สำนักงานอัยการสูงสุดเผยอัยการคดีเยาวชนตีกลับสำนวน”เยาวชนกราดยิงพารากอน”
เมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 2566 ทีมโฆษก กองบัญชาการตำรวจนครบาล ได้แถลงว่า สำนักงานอัยการสูงสุดเผยอัยการคดีเยาวชนตีกลับสำนวน”เยาวชนกราดยิงพารากอน”จากกรณีที่รองโฆษกอัยการสูงสุด เปิดเผยว่า สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีเยาวชนและครอบครัว 3 ได้คืนสำนวนการสอบสวน คดีกราดยิงพารากอน เมื่อวันที่ 3 ต.ค. 2566 ที่ผ่านมา เนื่องจาก เด็กชาย พ. ซึ่งเป็นเด็ก อายุไม่เกิน 15 ปี ตกเป็นผู้ต้องหา พนักงานสอบสวนได้มีการส่งตัวผู้ต้องหาซึ่งเป็นเด็กไปยังสถาบันกัลยาณ์ราชนครินทร์ เพื่อทำการตรวจและบำบัดรักษา ซึ่งจากการตรวจสำนวนการสอบสวนปรากฏข้อเท็จจริงว่า พนักงานสอบสวนได้ดำเนินการแจ้งข้อกล่าวหาและสอบสวนคำให้การของผู้ต้องหาซึ่งเป็นเด็ก โดยไม่ได้รอผลการ
วินิจฉัยจากแพทย์ เป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมาย
บช.น.ขอเรียนว่า หลังเกิดเหตุ บก.น. 6 ได้มีคำสั่งที่ 562/2566 ลงวันที่ 3 ต.ค. 2566 และคำสั่งที่591/2566 ลงวันที่ 31 ต.ค. 2566 แต่งตั้งคณะพนักงานสืบสวนสอบสวน เพื่อทำการสอบสวนคดีดังกล่าว ซึ่งพนักงานสอบสวนได้ทำการสอบสวนรวบรวมพยานหลักฐานมาตลอด โดยระหว่างที่สอบสวนผู้ต้องหาถูกส่งตัวไป รักษาอาการป่วยที่สถาบันกัลปัยาณ์ราชนครินทร์ ซึ่งก่อนการแจ้งข้อกล่าวหาและสอบปากคำผู้ต้องหานั้น
พนักงานสอบสวนได้มีหนังสือสถานีตำรวจนครบาลปทุมวัน ที่ ตช.0015(บก.น.6)5/3032 ลงวันที่ 19 ต.ค. 2566ไปยังสถาบันกัลยาณ์ราชนครินทร์ และในวันที่ 27 ต.ค. 2566 พนักงานสอบสวนได้รับหนังสือแจ้งจากสถาบันกัลยาณ์ราชนครินทร์ ว่าแพทย์เจ้าของไข้อนุญาตให้พนักงานสอบสวนเข้าทำการสอบสวนผู้ต้องหาได้ ต่อมาพนักงานสอบสวนจึงได้เดินทางไปสอบสวนและแจ้งข้อกล่าวหาผู้ต้องหาพร้อมด้วยทีมสหวิชาชีพ ได้แก่ อัยการนักจิตวิทยา บิดาผู้ต้องหา ที่ปรึกษากฎหมาย ภายหลังวันที่ 7 ธ.ค. 2566 พนักงานสอบสวนได้รับหนังสือจากสถาบันกัลยาณ์ราชนครินทร์ ลงวันที่ 21 พ.ย. 2566 มีหนังสือแจ้งความเห็นว่า ผู้ต้องหายังไม่สามารถต่อสู้คดีได้แต่เนื่องจากพนักงานสอบสวนได้ทำการสอบสวนรวบรวมพยานหลักฐานครบถ้วนแล้ว และเห็นว่าผู้ต้องหาสามารถให้การได้ตามปกติ จึงได้สรุปสำนวนการสอบสวนมีความเห็นควรสั่งฟ้องผู้ต้องหาตามข้อหาดังกล่าวทุก
ข้อหา และส่งสำนวนการสอบสวนให้พนักงานอัยการ อัยการพิเศษฝ่ายคดีเยาวชนและครอบครัว 3 เมื่อวันที่
21 ธ.ค. 2566
ทั้งนี้ หลังพนักงานอัยการได้ส่งสำนวนการสอบสวนคืนให้พนักงานสอบสวน พนักงานสอบสวนจะได้ประสานกับแพทย์สถาบันกัลยาณ์ราชนครินทร์ เพื่อติดตามอาการของผู้ต้องหา หากแพทย์มีความเห็นว่าผู้ต้องหาสามารถให้การต่อสู้คดีได้แล้ว พนักงานสอบสวนจะได้ดำเนินการสอบสวนผู้ต้องหาและส่งสำนวนการสอบสวนให้พนักงานอัยการตามคำสั่งดังกล่าวต่อไป