เมื่อวันที่ 11 มิถุนายน 2563 ที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตร.) พลตำรวจโท ชวลิต แสวงพืชน์ ผู้บัญชาการสำนักงานเทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อสาร สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ในฐานะผู้อำนวยการศูนย์ปราบปรามอาชญกรรมทางเทคโนโลยี่สารสนเทศ(ผอ.ศปอส.ตร.)
เปิดเผยว่า กลุ่มเครือข่ายในรูปบริษัท ได้เปิดไลน์ชักชวนประชาชนให้มาลงทุนธุรกิจพลังงานและ สุขภาพทางเลือก ให้ผลตอบแทนร้อยละ 5 ต่อสัปดาห์ 95 สัปดาห์ หรือคิดเป็นร้อยละ 475 ของเงินต้น โดยใช้วิธีโฆษณาแพ็คเกจในการร่วมลงทุนต่างๆ ตั้งแต่ 10,000 – 100,000 บาท ซึ่งจะมีค่าตอบแทนแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับเงินลงทุน อาทิ ลงทุนแพ็คเกจ 10,000 บาท จะได้เงินปันผลสัปดาห์ละ 500 บาท 95 สัปดาห์เงินปันผลสูงสุด 47,500 บาท หากสมาชิกที่ร่วมลงทุนแนะนำผู้อื่นร่วมลงทุนได้ จะได้รับผลตอบแทนอีกร้อยละ 10 ของยอดเงินลงทุนและ รับเงินเพิ่มอีกจากระบบแชร์ลูกโซ่จับคู่
ผู้บัญชาการสำนักงานเทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อสาร เปิดเผยเพิ่มเติมว่า นอกจากเครือข่ายนี้ได้ชักชวนประชาชนทางไลน์แล้ว ยังมีการเดินสายชักชวนให้ประชาชนมาร่วมลงทุน มีการจัดสัมนา เชิญชวน ให้มีการลงทุนทั้งในจังหวัดเพชรบูรณ์ เชียงราย บุรีรัมย์ สงขลา ชลบุรี ด้วยแพ็คเกจที่ดึงดูดและมีผลตอบแทนสูง ทำให้ประชาชนหลงเชื่อโอนเงินเข้าบัญชี บริษัท พีบี สมาท์เอ็นเนอยี่ มีผู้ร่วมลงทุนจำนวน 50,000 คน มูลค่าความเสียหายกว่า 3,000 ล้านบาท
ด้าน พลตำรวจตรีพันธนะ นุชนารถ ผู้บังคับการข่าวกรองยาเสพติด ในฐานะหัวหน้า ศูนย์ปราบปรามอาชญกรรมทางเทคโนโลยี่สารสนเทศ(ผอ.ศปอส.ตร.)กล่าว ว่า เครือข่ายนี้สามารถหลอกลวงประชาชนได้เป็นจำนวนมาก เจ้าหน้าทั้ง ตำรวจ สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน และ สำนักงานเศรษฐกิจ พบความเคลื่อนไหวผิดปกติอีกทั้งมีจำนวนสมาชิกเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ตั้งแต่เดือนกันยายน 2562 จึงรวบรวมพยานหลักฐานตรวจสอบพบธุรกิจต่างๆที่เครือข่ายนี้อ้างว่าจะนำเงินไปลงทุน ทั้งด้านพลังงาน และ สุขภาพทางเลือก นั้นไม่มีอยู่จริง ไม่สามารถสร้างผลกำไรเพียงพอที่จะจ่ายเป็นผลตอบแทนให้กับสมาชิกได้ จึงขออนุมัติหมายจับผู้ที่เกี่ยวข้อง ผู้ต้องหาบางส่วนได้เข้ามอบตัว แต่บางส่วนก็ถูกตำรวจจับกุมตัว จากการตรวจสอบยังมีกลุ่มเครือข่ายที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมอีกซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างติดตามตัว
นายเอนก อยู่ยืน ผู้ช่วยเลขาธิการ กลต. เปิดเผยว่า จากการตรวจสอบพบว่ามีการระดมทุนอย่างผิดปกติครั้งแรกเมื่อ 24 พฤษภาคม 2562 ซึ่งการกระทำดังกล่าวของบริษัท พีบี สมาร์ทฟาร์มเมอร์ ไม่มีการจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แต่อย่างใด ซึ่งการกล่าวอ้างการซื้อขายเป็นรูปแบบหุ้น เป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ประชาชนหลงเชื่อ เตือนประชาชนการลงทุนต้องตรวจสอบอย่างละเอียดและครบถ้วน
ซึ่งการจับกัมครั้งตำรวจสามารถตรวจยึดอายัดทรัพย์สินบริษัท พีบี สมาร์ทฟาร์เมอร์ จำกัด (มหาชน) กับพวก ทั้ง โฉนดที่ดิน รถยนต์ อาวุธปืน รวมมูลค่ากว่า 200 ล้านบาท อายัดเงินฝากธนาคารของบริษัท พีบี สมาร์ทฟาร์มเมอร์จำกัด(มหาชน) และ บัญชีอื่นๆที่เกี่ยวข้องจำนวน 41 บัญชี รวมเงินหมุนประมาณ 55 ล้านบาท../