นางสาว อรอนงค์ อุดมก้านตรง ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ผลิตภัณฑ์สินเชื่อรายย่อย ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย เปิดเผยว่า “ธนาคารเดินหน้ากระตุ้นให้ผู้บริโภคตื่นตัวและตระหนักถึงอำนาจที่ตัวเองมี (Empower on Customer Credit) ด้วยแคมเปญ “คนมีเครดิต” บัตรกดเงินสด ดอกเบี้ยพิเศษ คนที่เคยมีประวัติขอสินเชื่อและผ่อนชำระหนี้ตรงเวลา ควรที่จะได้รับดอกเบี้ยที่ดีกว่าคนอื่น เพราะเรียกได้ว่าเป็นคนที่มีเครดิต อยากปลุกกระแสให้คนตื่นตัวและตระหนักถึงอำนาจที่ตัวเองมี แต่คนไทยส่วนใหญ่ยังไม่รู้ส่าการผ่อนหนี้ตรงเวลาจะทำให้ตัวเองเป็นคนที่มีเครดิต ถ้าดูตัวเลขคร่าวๆยองลูกค้าที่ผิดนัดชำระ 1-2 เดือน รวมถึงลูกค้าที่เป็น NPL รวมแล้วน่าจะประมาณ 6-10% ของสินเชื่อทั้งหมด เรียกได้ว่ามีลูกหนี้ดีอยู่ถึง 90% ซึ่งเยอะมาก แต่จะมีกี่คนที่จะตระหนักถึงพลังของเครดิต
เดิมในการอนุมัติสินเชื่อจะพิจารณาจากสลิปเงินเดือนเป็นหลัก และเจ้าของกิจการเข้าถึงสินเชื่อค่อนข้างยาก ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย จึงได้ออกแคมเปญ “คนมีเครดิต” บัตรสินเชื่อส่วนบุคคลเอ็กซ์ตร้าแคช(ExtraCash) วงเงินเสริมสภาพคล่องดอกเบี้ยพิเศษ สำหรับคนที่มี 2 อย่างคือ 1.มีประวัติสินเชื่ออย่างน้อย 12 เดือน 2.ผ่อนชำระตรงเวลา สำหรับพนักงานประจำ และเจ้าของกิจการ ที่รายได้รวม 40,000 บาทต่อเดือน รับดอกเบี้ย 12% ต่อปี นาน 12 รอบบัญชีแรก รอบบัญชีที่ 13 เป็นต้นไป ดอกเบี้ย 18% ต่อปี สำหรับพนักงานประจำ และเจ้าของกิจการ มีรายได้รวม 20,000 บาทต่อเดือน รับดอกเบี้ย 18% ต่อปี นาน 12 รอบบัญชีแรก รอบบัญชีที่ 13 เป็นต้นไป ดอกเบี้ย 24% ต่อปี
สำหรับพนักงานประจำ และเจ้าของกิจการ ที่มีรายได้รวม 12,000 ยาทต่อเดือน รับดอกเบี้ย 24% ต่อปี นาย 12 รอบบัญชีแรก รอบบัญชีที่ 13 เป็นต้นไป ดอกเบี้ย 28% ต่อปี นอกจากนี้ ไม่มีค่าธรรมเนียมแรกเข้าและค่าธรรมเนียมรายปี ฟรี ค่าธรรมเนียมเบิกถอนเงินสดที่ตู้ ATM ทุกตู้ โดยทั้งนี้ธนาคารได้เตรียมวงเงินสำหรับแคมเปญดังกล่าวไว้ 500 ล้านบาท และทางธนาคารมอบดอกเบี้ยพิเศษให้ลูกค้าที่ดีได้ ด้วย Risk Base Pricing โดยไม่ต้องรอให้มีฐานลูกค้าขนาดใหญ่ถึงจะทำได้ และในอนาคตอันใกล้ เมื่อธนาคารให้บริการ mobile lending เทคโนโลยีจะเข้ามาข่วยให้ลูกค้าที่คล้ายกันมารวมกลุ่มกันได้ง่ายและเร็วขึ้น ลูกค้าจะกำหนดราคาเองได้เร็วขึ้นสังคมจะเกิดจุดสมดุลมากขึ้น
ส่วนด้านภาพรวมสินเชื่อส่วนบุคคลของธนาคารในปี 62 ยังต้องพบกับความท้าทายอยู่ค่อนข้างมาก จากภาวะของเศรษฐกิจไทยที่ชลอตัว แนวโน้มของสินเชื่อส่วนบุคคลของธนาคารในปีนี้ คาดว่าอาจจะทำได้ต่ำกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้เติบโตที่ 30% มาเป็นเติบโตไม่ถึง 10% ซึ่งใน 5 เดือนที่ผ่านมาสินเชื่อส่วนบุคคลของธนาคารเติบโตเพียง 20% หรือการปล่อยสินเชื่อส่วนบุคคลที่เป็นสินเชื่อที่ 2 พันล้านบาท ซึ่งต่ำกว่าปกติที่ควรมีการเติบโต 50% ทำให้ธนาคารคาดว่าสินเชื่อส่วนบุคคลที่เป็นสินเชื่อปล่อยใหม่ในปีนี้จะอยู่ที่ 7 พันล้านบาท ซึ่งต่ำกว่าเป้าหมายที่ได้ตั้งไว้ 1 หมื่นล้านบาท ทำให้พอร์ตสินเชื่อคงค้างของสินเชื่อส่วนบุคคลในปีนี้จะใกล้เคียงกับของปีก่อนที่ 1.2 หมื่นล้านบาท
ด้านสินเชื่อบ้านของธนาคารในปีนี้คาดว่าจะยังสามารถทำได้ใกล้เคียงเป้าหมายที่ตั้งไว้โดยจะปล่อยสินเชื่อบ้านที่เป็นสินเชื่อใหม่ 2.8 หมื่นล้านบาท ถึงแม้ว่าในช่วง 2 เดือนที่ผ่านมาจะได้รับผลกระทบจากการเริ่มบังคับใช้มาตรการ LTV ซึ่งส่งผลกระทบต่อความต้องการสินเชื่อบ้านที่หายไปถึง 40-50% ซึ่งสูงกว่าความคาดหมายของธนาคารที่คาดไว้ 20-30% เนื่องจากลูกค้าไปขอสินเชื่อในช่วงไตรมาส 1/62 ก่อนมาตรการมีผลบังคับใช้เป็นจำนวนมาก และในช่วง 5 เดือนที่ผ่านมาธนาคารปล่อยสินเชื่อบ้านที่เป็นสินเชื่อใหม่ไปแล้วที่ 9.5 พันล้านบาท
ขณะที่สัดส่วนของหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) ในปัจจุบันของธนาคารอยูที่ 2% ซึ่งถือว่าอยู่ในระดับที่ไม่สูงมากเนื่องจากลูกค้าของธนาคารส่วนใหญ่เป็นกลุ่มลูกค้าที่มีประวัติการชำระที่ดีคิดเป็นสัดส่วน 90% ของพอร์ตและมีฐานเงินเดือนมากกว่า 30,000 บาทต่อเดือน เป็นส่วนใหญ่ จึงทำให้ NPL อยู่ในระดับที่ไม่สูง และมีแนวโน้มที่จะลดลงเรื่อยๆ ซึ่งธนาคารตั้งเป้า NPL ของสินเชื่อส่วนบุคคลของธนาคารในสิ้นปีนี้ให้ต่ำกว่า 2%