หน้าแรกการเมืองเด็กเพื่อไทย แนะ 'ปตท.' ให้โทษตัวเอง! แจง 4ข้อควรทำ-3ข้อไม่ควรทำ

เด็กเพื่อไทย แนะ ‘ปตท.’ ให้โทษตัวเอง! แจง 4ข้อควรทำ-3ข้อไม่ควรทำ

นายพชร นริพทะพันธุ์ สมาชิกพรรคเพื่อไทยและอดีตโฆษกประจำกระทรวงพลังงาน โพสต์ข้อความเฟสบุ๊ค กล่าวให้ความเห็นถึงบริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) ภายใต้ชื่อเรื่อง “ปตท. 2018. – เราต้องโทษใคร ? 6 ข้อควรเข้าใจ I 4 เรื่องที่ควรทำ |3 เรื่องที่ไม่ควรทำ” โดยระบุว่า “ในฐานะอดีตโฆษกกระทรวงพลังงาน และได้คลุกคลีกับความเป็นไปที่นั่นอยู่บ้าง ผมขอแสดงความเห็น ดังนี้ครับ

‘เราต้องเข้าใจก่อนว่า’

1.กระทรวงพลังงานเป็นเพียงผู้กำกับดูแล ไม่ได้เป็นเจ้าของ (แม้ว่าเราจะเห็นปลัดกระทรวงพลังงาน เป็น ประธานและบอร์ดปตท. รับเงินโบนัสกำไรจากปตท) แง่นี้จึงไม่รู้ว่าใครกำกับดูแลเพื่อประโยชน์ของใคร

2.กระทรวงพลังงานได้รับการสนับสนุนด้านงบประมาณ และหลายๆอย่างจาก ปตท.

ผู้บริหาร-ข้าราชการประจำที่ได้รับสิทธิพิเศษไปนั่งในบอร์ดของบริษัทลูก จึงเข้าใจได้ว่า เสีย integrity (ความสัตย์ซื่อ-ยึดมั่น ถือมั่นในความถูกต้อง) พอสมควรในการกำกับดูแล ในฐานะคนดูแลเรื่องนโยบายของรัฐมนตรี

แน่นอนเราเคยได้ยินคุณรสนา และ หม่อมกรกสิวัฒน์ และก็จุดยืนของ ปตท.มาโดยตลอด แต่คนไทยจะถึงจุดตื่นตัวตอนราคาน้ำมันแพง แต่พอ ราคาน้ำมันถูกก็ไม่ได้สนใจอะไร ทุกสิ่งจึงเกิดเป็นอารมณ์เหนือเหตุผล และการต่อสู้กันก็เพื่อผลประโยชน์ระยะสั้น เป้าหมายคือราคาน้ำมันที่ตนพอใจ

3. ปตท.เป็นบริษัทน้ำมันของชาติ มีกระทรวงการคลังถือหุ้นใหญ่ โดยกระจายหุ้นส่วนหนึ่ง (ส่วนน้อย)ใน ตลาดหลักทรัพย์ เพื่อให้ประชาชน มีสิทธิเป็นเจ้าของ และลดความเป็นรัฐ สร้างประสิทธิภาพการบริหาร (ไม่งั้นก็คง เน่าไม่ต่างกับ รฟท. ทศท. และอื่นๆอีกมากมายที่บริหารโดยรัฐ) กรณีนี้จึงสร้างคน และดึงดูดคนเก่งๆ ให้พัฒนาสินทรัพย์ด้านพลังงานของชาติให้มีประสิทธิภาพ เราจึงพัฒนา supply chain ด้านพลังงานโดดเด่นกว่า ประเทศเพื่อนบ้านรอบๆเราอย่างเห็นได้ชัด

4. อย่างไรก็ตามที่ #ปตท ทำผิดพลาด ไม่ใช่ที่การอ้างอิงราคาหน้าโรงกลั่นสิงคโปร์ หรือ การจ้าง CEO เก่งๆในราคาที่แพง แต่ผิดที่ไม่ปฎิบัติหน้าที่ของตัวเองโดยชอบ ซึ่งข้อกล่าวหานี้ใหญ่กว่าทั้งสองข้อที่กล่าวมา โดยกระทรวงพลังงานเป็นส่วนหนึ่งของปัญหา เพราะบุคลากรไปเอี่ยวกับผลประโยชน์ ขององค์กรที่ตนควรกำกับดูแลเพื่อประโยชน์ของประชาชน

5. การต่อสู้บนราคาหน้าโรงกลั่น หรือ ราคาภาษีสรรพสามิต หรือ ราคาค่าการตลาดเป็น การหันเหจากสมรภูมิจริงๆของประชาชน กับ ปตท. เพราะราคาน้ำมัน ‘ ไม่ได้ขึ้นอยู่กับความพอใจ’ แต่ ขึ้นอยู่กับ ‘ นโยบายประเทศซึ่งมีความเหมาะสมแตกต่างกันในแต่ละเวลา’ สิ่งเหล่านี้เป็น กลไก ที่จะใช้เพื่อ ลดการใช้นำ้มัน นำไปสร้างระบบคมนาคม หรือ เพื่อแบ่งเบาภาระประชาชนในภาวะเศรษฐกิจที่แตกต่างกันออกไปในแต่ละช่วงเวลา

6. สรุป #ปตทควรจะมีกำไร และมีหน้าที่สร้างกำไร เพื่อนำกำไรมาสร้างประสิทธิภาพ และเทคโนโลยี เพื่อให้คนไทยได้ใช้พลังงานในราคาถูก

ผมมีวาระเร่งด่วนที่อยากให้ปตท.ทำ และไม่ควรทำ ไปพิจารณา คือ

-ไม่ควรทำ

1. ไม่ไปลงทุนในร้านค้าปลีก โรงแรม ร้านกาแฟ ร้านซ่อมบำรุงรถ เพราะสิ่งเหล่านี้ไปแย่ง ความสามารถในการแข่งขันของ Entrepreneur-ผู้ประกอบการหน้าใหม่ คนไทยที่มีทุนตำ่ หรือ เหล่า SME ทั้งหลาย

2. ไม่ควรนำเงินกำไรไปใช้สุรุ่ยสุร่าย ลงทุนในโครงการที่อธิบายไม่ได้ ไม่โปร่งใส เพื่อหวังว่า งบกำไรรายปีจะไม่ถึงแสนล้าน จะได้ไม่ถูก คุณรสนาโจมตี

3. ไม่ควรเอาเงินเป็นพันล้านมาทุ่มซื้อสื่อ สร้างกิจกรรมทางสังคม หวังว่าเขาจะช่วย เวลาโดนโจมตี

-ควรทำ

1. เร่งพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและโรงกลั่นและประสิทธิภาพ สำหรับส่งพลังงานให้ประชาชน ไม่ใช่พุ่งระบบรถขนส่ง และสร้างอันตรายบนท้องถนนอย่างไม่จำเป็น

ประชาชนคนไทยไม่ควรเห็น ถังแก๊สที่เหมือนระเบิดเคลื่อนที่ วิ่งบนท้องถนน หรือ เอาไปตั้งไว้ในบ้านให้ลูกเด็กเล็กแดงเสี่ยงอันตรายอีก

2. ลดต้นทุนจากการพัฒนาโรงกลั่นและผลิตภัณฑ์ของโรงกลั่น

3. กำหนดราคาเอง และสร้างความมั่นคงทางพลังงานให้ประเทศเพื่อเพิ่มรายได้เข้าประเทศ และเพิ่มอำนาจการต่อรองในภูมิภาค

4. ยกเลิกโครงการเพื่อสังคมเอาหน้าทั้งหลาย เพราะยิ่งทำ เหมือนว่าต้องการกลบเกลื่อนข้อครหา ยิ่งจะมีคนมากินกับสิ่งนี้มากขึ้น การโจมตีก็ไม่มีวันรู้จบ ควรจะนำเงินเหล่านี้ไปพัฒนาคน อย่างโรงเรียนที่ระยอง ฯลฯ

ผมขอย้ำว่าสิ่งเหล่านี้ไม่ได้เกิดจากการอ้างอิง ราคาหน้าโรงกลั่นสิงค์โป หรือ CEO เงินเดือนสูง

แต่เกิดจาก การปฎิบัติผิดหน้าที่ และจุดประสงค์ของ ผู้บริหารและคนกำกับดูแล ขององค์กรที่ควรจะเป็นหน้าเป็นตาของประเทศ

ยืนยันอีกครั้งว่าราคาจะอ้างอิงที่ไหนก็ได้ แต่คนไทยควรได้รับประโยชน์จากกำไรที่ ปตท หามาได้ ไม่ใช่นำไปต่อยอดเพื่อทำกำไรเข้าองค์กร ในตลาดอื่นๆ ซึ่งเป็นการเอาเปรียบ ตลาดและสังคม ยิ่งทำให้ความเหลื่อมล้ำยิ่งมากขึ้นเรื่อยๆ

#ปตทจึงโทษใครไม่ได้นอกจากตัวเอง

อย่างที่อาจารย์โกร่ง ดร. วีระพงศ์ รามางกูร บอกไว้ว่า 30 กว่าปีผ่านไปตั้งแต่สมัยผู้ว่าฯทองฉัตร ปตท. ก็โดนข้อกล่าวหาว่ามีชักโครกทองคำ มีคนได้ประโยชน์จากราคาหน้าโรงกลั่นสิงคโปร์ จะรออีก 30 ปีต่อจากนี้ ก็คงจะไม่ต่างกันกับวงเวียน ราคาหน้าโรงกลั่นสิงคโปร์


 

RELATED ARTICLES

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_img