อ่านสนุกแบบมีทั้งศรัทธาและพาณิชย์ไปกับ คอลัมน์พระบ้าน by ต้นคนชอบพระ
คราวที่แล้วเราได้กล่าวถึงมังกร หนึ่งในตัวแทนปีนักกษัตร อันเป็นสัตว์ในตำนานที่ทุกคนรู้จักกันดี ด้วยรูปร่างหน้าตาที่โดดเด่นเป็นเอกลักษณ์ดูมีพลังน่าเกรงขาม ทำให้มังกรมักจะถูกนำไปใช้บ่อยครั้งในสื่อบันเทิงแนวแฟนตาซีทั้งหลายไม่ว่าจะเป็น นิยาย, การ์ตูน, เกมหรือภาพยนตร์ โดยมังกรที่เราคุ้นเคยมีอยู่ 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ
(1) มังกรยุโรป ที่มีรูปร่างคล้ายสัตว์เลื้อยคลานมีปีก ขี้หงุดหงิด ไม่พอใจใครชอบพ่นไฟใส่ เลยถูกอุปโลกน์ให้เป็นตัวแทนของฝ่ายอธรรม หรือความชั่วร้าย ทำให้มังกรยุโรปถูกใช้เป็นบอสในเกมให้เราตบตีอยู่บ่อยครั้ง ถ้าไม่นับตอนมันแดร็กเราตายไปหลายรอบ ก่อนจะปราบมันได้นะ
(2) มังกรจีน ที่ถูกมองว่าเป็นสัตว์มีอิทธิฤทิธ์ มีลำตัวยาว มีเกล็ดตามร่างกาย มีพลังควบคุมฟ้าฝนได้ ทำให้ถูกใช้เป็นตัวแทนของ ฝ่ายธรรมะและเทพเจ้า หากปรากฏในเกม-การ์ตูนก็มักอยู่ฝ่ายพระเอก โดยมอบพลังให้พวกเขา พิชิตวายร้ายประจำเรื่อง
มาถึงกงนี้ (ยืมภาษาละครพรหมลิขิตมาหน่อยนะ) อาจมีคนคันปากอยากถามว่าแล้วบ้านเรามีมังกรป่าว มังกรที่ไม่ใช่ นาคอ่ะ ก็จะขอบอกว่าหากสืบถึงต้นกำเนิดของคำว่า “มังกร” ในภาษาไทยแล้ว ไม่ใช่ทั้งมังกรยุโรปหรือ มังกรจีนเลย แต่เป็นตัวนี้ต่างหาก ตัวที่มีชื่อว่า
“มกร”
พื้นฐานของวัฒนธรรมไทยส่วนใหญ่ได้รับอิทธิพลจากประเทศอินเดีย ดังนั้นตำนานต่างๆในอินเดียจึงปรากฏในรูปของเรื่องเล่าเคล้าตำนานมากมายทั้งในศาสนาพุทธ และศาสนาพราหมณ์ ไม่ว่าจะเป็นเหล่าเทพเจ้า รวมไปถึงสัตว์แปลกๆในตำนานป่าหิมพานต์ ซึ่งมีมากมายหลายเผ่าพันธ์ดูซึ่งเจ้ามกร ก็เป็นหนึ่งสัตว์ในตำนานที่อาศัยอยู่ในทะเล มีลักษณะเป็นการผสมลักษณะกันระหว่างสัตว์ต่างๆ เช่นส่วนหัวมีเขากวาง ปากงวงช้าง ส่วนลำตัวเป็นจระเข้หรือแมวน้ำ และมีหางเป็นปลา โดยเจ้ามกร ถือเป็นสัตว์พาหนะของทั้งพระแม่คงคาเทพที่เป็นเทพแห่งแม่น้ำ และพระพิรุณที่เป็นเทพแห่งทะเลและฝน ตามลำดับ เพราะบทบาทของ น้องมกร ในวรรณคดีไทยหรือเรื่องเล่าในพุทธศาสนามีน้อยมากทำให้คนส่วน มากจะคุ้นเคยกับบรรดาครุฑ, นาค, ช้างเอราวัณกันเสียมากกว่า จึงไม่แปลกที่หลายคนไม่รู้จัก มกรในแบบอินเดียเท่าไหร่ รูปวาดอะไรก็ไม่ค่อยมีแต่โชคดีที่น้องมกรของเรา ถูกนำไปใช้เป็นสัญลักษณ์ตัวแทนของราศีมกร (Capricorn) อันเป็นที่มาของชื่อ เดือน “มกราคม” ที่เป็นเดือนแรกของปี โดยมีความหมายว่า “การมาถึงของราศีมกร”
ดังนั้นคน ที่เกิดในราศีมกร ซึ่งตรงกับวันที่ 15 ม.ค.-12 ก.พ. หากนับแบบไทย หรือ 22 ก.ค.-20 ม.ค. หากนับแบบฝั่งยุโรป แต่ทางฝั่งยุโรปเค้าไม่ได้มองเป็นมังกรเท่าไหร่นะ ชาวฝรั่งคีเค้ามองกลุ่มดาวนี้เป็นตัว Capricorn หรือแพะทะเล ซึ่งเป็นสัตว์ใน ตำนานตามความเชื่อของกรีก โดยทั้ง Capricorn และมกร มีจุดร่วมเหมือนกันอย่างหนึ่งคือเป็นสัตว์ตามตำนานในท้องทะเล เลยจับมาเชื่อมโยงลักษณะของกลุ่มดาวให้เข้ากับความเชื่อของตัวเอง
จากการสันนิษฐานถ้าดูจากเสียงอ่านก็คงพอจะอนุมานได้ว่า “มกร” คือต้นกำเนิดของคำว่า “มังกร” ที่เกิดจากการเพี้ยนเสียงแน่ๆ คือ คนไทยเอาเสียงเรียกน้อง มกร ที่เดิมคือสัตว์ตำนานของอินเดีย ไปใช้เรียก 龍 (หลง) ของจีน และ dragon ของฝรั่งคีนี่แหละ เพราะถ้าดูจากลักษณะภายนอกแล้ว มกรอินเดียกับมังกรจีนมีความคล้ายคลึงกันบางประการ เช่นมี ลำตัวยาวและมีเกล็ด รวมถึงทั้งคู่ล้วนเกี่ยวข้องกับการเพาะปลูก กล่าวคือมกรคือสัตว์พาหนะ ของเทพแห่งแม่น้ำ (พระแม่คงคา) และเทพแห่งฝน (พระพิรุณ) ขณะที่มังกรของจีนก็มีพลังควบคุม ฟ้าฝนได้เช่นกัน ทำสันนิษฐานว่าให้คนไทยนำ “มกร-มังกร” ไปใช้เรียก หลง(龍) ของจีนด้วย ก่อนที่ภายหลังจะเหลือแค่มังกรอย่างเดียว ส่วนฝั่งยุโรปเนื่องจากในภายหลังคนไทยรับวัฒนธรรมตะวันตกเพิ่มเติม ซึ่งฝั่งนั้นก็มีสัตว์ในตำนานที่เรียกว่า dragon อยู่ แล้ว แต่เพราะภาษาฝั่งยุโรปใช้คำนี้เรียก dragon กับมังกรของจีนด้วยเช่นกัน ทำให้คนไทยแปล dragon ออกมาเป็น “มังกร” และคงเห็นว่าง่ายดี เลยใช้คำเดียวกัน เรียกสัตว์ในตำนานทีเดียวถึง 3 ประเทศ กันไปจุกๆ
มาถึงตรงนี้ก็ให้นึกน้อยใจแทนเจ้ามกรอยู่ครามครันเพราะพี่น้องสองเผ่าอย่างมังกรจีน (龍) และมังกรยุโรป (dragon) ต่างเป็นสัตว์ในตำนานระดับแถวหน้าของทั้งสอง วัฒนธรรม ฝั่งจีนก็อวยให้เป็นถึงสัตว์เทพเจ้า มีพลังอำนาจมหาศาล ขณะที่ฝั่งยุโรปก็เป็นอสูรร้ายที่มักจะได้รับบทเด่นเป็น เหยื่อให้ผู้กล้าและบรรดาอัศวินไปรุมตื๊บอยู่บ่อยครั้ง ซึ่งมังกรทั้งสองรูปแบบต่างปรากฏบ่อยครั้งในเกม, การ์ตูน หรือนิยาย ทำให้ไม่แปลกที่คนไทยจะคุ้น เคยกับมังกรของ 2 วัฒนธรรมนี้มากกว่า กลับมาดูน้องมกร ที่เป็นสัตว์ต้นกำเนิดจริงๆ ของคำนี้ กลับแทบไม่มีคนไทยรู้จักเลย ขนาดถูกนำมาใช้เป็นชื่อเดือน มกราคม แต่เอาจริงๆก็มีน้อยคนมากๆที่รู้ว่าชื่อเดือนมกราคมนี้มาจากอะไร เหตุผลนึงอาจจะเพราะว่าเทพเจ้าอินเดียถูกผสมปนเปอย่างแนบแน่นไปกับ พุทธศาสนา และพราหมณ์-ฮินดู รวมถึงเป็นความเชื่อหลักในราชสำนัก ทำให้เทพเจ้าอินเดีย ปรากฏเฉพาะในหนังสือหรือเรื่องเล่าทางศาสนาเท่านั้น จนคนทั่วไปเข้าถึงได้ยาก อีกทั้งตัวเทพเจ้าที่น้องมกรไปเป็นสัตว์พาหนะให้ก็ไม่ค่อยได้รับบทเด่นในตำนานเท่าไหร่เลยกลายเป็น ต้นกำเนิดที่ถูกลืมไป
คราวนี้เป็นตำนานที่มาของคำว่ามังกรเพื่อจะได้รับปีมังกรหรืองูใหญ่ที่ใกล้จะเลื้อยมาให้คนทั่วโลกได้ยลโฉม อาจไม่ได้นำวัตถุมงคลมานำเสนอกันก็อย่าเพิ่งเบื่อนะครับ แค่อยากให้มีตำนานสนุกๆมาสลับให้คุณผู้อ่านได้เปลี่ยนอรรถรสบ้างแต่รับรองได้ว่าจะมีทั้งสนุกและสาระแน่ๆครับ
คราวหน้ามาลุ้นกัน ว่าจะนำเสนอองค์ไหนหรือตำนานอะไรครับ
เขียนโดย ต้น คนชอบพระ
ขอบคุณข้อมูลและภาพประกอบจาก สื่อโซเซี่ยล ครับ
ปล. หากมีวัด ศาสนถาน โรงเรียน โรงพยาบาล ฯลฯใดที่ต้องการประชาสัมพันธ์การขายวัตถุมงคลหรือบริจาคเพื่อการกุศลอย่างแท้จริง ทางคอลัม์พระบ้าน ยินดีประชาสัมพันธ์ให้ฟรีครับ สนใจลงโฆษณาประชาสัมพันธ์ ติดต่อ 0818214442 ต้น