จากกรณี พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม กล่าวถึง นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี หลังออกมาโพสต์ครบ 12 ปี ที่ถูกรัฐประหาร โดย พล.อ.ประวิตร ระบุว่า “บ้านเมืองที่วุ่นวายอยู่ทุกวันนี้เป็นเพราะใคร แต่ไม่ใช่พวกเราแน่นอน เพราะพวกเราไม่ได้เกี่ยวข้อง เราออกมาแก้ไขปัญหาให้กับประเทศชาติ ส่วนกรณีที่นายทักษิณ ระบุพร้อมพูดคุยปรองดองนั้น เขายังมีเรื่องที่ทำผิดกฎหมายอยู่ ขอให้ไปเคลียร์ตรงนั้นให้ได้ก่อน” ซึ่งหลังจากนั้น นายทักษิณ ได้ทวิตข้อความลงบนทวิตเตอร์ ว่า “ท่าทีและน้ำเสียงขึงขังน่ากลัวจัง ไม่นุ่มนวลอ่อนหวานเหมือนตอนมาเกาะโต๊ะขอเป็น ผบ.ทบ.เลย”
ดร.เดชรัต สุขกำเนิด อาจารย์หัวหน้าภาควิชาเศรษฐศาสตร์เกษตรและทรัพยากร คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โพสต์ข้อความผ่านเฟสบุ๊คส่วนตัว กล่าวถึงกรณีดังกล่าว โดยระบุว่า “ปัญหา “ป้อมเกาะโต๊ะ”
ปัญหาป้อมเกาะโต๊ะสะท้อนข้อจำกัดของรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง หากยังอิงกับกลไกราชการแบบรวมศูนย์ และกลไกอุปถัมภ์ ย่อมเสี่ยงที่จะถูกบ่อนเซาะและโดนยึดอำนาจที่ได้มาจากประชาชนได้โดยง่าย
ฉะนั้น รัฐบาลที่กำลังจะมาจากการเลือกตั้งในลำดับต่อไป จึงจำเป็นต้องหนีห่างจากโมเดลอำนาจแบบรวมศูนย์และอุปถัมภ์เช่นนี้ ด้วยการกระจายศูนย์การตัดสินใจ กระจายงบประมาณ ลงไปให้ถึงประชาชน และให้ประชาชนตัดสินใจด้วยตนเองให้มากที่สุด เท่าที่จะทำได้
ภาพประกอบไม่เกี่ยวโดยตรงกับโพสต์ แต่มาจากไอเดียของเพื่อนในเฟซบุ๊คที่ผมยืมมา เหตุที่เพื่่อนใช้ภาพนี้ยืนยันว่า “ป้อมเคยเกาะโต๊ะจริงๆ” ครับ
ขออภัยที่ไม่ระบุชื่อเพื่อน เพราะเกรงเป็นประเด็นถกเถียงกัน แล้วเพื่อนจะซวยไปด้วย ส่วนภาพผมจะคืนให้หลังจากที่ผมรายงาน ปปช. แล้วนะครับ อิอิ”
ปัญหา "ป้อมเกาะโต๊ะ" ปัญหาป้อมเกาะโต๊ะสะท้อนข้อจำกัดของรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง หากยังอิงกับกลไกราชการแบบรวมศูนย์…
โพสต์โดย Decharut Sukkumnoed เมื่อ วันพุธที่ 19 กันยายน 2018