ทั้งนี้ อียูได้ทำFTA ระดับสองฝ่ายกับประเทศคู่ค้าแล้ว 32 ประเทศ เช่น สิงคโปร์ เวียดนาม ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ แคนาดา ชิลี และเม็กซิโก นอกจากนี้ มีแผนการเจรจาFTAกับประเทศคู่ค้าอื่นๆ
สำหรับการฟื้นการเจรจาFTAไทย-อียู ที่หยุดชะงักมาตั้งแต่ปี 2557 นั้น คณะมนตรีแห่งอียูด้านการต่างประเทศได้มีมติเมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 2562 ให้กระชับความสัมพันธ์กับไทยให้แน่นแฟ้นขึ้น ซึ่งเอกสารฯ ได้ตั้งเป้าให้อียูลงนามความตกลงว่าด้วยการเป็นหุ้นส่วนและความร่วมมือ ภายในปี 2564 ซึ่งเป็นความตกลงที่วางรากฐานความสัมพันธ์อียูกับไทยในด้านต่างๆ รวมทั้งฟื้นการเจรจาFTA เมื่อทั้งสองฝ่ายมีความคาดหวังจากการเจรจาในระดับที่ใกล้เคียงกัน
ทั้งนี้ จากการติดตามFTAที่อียูเจรจาและลงนามกับประเทศคู่ค้า ในช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมา พบว่า ครอบคลุมประเด็นใหม่ๆ เช่น พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ การเปิดตลาดจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ การยกระดับมาตรฐานแรงงาน โดยให้เสรีภาพในการสมาคมและรวมตัวการเข้าเป็นภาคี UPOV 1991 และทรัพย์สินทางปัญญา ซึ่งเป็นระดับความคาดหวังที่สูงและท้าทาย
ในส่วนการเตรียมการของไทย กรมฯ ได้มอบสถาบันอนาคตฯ ศึกษาต่อยอดเพิ่มเติมถึงโอกาสและผลกระทบจากการฟื้นการเจรจาFTAไทย-อียู โดยคาดว่าจะเสร็จสมบูรณ์พร้อมเผยแพร่ในเดือนสิงหาคมนี้