ” คนดังกล่าวรู้มาตลอดว่า เงินที่โอนจ่ายเบี้ยประกัน เป็นเงินโอนจากบัญชีม้า (ซึ่งบัญชีม้าต้นทางนี้ ปปง.มีคำสั่งอายัด ไปแล้วก่อนหน้า)

รายงานข่าวยังระบุว่า จากข้อมูลที่ได้มา ต้นเดือน เม.ย.2567 เจ้าหน้าที่สืบสวนจะได้ประมวลรายงานผลสรุป  มีความเห็นควรอายัดทรัพย์กรมธรรม์ของ “บิ๊กตำรวจคนดัง” และภรรยา โดยเสนอ เลขาธิการ ปปง.เพื่อให้เร่งกำหนดเป็นวาระนำเข้าที่ประชุมคณะกรรมการธุรกรรม

แต่มีข้อสังเกตุว่า เลขาธิการ ปปง.เเทนที่จะเร่งดำเนินการในเรื่องนี้ กลับแจ้งให้นำกลับไป ค่อยมาเสนอปลายเดือน เม.ย. 2567 จึงเชื่อว่าข้อมูลการอายัดทรัพย์ต้องมีคนใน ปปง.คอยส่งข่าวให้ “บิ๊กตำรวจคนดัง”

ในวันที่ 23 เม.ย. 2567 “บิ๊กตำรวจคนดัง” มีหนังสือถึงเลขาธิการ ปปง. ขอความเป็นธรรม โดยยกเหตุหลายประการ พร้อมแจ้งว่า หาก ปปง.จะยึดทรัพย์ ต้องมาสอบถามก่อน และบอกว่า เป็นข้าราชการตำรวจชั้นผู้ใหญ่ ไม่มีพฤติการณ์จะหลบหนี หรือยักย้ายถ่ายถ่ายเททรัพย์สิน และขอโอกาสชี้เเจง

หลังจากผ่านไปวันเดียวคือ  24 เม.ย. มีการโยกย้ายถ่ายเททรัพย์สิน โดย “ตำรวจ” และ ภรรยา ได้รีบไปขอเวนคืนกรมธรรม์ทุกฉบับจากบริษัทประกัน (ปิดเพื่อนำเงินออกมา) บริษัทประกันภัย จึงโอนเงินเวนคืนให้ “ตำรวจใหญ่” และ ภรรยา โดยโอนเข้าบัญชีวิธีธนาคารส่วนตัว ร่วม 10 ล้านบาท ซึ่งการเวนคืนกรมธรรม์ ไม่พ้นสายตาของเจ้าหน้าที่สืบสวนใน ปปง. แต่ทำอะไรได้ไม่มาก เพราะทางผู้บริหารบอกให้เสนอเรื่องปลายเดือนเมษายน

และเมื่อถึงปลายเดือนเมษาขน 2567 เจ้าหน้าที่สืบสวน ปปง.สรุปเรื่องขออายัดทรัพย์ “ตำรวจคนดัง” เสนอ
ต่อ เลขาธิการปปง. เพื่อ ให้กำหนดเป็นวาระเข้าที่ประชุมคณะกรรมการธุรกรรม

ครั้งนี้ เลขาธิการ ปปง.อนุมัติให้กำหนดเป็นวาระนำเข้าที่ประชุมคณะกรรมการธุรกรรม ในต้นเดือน พ.ค. 2567 ( การประชุมครั้งที่ 5)

การประชุมครั้งที่ 5 เจ้าหน้าที่สืบสวนก็ได้รายงานความผิดปกติของทรัพย์ที่จะอายัดต่อคณะกรรมการธุรกรรม แต่มีข้อสังเกตุว่า แทนที่จะดำเนินการตามแบบแผนที่ทำมา กลับให้ความสำคัญหนังสือร้องขอความเป็นธรรมของ “บิ๊กตำรวจคนดัง”  คณะกรรมการธุรกรรมจึงมีมติที่ผิดเเปลกคือ ให้เจ้าหน้าที่สืบสวนไปตรวจสอบเพิ่มเติม ทำให้เรื่องที่จะอายัดทรัพย์ถูกดึงเวลาออกไปอีก

ซึ่งความจริงเเล้ว เลขาธิการ ปปง. สามารถใช้อำนาจตามมาตรา 48 วรรคสอง ของพระราชบัญญัติป้องกันและปรายปรามการฟอกงเงินอายัดทรัพย์ดังกล่าวไว้ก่อนได้เลย เพราะ กรณีนี้ “ตำรวจ” มีสถานะตกเป็นผู้ต้องหาคดีฟอกเงิน ทั้งยังมีพยานหลักฐานเส้นทางโอนเงินชัดเจน ถือเป็นหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ เพียงพอที่จะรับฟังได้อยู่แล้ว หาก “ตำรวจคนดัง” มีข้อโต้เเย้ง ก็สามารถนำพยานหลักฐานมาชี้แจงได้ แต่ต้องอายัดทรัพย์ไว้ก่อน มิฉะนั้นหากมีการโยกย้ายถ่ายเทในช่วงดึงเรื่อง ต่อไป ปปง. จะไม่มีทรัพย์ให้ยืด จะทำให้เกิดความเสียหาย เหมือนที่เคยทำกรณีอื่นๆ

หลังจากได้รับเรื่องคืนมา เจ้าหน้าที่สืบสวน ปปง. ได้เร่งรัดดำเนินการตรวจสอบเพิ่มเติมช่วงกลางเดือน พ.ค. 2567 เจ้าหน้าที่สืบสวน ปปง. สรุปรายงานมีความเห็นอายัดทรัพย์เช่นเดิม เสนอต่อเลขาธิการ ปปง.เพื่อขอให้เลขา ฯ กำหนดเป็นวาระ นำเข้าที่ประชุมคณะกรรมการธุรกรรม ซึ่งจะต้องประชุมในวันที่ 11 มิ.ย. 2567

ต่อมาวันที่ 27 พฤษภาคม 2567 พบการโยกย้ายถ่ายเททรัพย์สินเป็นเงินที่ได้เวนคืนจากกรมธรรม์ประกันภัย ที่บริษัทโอนเข้าบัญชี “ตำรวจคนดัง” และ ภรรยา มีการโอนต่อไปยัง “บัญชีใหม่” ที่ทั้งคู่เปิดขึ้นใหม่

ขณะเดียวกัน ในห้วงปลายเดือน พ.ค. 2567 เลขาธิการ ปปง.มีบันทึกตอบกลับถึงเจ้าหน้าที่สืบสวน ปปง.ว่า เรื่องที่เสนออายัดทรัพย์ “ตำรวจคนดัง” เพื่อจะให้กำหนดนำเข้าเป็นวาระ ในการประชุมคณะกรรมการธุรกรรม ครั้งที่ 7 ในวันที่ 11 มิ.ย. 2567 นั้น ให้ทางเจ้าหน้าที่นำรายงานการประชุมครั้งที่ 5 ที่รับรองแล้ว แนบประกอบด้วย

ซึ่งในข้อเท็จจริงการรับรองรายงานการประชุมครั้งที่ 5 มติรับรองจะเกิดขึ้นต่อเมื่อมีการประชุมครั้งถัดไป ซึ่งการประชุมครั้งที่ 6 ก็เป็นเรื่องการประชุมวาระพิเศษ ไม่มีการรับรองการประชุมที่ผ่านมา มติรับรองการประชุมครั้งที่ 5 จะรับรองได้ก็ต่อเมื่อมีการประชุมครั้งถัดไปคือ ประชุม วันที่ 11 มิ.ย. (ประชุมครั้งที่ 7) ส่งผลทำให้เรื่องการอายัดทรัพย์ “ตำรวจคนดัง” ถูกดึงออกไปอีกปลายเดือน มิ.ย. 2567

ต่อมาเจ้าหน้าที่สืบสวน ปปง. ได้รายงานการประชุมครั้งที่ 5 ที่ผ่านการรับรอง ประกอบรายงานการอายัดทรัพย์สินของ ”ตำรวจนดัง“ และภรรยา ก็เร่งประมวลเรื่องมีความเห็นเสนออายัดทรัพย์ไปยัง เลขาธิการ ปปง. เพื่อกำหนดเข้าวาระการประชุมครั้งที่ 9ในวันที่ 9 ก.ค. 2567 ครั้งนี้ เลขาธิการ ปปง. อนุมัติกำหนดวาระ นำเข้าที่ประชุมคณะกรรมการธุรกรรม

เเต่เหมือนมีคนรู้มาก่อนพอในวันที่ 8 ก.ค. 2567 ”ตำรวจคนดัว“ ทำหนังสือร้องขอความเป็นธรรม ถึงเลขาธิการ ปปง.เรื่อง ”โปรดรับพยานหลักฐานไว้ประกอบการพิจารณา“ อ้างว่าหากมีการอายัดทรัพย์สินจะทำให้ตนเสียหาย ไม่ได้รับการเสนอชื่อให้เลื่อนตำแหน่ง อ้างว่าเงินที่จ่ายประกันชีวิต ตนเองให้ เงินสด กับ ”รอง ค.“ ไม่ทราบว่าทำไมการจ่ายจึงไปเกี่ยวกับเว็บพนันฯ สำนักงาน ปปง.รับเรื่องเมื่อ 8  ก.ค.2567 เวลา 11.21 เลขรับ 20828 เลขาธิการ ปปง. รับไว้ในวันเดียวกัน

ทำให้วันที่ 9 ก.ค. 2567 ที่คณะกรรมการธุรกรรม ปปง.ประชุมครั้งที่ 9 สอบถามว่า จะลงมติกันหรือไม่ ก็มีคนหนึ่งในคณะกรรมการฯ ที่สนิทกับ ”ตำรวจคนดัง“  อ้างว่า ควรให้ความเป็นธรรม เพราะมีหนังสือขอความเป็นธรรมมา

ท้ายสุดที่ประชุมก็มีมติให้เจ้าหน้าที่สืบสวนเพิ่มเติมเพื่อให้ความเป็นธรรม โดยให้ ”ตำรวจ“ ยื่นเอกสารเพิ่มเติม ภายใน 15 วัน

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า กรณีดังกล่าวทำให้เกิดการวิพากษ์วิจารณ์ในสำนักงาน ปปง.ว่า จากเดิม ปปง.เคยเป็นหนึ่งในหน่วยงานที่ประชาชนมีความคาดหวังว่าทำงานตรงไปตรงมา แต่ในรอบปีที่ผ่านมามีเรื่องถูกวิจารณ์ไม่น้อยไปกว่าคณะกรรมการ ปปง.โดยเฉพาะเรื่องที่เกี่ยวกับ ”ตำรวจคนดัง“ มีพฤติการณ์ในลักษณะเลือกปฏิบัติ เตะถ่วง ดึงเรื่องเพื่อคนบางคนหรือไม่ เรื่องนี้ ปปง.ต้องมีคำตอบให้สังคมได้ทราบ  ว่าข้อมูลนี้จริงเท็จแค่ไหนขืนปล่อยให้นิ่งเงียบ วิกฤตศรัทธาก็จะเกิดขึีนกับองกรค์ ปปง. เลือกจะนิ่งเงียบ หรือจะชี้แจ้งเรื่องนี้อย่างไร รอดูกันต่อไป