“ผบ.ตร.”เตรียมหารือหน่วยงานยุติธรรม ลดอายุอาชญากรรมเด็กจาก 15 ปีเป็น 12 ปี เนื่องจากปัจจุบันผู้ก่อเหตุรุนแรงอายุน้อยลงเรื่อยๆ

20366

เมื่อวันที่ 2 ม.ค. สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตร.) พล.ต.อ.ต่อศักดิ์ สุขวิมล ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผบ.ตร.) กล่าวถึงกรณีที่เด็กอายุ 14 กราดยิงที่สยามพารากอน เมื่อวันที่ 3 ต.ค.2566 ว่า พนักงานสอบสวนได้ส่งสำนวนสั่งฟ้องไปยังพนักงานอัยการแล้ว แต่ในขณะนี้เด็กยังอยู่ในสภาพที่ยังไม่พร้อมต่อการสู้คดี จึงจำเป็นต้องงดการสอบสวนไปก่อน ในขณะนี้ตัวของเด็กอยู่ที่สถาบันกัลยาณ์ราชนครินทร์เพื่อรับการบำบัด ถ้าทีมแพทย์มีความเห็นว่าเด็กมีความพร้อมแล้ว ก็จะมีการส่งพนักงานสอบสวนร่วมกับสหวิชาชีพ ทนาย และผู้ปกครอง ร่วมกันสอบปากคำ

ผบ.ตร. กล่าวว่า พนักงานสอบสวนไม่ได้ล่าช้าในการรวมพยานหลักฐานและการสอบปากคำ ซึ่งตามขั้นตอนต้องมีการสอบร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหลายฝ่าย ทางตำรวจได้ทำตามขั้นตอนทุกอย่าง ส่วนกฎหมายที่มีการระบุให้พนักงานสอบสวนและศาลสามารถใช้ดุลพินิจในการดำเนินคดีกับเด็ก เรื่องดังกล่าวยืนยันว่าพนักงานสอบสวนได้ใช้ดุลยพินิจในการพิจารณา มีการแจ้งข้อกล่าวหาตามข้อเท้จจริงไปแล้ว ถือว่าเป็นการใช้ดุลยพินิจแล้ว
ส่วนกรณีที่ญาติของผู้เสียชีวิตกลัวว่าจะไม่ได้รับความเป็นธรรมนั้น พล.ต.อ.ต่อศักดิ์ กล่าวว่า พนักงานสอบสวนได้พูดคุยกับญาติผู้เสียชีวิตและอธิบายขั้นตอนเป็นที่เรียบร้อยแล้ว และยังได้พูดคุยกับญาติของผู้ก่อเหตุมีความเห็นตรงกันว่าอยากให้สถาบันสถาบันกัลยาณ์ราชนครินทร์เป็นผู้ดูแลต่อไป


สำหรับที่หลายฝ่ายมองว่ากฎหมายที่ใช้กับเด็กที่ก่อเหตุความรุนแรงมีอัตราโทษเบา และเกรงว่าผู้เสียหายจะไม่ได้รับความเป็นธรรมนั้น ผบ.ตร. กล่าวว่า ตำรวจได้หารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้มีการหยิบยกแบบอย่างของต่างประเทศมาศึกษาเพื่อปรับลดอายุของผู้กระทำผิดให้ต่ำลง จากอายุ 15 ปี เหลือ 12 ปี เรื่องนี้จะมีการหารืออย่างจริงจัง เพราะปัจจุบันการก่อเหตุอาชญากรรมในเด็กมีความรุนแรงมากขึ้น มีการเลียนแบบโซเชียลมากขึ้น และผู้ก่อเหตุก็มีอายุที่น้อยลงเรื่อยๆ

สำหรับคดีดังกล่าว จากกรณีที่นายประยุทธ เพชรคุณ โฆษกสำนักงานอัยการสูงสุด ได้แถลงถึงคดี’เด็ก 14′ กราดยิงพารากอน ต้องปล่อยตัวจากสถานพินิจฯ แต่แพทย์ยังมีอำนาจคุมตัวต่อตาม พ.ร.บ.สุขภาพจิต ชี้การดำเนินคดีต้องรอแพทย์รักษาจนหายเท่านั้น
1 ม.ค. 2567 ต่อมา นางศจีมาศ บัวรอด อัยการพิเศษฝ่ายคดีเยาวชนและครอบครัว 3 ในฐานะหัวหน้าพนักงานอัยการผู้รับผิดชอบคดีและคณะทำงานอัยการได้ตรวจสำนวนคดีเต็กชาย 14 ปี กราดยิงในห้างดังแล้วปรากฎรายงานการประเมินผลวินิจฉัยและตรวจรักษาในสำนวนการสอบสวนของคณะแพทย์ซึ่งเป็นคณะกรรมการตรวจรักษาเด็กชาย พ. ยังมีอาการป่วยและยังเป็นคนไข้ในของสถาบันกัลยาราชนครินทร์ ซึ่งต่อมาพนักงานอัยการได้ส่งคืนสำนวนกลับไปให้พนักงานสอบสวน เพราะการสอบสวนในขณะที่เด็กชาย พ. ขณะยังป่วยอยู่ จึงเป็นการสอบสวนที่ฝ่าฝืนประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ป.วิ.
อาญา) มาตรา 14 ถือเป็นการสอบสวนที่ไม่ชอบ

เมื่อพนักงานอัยการคืนสำนวนกลับไปยังพนักงานสอบสวน ทางพนักงานสอบสวนจะต้องงดการสอบสวน ไม่สามารถสอบสวนหรือรวบรวมพยานหลักฐานได้จนกว่าผู้ต้องหาที่เป็นเด็กหายป่วยและต่อสู้คดีได้ เพราะต้องทำตามกฎหมาย ป.วิ.อาญา มาตรา 14 ซึ่งระบุไว้ชัดเจนว่าพนักงานสอบสวนจะต้องงดการสอบสวนไว้ก่อน จนกว่าที่ผู้ต้องหาจะหายจากอาการป่วย และต่อสู้คดีได้ โดยจะต้องรอการประเมินการตรวจรักษาของแพทย์เท่านั้น ดังนั้นในวันที่ 31 ธ.ค.เมื่อครบกำหนดผัดฟ้องครั้งที่ ครั้งสุดท้าย ก็ต้องปล่อยตัวเด็กจากการควบคุมของสถานพินิจฯ


ซึ่งขณะนี้ตัวเด็กม้พ้นจากอำนาจคุมตัวเนื่องจากครบกำหนดผัดฟ้อง แต่ตัวเด็กจะยังไม่ได้ปล่อยตัว เพราะแพทย์จะสามารถใช้อำนาจตามพระราชบัญญัติ (พ.ร..) สุขภาพจิตปี 51 คณะแพทย์และกลุ่มสหวิชาชีพจากสถาบันกัลยาราชนครินทร์สามารถประสานผู้ปกครองเด็กเพื่อรับตัวไปบำบัดรักษา หรือแพทย์อาจบังคับใช้กฎหมาย ตาม พ.ร.บ.สุขภาพจิต พ.ศ. 2551 มาตรา 22และ 36 ได้ โดยสามารถรับผู้ต้องหาไปรักษาตัวต่อได้

#Thaitabloid #สำนักข่าวไทยแทบลอยด์