หน่วยงานความมั่นคง พบการเคลื่อนใหว กลุ่มวัยรุ่นมุสลิม 14 คน แสดงสัญญาลักษณ์ กลางกรุง รวมตัวถ่ายภาพพร้อมกับ “ธงปฏิวัติมาลายูปาตานี” ยืนทำความเคารพ พร้อม กับตะโกนเป็นภาษามาลายู หน้ากระทรวงกลาโหม
เมื่อวันที่ 25 เม.ย.2566 ผู้สื่อข่าวไทยแทบลอยด์รายงานว่า เมื่อวันที่ 24 เมษายน ที่ผ่านมา ที่บริเวณหาดวาสุกรีในพื้นที่ ต.ตะลุบัน อ.สายบุรีฯ จว.ปัตตานี (เวลา 13.35 – 17.00 น.)กลุ่มเครือข่าย Civil Society Assembly For Peace – CAP สมัชชาประชาสังคมเพื่อสันติภาพ(คปส.)/CAP นำโดย นายรอมซี ดอฆอ ตำแหน่งประธาน Civil Society Assembly For Peace – CAP สมัชชาประชาสังคมเพื่อสันติภาพ (คปส.) CAP/ประธานศูนยวัฒนธรรมอิสลามเพื่อการพัฒนา (PUKIS) นายมูฮำหมัดอาลาดี เด็งนิ อดีต ประธานมูลนิธินูซันตาราเพื่อสิทธิมนุษยชนและการพัฒนา (Nusantara)/ อดีตประธาน Civil Society Assembly For Peace – CAP สมัชชาประชาสังคมเพื่อสันติภาพ (คปส.)/CAP ,นายฮาชัน ยามาดีบุ ประธานกลุ่มบุหงารายา/อดีตประธานสมัชชาประชาสังคมเพื่อสันติภาพ (CAP) ,นายอานัส พงค์ประเสริฐ แกนนำกลุ่มสายบุรีลุกเกอร์ Saiburi Looker , และ นายชารีฟ สะอิ ตำแหน่งเลขาธิการเครือข่ายบัณฑิตอาสา จชต. (INSouth) จัดกิจกรรมภายใต้ชื่องาน”HIMPUNAN MELAYU RAYA 2023 (งานรวมพลมลายรายอ ประจำปี 2023 )”
เพื่อเป็นการเฉลิมฉลองเนื่องในเทศกาลฮารีรายอ (วันตรุษอีฏิลฟิตริ) ซึ่งจัดขึ้น โดยมีการเชิญชวนให้ผู้มาร่วมงานแต่งกายด้วยชุดมลาย (ชุดประจำถิ่น) มีเยาวชนจากพื้นที่ จชต. และหมู่บ้านจัดตั้งเดินทางมาร่วมกิจกรรม ภายในกิจกรรมมีการเชิญชวนให้ผู้มาร่วมงานแต่งกายด้วยชุดมลาย (ชุดประจำถิ่น) มีเยาวชนจากพื้นที่ จชต. และหมู่บ้านจัดตั้งเดินทางมาร่วมกิจกรรม โดยการแต่งกายแยกตามสี ของเสื้อผ้า ว่าแต่ละกลุ่มมาจากพื้นที่ใดใน จชต.ได้มีการกำหนดสีเสื้อผ้า
ดังนี้ สีแดง คือ เยาวชนจัดตั้งในพื้นที่จ.นราธิวาส.สีเขียว คือ เยาวชนจัดตั้งในพื้นที่ จว.ยะลา และสีน้ำเงิน คือเยาวชนจัดตั้งในพื้นที่ จว.ป.น. ทั้งนี้มีกลุ่มมวลชนจัดตั้งที่เป็นเยาวชนชาย/หญิงและมวลชนในพื้น จชต.ร่วมกิจกรรมบริเวณหน้าเวทีจำนวน 10,000 คน และอยู่บริเวณโดยรอบประมาณ 5,000 คน เนื่องจากสภาพอากาศ
ร้อนและเยาวชนบางกลุ่มมาด้วยความศึกคะนอง ถือว่าเป็นการมาเที่ยวเล่นเป็นหมู่คณะ เลยไม่ได้ให้ความสนใจกิจกรรมบนเวทีมากนัก รวมมวลชนเข้าร่วมกิจกรรมยอดสูงสุดอยู่ที่ 1,500คน โดยเดินทางมาจาก จว.นราธิวาส ประมาณ 5,500 คน จว.ปัตตานี 5,500 คน และ จว.ยะลา 4,000 คน วัตถุประสงค์การจัดงาน ดังกล่าวกลุ่มเครือข่าย Civil Society Assembly For Peace – CAP สมัชชาประชาสังคมเพื่อสันติภาพ(คปส.)/CAPได้มีการกำหนดการจัดกิจกรรมอย่างชัดเจน ร่วมทั้งมีข้อกำหนดและข้อห้ามในการร่วมกิจกรรมในครั้งนี้
ทั้งนี้ มีรายงานว่า วัตถุประสงค์ในการจัดกิจกรรม เพื่อส่งเสริมและอนุรักษ์พื้นฟูการแต่งกายตามวัฒนธรรมและอัตลักษณ์ท้องถิ่นเพื่อเปิดโอกาสให้กับกลุ่มเครือข่ายเยาวชนในพื้นที่ต่างๆได้มีพื้นที่สาธารณะในการแสดงออกทางวัฒนธรรมอย่างสร้างสรรค์ เพื่อรณรงค์และหนุนเสริมบรรยากาศกระบวนการสร้างสันติภาพในพื้นที่ รายละเอียดกิจกรรมภายในงาน มวลชน ประมาณ 15,000 คน
ก่อนหน้าเจ้าหน้าหน่วยงานความมั่นคง ยังพบว่า เมื่อวันที่ 22 เม.ย.66 เวลา 17.34 น.พบกลุ่มมวลชน ขับ รถจักรยานยนต์ประมาณ 10 คัน เข้ามาที่บริเวณหน้ากระทรวงกลาโหม จากนั้นมวลชนกลุ่มดังกล่าว ได้ทำการ ถ่ายภาพพร้อมกับ “ธงปฏิวัติมาลายูปาตานี “ รวมถึง ยังได้ กระทำการในลักษณะ คล้ายการทำความเคารพ พร้อม กับตะโกนเป็นภาษามาลายู ที่ บริเวณหน้ากระทรวงกลาโหม
ต่อมา ภาพกิจกรรมดังกล่าว ได้ถูกเผยแพร่ในแอพพลิเคชั่น TikTok ในรูปแบบคลิปวิดีโอ โดยผู้ใช้ Tik Tok ชื่อ patani764365466 ( lang satu patani ) ซึ่งยังได้ @ ภาพกิจกรรม ไปยังบุคคล อื่นเช่น @ อานัส สายโจร , @AbeMingMY , @ AKu AnaK Melayu , @ บังวี GUNA HiDOk
ทั้งนี้ ธงสัญลักษณ์ที่กลุ่มใช้ทำกิจกรรม จากการ พิสูจน์ทราบผ่านโซเชียลมีเดียเบื้องต้น พบว่า ธงแดง-ขาว-เขียว จันทร์เสี้ยวและดวงดาว เป็น ธงปฏิวัติมาลายูปาตานี
ซึ่งวันที่ 22 เม.ย.65 (ตรงกับวันอีฎ้ิลฟตริซึ่งเป็นวันสําคัญทางศาสนาอิสลามเวลาประมาณ 18.00 น.ได้มีกลุ่มบุคคลชายหญิงที่มีภูมิลําเนาอยู่ในพื้นท่ี จชต.ที่ได้มาพักอาศัยอยู่ใน พื้นที่ กทม.จํานวน 23 ราย(ชาย 15 หญิง 8 ราย) รวมตัวกันในนาม “กลุ่มฟาตอนีดารุ สลาม”แต่งกายด้วยเสื้อยืดที่มีสัญลักษณ์คล้ายรูปธง BRN เดินทางด้วย จยย.มาทํา กิจกรรมเชิงสัญลักษณ์ต่อรูปจําลองปืนใหญ่พญาตานี ที่ต้ังอยู่ภายในบริเวณลานสนามหญ้า ด้านหน้ากระทรวงกลาโหม นั้น
หน่วยงานด้านความมั่นคงยังได้ขยายผลการสืบสวนจนกระทั่งสามารถพิสูจน์ทราบตัวบุคคลที่มาร่วมชุมนุม ได้แล้วทั้งสิ้น จํานวน 14 ราย (ชาย 10 หญิง 4 ราย) ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพและพักอาศัยอยู่ย่านรามคําแหง
นอกจากนี้หน่วยงานด้านความมั่นคงได้มีการบูรณาการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารร่วมกันกับ เพื่อร่วมกันพิสูจน์ทราบพฤติการณ์แต่ละตัวบุคคลที่เหลือ
จนสามารถ สืบสวนปรากฏข้อเท็จจริงว่ากลุ่มดังกล่าวเคยรวมตัวกันออกมา เคลื่อนไหวในลักษณะเดียวกันนี้มาแล้วในห้วงที่ผ่านมา จํานวน 2 ครั้ง เมื่อวันที่ 24 มิ.ย.65 และ 12 ธ.ค.65 ตามลําดับ
ถึงแม้จะยังไม่พบพฤติการณ์หรือสิ่งบอกเหตุที่ชัดเจนใดยืนยันได้ว่ากลุ่มบุคคลดังกล่าวจะก่อเหตุรุนแรงแต่เป็นกาเคลื่อนไหวเชิงสัญลักษณ์ต่อรูปจําลองปืนใหญ่ พญาตานีในลักษณะดังกล่าวน่าเชื่อว่าอาจมีนัยยะซ่อนเร้นทางประวัติศาสตร์บางประการที่มี แนวโน้มว่าอาจก่อให้เกิดความแตกแยกทางความคิดขึ้นในสังคมได้ ดังนั้นการปฏิบัติต่อจาก นี้จักได้ดําเนินการนําข้อมูลที่ได้จากการสืบสวนไปตรวจสอบเพิ่มเติมกับฐานข้อมูลบุคคลเฝ้า ระวังจากพื้นที่ จชต.ในมิติต่างๆรวมถึงฐานข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องโดยละเอียดหน่วยงานด้านความมั่นคง จะได้ทำการพิสูจน์ทราบกลุ่มบุคคลดังกล่าว และ สืบสวนติดตามพฤติการณ์ และจะรายงานความคืบหน้าในการสืบสวนให้ทราบต่อไป