นายแพทย์ เหวง โตจิราการ อดีต ส.ส.พรรคเพื่อไทย และอดีตแกนนำแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ(นปช.) โพสต์ข้อความผ่านเฟสบุ๊ค กล่าวถึงกรณีที่ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) แถลงว่า ป.ป.ช. มีมติเอกฉันไม่รื้อคดีสลายการชุมนุมของคนเสื้อแดงปี 2553 หลังจากนายจตุพร พรหมพันธุ์ แกนนำนปช. กับพวกขอให้หยิบยกสำนวนการไต่สวนข้อเท็จจริง โดยระบุว่า “โต้แย้งมติเรื่อง99ศพของปปช.ที่แถลงเมื่อ22มิย61
คำอธิบายของปปช.ที่ยืนตามมติของปปช.ชุดก่อน
ไม่รื้อคดีที่กล่าวหาอภิสิทธิ์์-สุเทพกรณี99ศพปี53
โดยกล่าวอ้างถึงคำสั่งของศาลแพ่งที่1433/2553เป็นสำคัญ
ในเรื่อง ที่การชุมนุมของนปช.ไม่ใช่เป็นการชุมนุมโดยสงบ
ไม่ได้รับความคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญ
แล้วเลยสรุปรวบยอด
ให้ยกคำกล่าวหาที่มีต่ออภิสิทธิ์-สุเทพนั้น
มีการเสียชีวิตสองกรณีใหญ่ที่เกิดจากการดำเนินการของรัฐบาลอภิสิทธิ์-สุเทพ และศอฉ.ในเหตุการณ์2553
ที่ปปช.ไม่ได้จำแนกแยกแยะออกมาพิจารณาเป็นกรณีเฉพาะ
นั่นคือ
1.กรณีการตายของนายเกรียงไกร คำน้อย ซึ่งโดนยิงเสียชีวิตโดยทหารจากการสั่งการของศอฉ.ที่หน้ากระทรวงศึกษาธิการในวันที่ 10 เมษายน 2553 เวลาประมาณ 13.00-14.00น.
ในขณะนั้นยังไม่ปรากฏหลักฐานใดๆที่เกี่ยวเนื่องกับกองกำลังติดอาวุธชายชุดดำ
หรือการยิงต่อสู้จากฝ่ายนปช.หรือคนเสื้อแดง
ซึ่งในคำสั่งการตายของศาลที่ปรากฏในสื่อได้ให้รายละเอียดดังนี้
“10 เมษายน 2553 เวลา 13.30 น. ศอฉ.สั่งการให้เจ้าหน้าที่ปฏิบัติการ ขอคืนพื้นที่และพื้นผิวการจราจรบริเวณสะพานผ่านฟ้าลีลาศและบริเวณใกล้เคียง โดยกองพันทหาราบที่ 1 กรมทหาราบที่ 31 รักษาพระองค์(ร.31พัน1รอ.) ประมาณ 300 นาย
.
โดยเจ้าหน้าที่มีอาวุธประจำกายคือโล่ห์ ปืนลูกซองยาว บรรจุกระสุนยาง ปืนเอ็ม 16 ปืนทาโวร์ ซึ่งเป็นอาวุธปืนที่มีความเร็วสูง ผลักดันผู้ชุมนุมไปตามถนนราชดำเนินนอกจากแยกสวนมิสกวัน ผ่านหน้ากระทรวงศึกษาธิการ ไปยังสะพานมัฆวานรังสรรค์ แต่ผู้ชุมนุมไม่พอใจได้ขว้างปาขวดน้ำ สิ่งของ และเหล็ก ใส่เจ้าหน้าที่ทหาร เจ้าหน้าที่ทหารจึงได้ใช้อาวุธปืนยิงตอบโต้ผู้ชุมนุม
.
ต่อมาในเวลา 15.00 น. เจ้าหน้าที่ทหารใช้อาวุธปืนยิงถูกนายเกรียงไกร ที่ยืนอยู่บนทางเท้าข้างกำแพงกระทรวงศึกษาธิการที่หน้าอกและลำตัวจนได้รับบาดเจ็บ เจ้าหน้าที่กู้ภัยจึงนำตัวนายเกรียงไกร ส่งร.พ.วชิรพยาบาล ต่อมานายเกรียงไกรได้เสียชีวิตลงเนื่องจากเสียเลือดมาก ในวันที่ 11 เมษายน 2553 เนื่องจากหลอดเลือดใหญ่บริเวณอุ้งเชิงกรานฉีกขาดจากกระสุนความเร็วสูงที่ยิงมาจากทางเจ้าหน้าที่ทหาร”(จากประชาไทบล๊อกกาซีน https://blogazine.pub/blogs/gadfly/post/4909 )
ดังนั้นกรณีการตายของเกรียงไกรคำน้อย รัฐบาลอภิสิทธิ์สุเทพยังไม่ได้รับความคุ้มครองจากคำสั่งของศาลแพ่งที่1433/2553
ปปช.ต้องแยกกรณีนี้ออกมาพิจารณาเป็นการเฉพาะไม่สามารถ “โยนลงเข่งเดียวกันได้”
2.กรณีการตายของหกศพที่วัดปทุม
นปช.ประกาศสลายการชุมนุมเวลาประมาณ13.30น.
และอำนวยความสะดวกให้ประชาชนที่มาชุมนุมได้เดินทางไปขึ้นรถบัสที่สนามศุภัชลาศัย
ส่วนคนแก่คนป่วยพิการอาจจะพักที่เขตอภัยทานในวัดปทุมวนารามรอจนวันรุ่งขึ้น
ภายหลังจากนั้นประชาชนก็ทะยอยไปเพื่อขึ้นรถบัส และเข้าพักในวัดปทุมวนาราม
ประมาณ14.00น.ทหารของศอฉ.ก็เข้ายึดครองพื้นที่แถบนั้นอย่างหนาแน่น ไม่มีคนเสื้อแดงเหลืออยู่อีกต่อไป
จึงไม่มีกองกำลังอาวุธของคนเสื้อแดงอย่างสิ้นเชิง
ปรากฏว่ามีการฆ่าประชาชนโดยเจ้าหน้าที่ทหารของศอฉ.ที่ประจำการอยู่บนรางรถไฟฟ้า
เกิดขึ้นเวลาประมาณ 17.30-18.00น.
ศาลได้มีคำสั่งการตายว่าเป็นการเสียชีวิตจากการยิงของเจ้าหน้าที่ทหารบนรางรถไฟฟ้า ผู้ตายไม่มีเขม่าดินปืน ไม่มีการยิงต่อสู้กับเจ้าหน้าที่ทหาร อาวุธที่ยึดได้นั้นรับฟังไม่ได้
ดังนั้นปปช.ต้องพิจารณาความรับผิดของรัฐบาลอภิสิทธิ์-สุเทพในกรณีนี้แยกต่างหากจากคำกล่าวอ้างของปปช.ที่อ้างความชอบธรรมของ รัฐบาลอภิสิทธิ์-สุเทพ ตามความในคำสั่งศาลแพ่งที่1433/2553ดังกล่าว
ลำพังเฉพาะสองกรณีนี้ก็เป็นการ ประกาศชัดแล้วว่า มติของปปช.นั้นไม่อาจรับฟังได้ ไม่มีฐานของหลักกฏหมายมารองรับไม่ได้เป็นไปตามหลักนิติรัฐนิติธรรม
ส่วนรายละเอียดที่เกิดขึ้นใน ระหว่างสองกรณีข้างต้น ก็ปรากฏความไม่ชอบด้วยหลักนิติรัฐ นิติธรรม อีกจำนวนไม่น้อย
ต้องแยกไปกล่าวถึงในโอกาศต่อไป
โพสต์โดย นพ.เหวง โตจิราการ เมื่อ วันเสาร์ที่ 23 มิถุนายน 2018