‘วิษณุ’ แถลงผลสอบศึกสายเลือดสีกากีให้คืนเก้าอี้ ‘ผบ.ต่อศักดิ์ รองฯโจ๊ก’ มีลุ้นผบ.ตร.คนต่อไป
วันนี้ (20 มิถุนายน) ที่ทำเนียบรัฐบาล วิษณุ เครืองาม ที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรี แถลงผลสอบคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จ และข้อกฏหมาย กรณีปรากฏเป็นข่าวต่อสาธารณะ เกี่ยวกับความขัดแย้งในเรื่องคดีของบุคลากรภายในสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ถึงกรณีของ พล.ต.อ.ต่อศักดิ์ สุขวิมล ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ และ พ.ต.อ.สุรเชษฐ์ หักพาล
วิษณุ ระบุว่า มีการรายงานผลให้นายกรัฐมนตรีทราบเมื่อ 2-3 วันก่อน ซึ่งคณะกรรมการสอบสวนชุดดังกล่าวถือว่าเสร็จสิ้นภารกิจแล้วเป็นที่เรียบร้อยแล้ว แต่ยังมีเรื่องอื่นที่ต้องทำต่อไปในอนาคตอีกหลายเรื่อง โดยสรุปได้ความว่า วันที่ 20 มีนาคมที่ผ่านมา ครบ 4 เดือนพอดี ทั้งความขัดแย้งอย่างรุนแรงภายในสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ซึ่งเป็นหน่วยงานใหญ่ในกระบวนการยุติธรรม ทำให้ประชาชน เกิดความไม่มั่นใจ ไม่แน่ใจ หรือไม่พอใจ ต่อสถานการณ์ที่เกิดขึ้น
นายกรัฐมนตรี จึงได้มีคำสั่งตั้งคณะกรรมการชุดหนึ่ง เรียกว่าคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงและข้อกฎหมาย ข้อพิพาทที่เกิดขึ้นเพื่อประมวลเรื่องราวว่ามีความเป็นมาอย่างไร เพื่อแก้ไขความเป็นไปในอนาคตได้
ซึ่งคณะกรรมการชุดดังกล่าวได้มีการตั้งอนุกรรมการขึ้นมาหลายชุดเพื่อมาช่วยเนื่องจากได้มีการสอบพยานไปกว่า 50 คน ในจำนวนนั้นได้สอบสวนคู่กรณี ทั้ง พล.ต.อ.ต่อศักดิ์ และ พล.ต.อ.สุรเชษฐ์ ซึ่งสรุปได้ความว่า ผลการตรวจสอบพบว่ามีความขัดแย้งและความไม่เรียบร้อยเกิดขึ้นในสำนักงานตำรวจแห่งชาติจริง มีความขัดแย้งในระหว่างเจ้าหน้าที่ตำรวจระดับสูงระดับกลาง ระดับเล็ก หรือทุกระดับและทุกฝ่าย ไม่ว่ามันจะเกิดขึ้นเพราะเหตุเดียวกันหรือคนละเหตุแล้วบังเอิญมาประจวบกันด้วยกันก็ตาม จนกระทั่งเกิดเป็นคดีความแตกต่างฟ้องร้องกันอยู่ภายนอก ยังนร้องเรียนกันอยู่ในสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
นอกจากนี้เรื่องราวที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่ เกี่ยวพันกับบุคคล 2 ท่านคือพล.ต.อ.ต่อศักดิ์และพล.ต.อ.สุรเชษฐ์ ซึ่งแต่ละท่านก็มีทีมงานของตัวอยู่ใต้บังคับบัญชา จึงพลอยเกิดความขัดแย้งไปด้วย โดยเฉพาะคดีที่เกี่ยวข้องสำคัญที่เกี่ยวข้องกับการบุคคล อาทิ คดี 140 ล้าน เป้รักผู้การเท่าไหร่ ,คดีที่ 2 คือคดีกำนันนก ,คดีที่ 3 คือคดีมินนี่เว็บพนันออนไลน์ ,คดีที่ 4 คือเรื่องพนันออนไลน์ BNK และยังมีคดีย่อยแยกออกไปอีกประมาณ 10 คดี ซึ่งแยกย้ายกระจายกันอยู่ตามสถานีตำรวจต่างๆและอยู่ในชั้นศาลแล้วก็มีโดยเฉพาะศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ ทั้งในภาค 7 และส่วนกลาง ความขัดแย้งบางเรื่องเป็นเรื่องพึ่งเกิดบางเรื่องเกิดขึ้นมากกว่า 10 ปีแล้ว จึงทำให้เกิดคดีเหล่านี้ขึ้นมา
ข้อที่ 3 คดีความที่เกี่ยวข้องกับ 2 นายพลจากนี้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องรับผิดชอบไป มีบางเรื่องส่งให้กับหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรม คือ ตำรวจ อัยการ ศาล ว่าไปตามปกติ
ข้อที่ 4 บางเรื่องเกี่ยวพันกับหน่วยงานนอกกระบวนการยุติธรรม คือองค์กรอิสระ ได้แก่ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.)รับไปดำเนินการซึ่งเวลานี้คดีทั้งหมดมีเจ้าของคดีรับดำเนินการอยู่แล้วทั้งสิ้น ไม่มีคดีตกค้างที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติอีก เมื่อเป็นเช่นนั้นก็นำมาสู่ผลสรุปรายงาน
ในข้อที่ 5 กรณี พล.ต.อ.สุรเชษฐ์ ได้รับคำสั่งให้กลับไปปฏิบัติราชการที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติตั้งแต่เมื่อวันที่ 18 เมษายน 2567 แต่เพียงผู้เดียวให้อยู่ในตำแหน่งและหน้าที่เดิม แต่ในวันเดียวกันนั้นเองก็มีการตั้งคณะกรรมการขึ้นอีก 1 ชุดเพื่อสอบสวนทางวินัยและตามมาด้วยคำสั่งอีกฉบับ ให้พล.ต.อ.สุรเชษฐ์ ออกจากราชการไว้ก่อน
วิษณุ กล่าวว่า พล.ต.อ.ต่อศักดิ์สมควรที่จะส่งกลับไปปฏิบัติราชการในตำแหน่งหน้าที่เดิม เพราะวันนี้ไม่มีอะไรจะสอบสวนแล้ว การที่นำตัวมาที่ทำเนียบ เพื่อที่จะได้มีการสอบสวน แต่เมื่อการสอบข้อเท็จจริง สอบสวนเสร็จสิ้นแล้ว หรือกระบวนการที่ยังอยู่ในการพิจารณาของป.ป.ช. ซึ่งไม่มีเหตุให้อยู่ที่ทำเนียบรัฐบาล จึงให้กลับไปทำงานที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติตามเดิม ส่วนคดีให้เป็นไปตามสายงานของคดี
ผลสรุปของกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงฯ ไม่ได้เป็นการชี้ว่าใครผิดใครถูก แต่ได้รายงานให้นายกรัฐมนตรีทราบว่าพบเห็นความยุ่งยากสับสน ระหว่างอำนาจสอบสวนของหลายหน่วยงาน ซึ่งความจริงควรจะพบเห็นเรื่องนี้มานาน แต่มีคดีใหญ่หลายคดี ประเดประดังเข้ามา และหลายคดีไม่รู้อำนาจอยู่ในมือของตำรวจ หรือ ป.ป.ช. หรือ ปปง. หรือ กรมสอบสวนคดีพิเศษ (DSI) หรือ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (ปปท.) ทำให้คดีทุจริตมีเจ้าภาพหลายรายเกินไป
คณะกรรมการจึงเสนอแนะว่า ให้กระทรวงยุติธรรมและสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ตรวจสอบให้ชัดเจน โดยมอบให้คณะกรรมการประสานงานกระบวนการยุติธรรม ว่า หากเหตุเกิดขึ้นอีกอำนาจการสอบสวนอยู่ที่ใคร เมื่อไปถึงขั้นตอนของศาลอาจยกฟ้องได้ จึงต้องสอบสวนให้ชัดว่าใครมีอำนาจกันแน่ และเพื่อเป็นคู่มือให้พนักงานสอบสวนได้เก็บไว้ ซึ่งถือเป็นบทเรียน ว่าต่อไปจะเกิดขึ้นอีก และต้องป้องกันไม่ให้เกิดขึ้น ซึ่งเมื่อนายกรัฐมนตรีรับทราบก็มีบัญชาการให้ตน ให้มาชี้แจงและแจ้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
วิษณุ ระบุว่า สถานภาพของพล.ต.อ.สุรเชษฐ์ ที่มีคำสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อน ขณะนี้ยังอยู่ระหว่างรอการนำความกราบบังคมทูลฯให้ออกจากราชการไว้ก่อน จำเป็นอย่างยิ่งที่สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีจะต้องมีการตรวจสอบว่าทำถูกต้องตามระเบียบขั้นตอนตามกฎหมายหรือไม่ ขณะเดียวกันพล.ต.อ.สุรเชษฐ์ได้นำเรื่องไปฟ้องต่อคณะกรรมการพิทักษ์คุณธรรมของตำรวจ ซึ่งอยู่ระหว่างการพิจารณาอยู่แล้ว
เมื่อถามว่าการได้กลับไปปฏิบัติราชการ ในสำนักงานตำรวจแห่งชาติของทั้งสองคน จะเป็นการให้คำมั่นกับประชาชนได้หรือไม่จะว่าจะไม่เกิดความขัดแย้งขึ้นอีก วิษณุ ระบุว่า กรณีพล.ต.อ.สุรเชษฐ์ ไม่ใช่การส่งกลับไป เพราะส่งไปตั้งแต่วันที่ 18 เมษายนแล้ว ส่วนกรณีของพล.ต.อ.ต่อศักดิ์ ส่งกลับไปได้ แต่จะกลับวันนี้หรือพรุ่งนี้แล้วแต่คำสั่งของนายกรัฐมนตรี
ส่วนที่มีความสับสนวุ่นวายขัดแย้งจนไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้นั้น วิษณุ กล่าวว่า ตอนที่เอาตัวออกมาทั้งสองคนไม่ได้เอาออกมาเพื่อที่จะแก้ไข แต่เอาออกมาเพื่อจะตรวจสอบสอบวินัย สารพัดจะสอบ ซึ่งก็จะนำมาสู่การแก้ไขต่อไป ในอนาคต โดยนายกรัฐมนตรีขอให้ทั้งสองฝ่ายปรองดองกันในงานราชการ แต่ส่วนตัวใครทำอะไรผิดก็ดำเนินการไปตามกฎหมายเพราะมีอำนาจอยู่แล้วแต่การทำงานเพื่อบังเกิดประโยชน์กับประชาชน ไม่ให้ประชาชนมีรู้สึกเสื่อมศรัทธา ต่อเสียงและเสียงภาพลักษณ์ที่ดีจะต้องร่วมมือกันแก้ไขทั้งสำนักงาน รวมไปถึงตำรวจนอกจาก 2 ท่านนี้ด้วย
ซึ่งเชื่อว่าสถานการณ์คงจะเบาบางลง เพราะในระหว่างเวลาที่ผ่านไป 4 เดือน ทั้งสองฝ่ายก็ได้พบปะพูดจากอะไรกันบ้างพอสมควร และคณะกรรมการก็เข้าไปไกล่เกลี่ยบางเรื่องให้ แต่ไม่ใช่ไปซูเอี๋ย หรือมวยล้มต้มคนดูอะไรเพราะคดีทั้งหมดมีปักหลังอยู่ทั้งหมดทุกคน ก็ว่ากันไป แต่ระหว่างนี้ให้กลับไปทำงาน เพราะสำนักงานตำรวจแห่งชาติจะทำงานแบบไม่มีหัวไม่ได้ ขณะนี้พล.ต.อ.กิตติ์รัฐ พันธุ์เพ็ชร รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ รักษาราชการแทนผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ทำหน้าที่เกินกำลัง
ส่วนที่ผ่านมาพล.ต.อ.วินัย ทองสอง มีการแถลงข่าวว่าพล.ต.อ.สุรเชษฐ์ มีความผิดจริง วิษณุ ยอมรับว่ามีการพูดทั้งหมด สำนักงานตำรวจแห่งชาติจะตัดสินใจชะตากรรมของผู้ใต้บังคับบัญชาว่าจะให้ทำอย่างไรต่อไป
ส่วนการส่งตัวพล.ต.อ.ต่อศักดิ์ กลับสำนักงานตำรวจแห่งชาติ จะเป็นการล้างมลทินหรือไม่ วิษณุ ยืนยันว่าไม่ล้มล้าง ความผิดยังคงเดินหน้าต่อซึ่งคดีอยู่ที่ป.ป.ช. ผลสอบครั้งนี้ยืนยันว่าไม่มีผลผูกพันไปยังหน่วยงานอื่น แต่เป็นการแจ้งให้ทราบให้ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการตรวจสอบ
ส่วนเสียงครหาว่าเป็นการฟอกขาวหรือไม่ วิษณุระบุว่า ไม่มีอะไรเป็นการฟอกขาว แต่ขอให้ท่านกลับไปทำหน้าที่ของท่านในส่วนนี้อย่าวอกแวก ส่วนคดีในป.ป.ช.ก็ขอให้ไปสู้กันเอง
วิษณุ เน้นย้ำว่า ตำรวจจำเป็นต้องทำความเข้าใจกฎหมายของตำรวจเองให้ดีเสียก่อน ก่อนที่จะออกคำสั่งอะไร
ส่วนเหตุผลที่ให้วิษณุเป็นผู้แถลงนั้น นายกรัฐมนตรีระบุว่าเรื่องนี้หากให้โฆษกรัฐบาลแถลงจะเกิดความสลับซับซ้อนและที่สำคัญตนเป็นคณะกรรมการกฤษฎีกาชุดที่ 2 ที่วินิจฉัยว่าการสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อนไม่ได้ถูกต้อง เนื่องจากไม่ได้ทำตามกระบวนการ และยกจึงให้ตนมาชี้แจง
ส่วนการส่งกลับเช่นนี้จะทำให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติเรียบร้อยหรือไม่ วิษณุระบุว่า คงไม่สงบเรียบร้อย 100% เรียบแต่ไม่ร้อย แต่คงจะสงบจบลงได้ และมีความปรองดองในส่วนงานราชการ
ส่วนกรณี พล.ต.อ.สุรเชษฐ์ หากพิจารณาเสร็จแล้ว จะสามารถมาลุ้นตำแหน่งผบ. ตร.ได้เหมือนเดิมหรือไม่ วิษณุระบุว่า มี
#Thaitabloid#สำนักข่าวไทยแทบลอยด์