หน้าแรกการเมือง'ดร.รัชดา' ชี้ ไทยไม่มีสิ่งส่งเสริม ให้ผู้หญิงมาเป็นนักการเมือง-ต้องเรียกว่า 'ถอยหลังเข้าครอง'

‘ดร.รัชดา’ ชี้ ไทยไม่มีสิ่งส่งเสริม ให้ผู้หญิงมาเป็นนักการเมือง-ต้องเรียกว่า ‘ถอยหลังเข้าครอง’

ดร.รัชดา ธนาดิเรก อดีต ส.ส. กทม. พรรคประชาธิปัตย์ โพสต์ข้อความผ่านเฟสบุ๊คส่วนตัว ‘ดร.รัชดา ธนาดิเรก‘ กล่าวถึงความเสมอภาคระหว่างเพศในแวดวงการเมือง หลังจากที่ไปเข้าร่วมประชุมในงาน “The Stockholm Forum on Gender Equality” ที่ประเทศสวีเดน โดยระบุว่า “การเพิ่มจำนวนนักการเมืองหญิง คือตัวชี้วัดหนึ่ง(ด้านความเสมอภาคระหว่างเพศ)ในเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน ของสหประชาชาติ..ชวนเพื่อนหญิงมาลงการเมือง มีอีกมากมายหลายเรื่องให้พวกเรามาร่วมกันผลักดัน..

โพสต์สุดท้ายที่สต๊อกโฮม ได้กลับบ้านเสียที

ประชุมสามวันที่นี่ The Stockholm Forum on Gender Equality ได้ฟังรัฐมนตรีหญิงจากหลายประเทศพูดถึงความจำเป็นที่ต้องมีนโยบายลดช่องว่างสิทธิและโอกาสระหว่างชายและหญิง การมีผู้หญิงในตำแหน่งระดับตัดสินใจจึงเป็นเรื่องจำเป็นทั้งในภาคการเมือง ราชการ เอกชน และประชาสังคม ไม่ใช่เพราะผู้หญิงเก่งกว่าผู้ชาย แต่เพราะผู้หญิงต่างจากผู้ชาย มองต่าง ประสบการณ์ต่าง เห็นปัญหาต่าง และมีวิธีแก้ปัญหาต่าง ความต่างนี่แหละที่จะเสริมให้การตัดสินใจครอบคลุม มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากขึ้น โดยเฉพาะกับเรื่องการถูกกีดกันกดขี่ ความรุนแรงในครอบครัว การเข้าไม่ถึงโอกาสทางการเงิน ค้ามนุษย์ เหยื่อสงครามใครจะเข้าใจหัวอกผู้หญิงได้ดีกว่าผู้หญิง จึงจำเป็นต้องมีผู้หญิงในจำนวนที่มากพอในการสร้างความสมดุลต่อการตัดสินใจ

สำหรับบ้านเราทั้งบรรยากาศการเมือง กฎหมายพรรคการเมือง กฏหมายเลือกตั้งส.ส. ไม่มีสิ่งใดที่ส่งเสริมให้ผู้หญิงมาเป็นนักการเมืองเพิ่มขึ้นเลย ต้องเรียกว่าถอยหลังเข้าครอง ก็จะแปลกอะไร เอาคนไม่เข้าใจบวกทัศนคติไม่รับฟังความเห็นคนอื่นมาเขียนกฎหมาย แล้วกฎหมายจะหน้าตาอย่างไรหละ

หลายประเด็นที่อยากชวนให้คิดไปพร้อมกัน

1. เราเสียโอกาสที่จะสร้างความตื่นตัวในการเข้ามาเป็นนักการเมืองแก่คนหน้าใหม่ไปตั้งหลายปี ก่อนหน้าความกระตือรือร้นตั้งพรรคทหาร นักการเมืองถูกล่าวหาเกือบรายวันว่าเลว โกง

แน่นอนว่ามันมีทั้งคนดีและไม่ดีในการเมือง และเช่นกันในทุกอาชีพ แต่สิ่งที่ผู้นำประเทศควรจะทำคือการกระตุ้นให้คนเปลี่ยนความเบื่อหน่ายเป็นพลัง หากเกลียดคนเลว คนดีต้องเข้ามาใครพร้อมเตรียมตัวไว้ แต่ที่ผ่านมาไม่ใช่เลย มีแต่พูดกรอกหูสร้างทัศนคติให้คนเกลียดการเมือง ลดทอนคุณค่าการที่ประชาชนจะเลือกตัวแทนไปดูแลบ้านเมือง ส่วนนักการเมืองที่ไม่ดี ที่โกง ท่านผู้นำก็ต้องจัดการให้ได้ แต่ดูเหมือนจะทำไม่ได้สักเท่าไร ยังไม่ได้ทำให้ประชาชนเห็นว่ารัฐบาลทหารมีความสามารถปราบโกงมากกว่ารัฐบาลเลือกตั้ง

2. ผู้หญิงสนใจการเมืองมีเยอะ เก่งๆลุยๆ มีความพร้อมก็มาก แต่เขาคงไม่เลือกมาเปลืองตัวเป็นนักการเมือง อยู่อาชีพเดิมมีเกียรติมีศักดิ์ศรีดีอยู่แล้ว จะเข้ามาให้ถูกเหมารวมทางลบเพื่ออะไร

3. วิธีการสรรหาผู้สมัครแบบไพรแมรี่โวท อาจดูเก๋ไก๋ในสายตาผู้ร่างและผู้ผ่านกฎหมาย แต่จากประสบการณ์ของผู้ปฏิบัติจริง วิธีนี้คืออุปสรรคต่อคนหน้าใหม่ที่จะเข้ามาสู่การเมืองอย่างมาก

ในระบบบัญชีรายชื่อเดิม เมื่อพรรคได้เล็งเห็นตัวคนที่เหมาะสม ก็สามารถจัดให้อยู่ในอันดับที่คิดว่าจะได้เป็นส.ส. แต่ระบบใหม่ซึ่งกำหนดให้สมาชิกพรรคสาขาทั่วประเทศเป็นผู้ลงคะแนนเพื่อจัดอันดับรายชื่อ คำถามคือ คนหน้าใหม่ที่เก่งและพรรคอยากให้เข้ามาช่วยงาจะติดอันดับได้อย่างไร ในเมื่อเขาไม่รู้จักสาขาพรรคว่าอยู่ตรงไหน เป็นคนเก่งที่ไม่ได้โด่งดังที่สมาชิคพรรคทั่วประเทศจะรู้จัก สมาชิกพรรคเลือกรายชื่อได้15คน แน่นอนว่าก็คงเลือกคนที่ตัวเองคุ้นชื่อ คุ้นตา แล้วคนหน้าใหม่ที่ประชาชนไม่คุ้นชื่อ ไม่รู้จักหน้าจะมีโอกาสได้อย่างไร ครั้นผู้บริหารพรรคจะเข้าไปช่วยก็เขียนบทลงโทษถึงขั้นยุบเลยทีเดียว

ยังมีกฏหมายที่ประเทศอื่นเขาเขียนไว้เพื่อการส่งเสริมให้มีนักการเมืองหญิง เช่น กำหนดโควต้าส.ส.หญิง การส่งรายชื่อบัญชีรายชื่อต้องมีผู้หญิงสลับ1:4 พรรคการเมืองต้องจัดสรรงบประมาณให้กับกิจกรรมพัฒนาการเมืองกับเครือข่ายผู้หญิง เป็นต้น

นักการเมืองเป็นอาชีพที่มีคุณค่า ใจสู้ซะอย่าง อย่าได้หวั่น”

[fb_pe url=”https://www.facebook.com/drrachada/posts/1822830254447633″ bottom=”30″]


 

RELATED ARTICLES

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_img