หน้าแรกกระบวนการยุติธรรมอัยการดาว" ผู้ดูแลสำนวนคดีการเสียชีวิต "เเตงโม นิดา"

อัยการดาว” ผู้ดูแลสำนวนคดีการเสียชีวิต “เเตงโม นิดา”

วันที่ 17 มี.ค.66 เวลา 14.00น. ที่ สำนักงานอัยการ นนทบุรี ผู้สือข่าวเดินทางเข้าพบนางสาว สุภาภรณ์ นิปวณิชย์ หรือ อัยการดาว เพื่อสอบถามความคืบหน้าของคดีการเสียชีวืตของดาราสาว “แตงโม นิดา”

นางสาว สุภาภรณ์ นิปวณิชย์ หรือ อัยการดาว กล่าวว่า ความคืบหน้าของคดีจากเดิมที่ศาลมีคำสั่งให้แยกฟ้องจำเลยที่ปฏิเสธจำนวน4คนภายในกำหนดนัดวันที่ 17 มี.ค. ได้ดำเนินการแยกฟ้องจำเลยที่ศาลมีกำหนดให้แยกตั้งแต่ วันที่ 16 มี.ค. ได้ดำเนินการเรียบร้อยแล้ว เมื่อมีการแยกฟ้องการพิจารณาคดีจะแยกเป็น 2 ส่วน ในส่วนคดีเดิมที่มีเลขคดีดำเดิมอยู่แล้วศาลก็จะพิจารณาวินิจฉัย ซึ่งก็จะเป็นขั่นตอนดุลพินิจว่าศาลจะตัดสินวินิจฉัยไปในทางไหน ในส่วนนั้นศาลก็จะมีนัดฟังคำพิพากษาเดิมคืนเดือน พ.ค. ตามที่ได้ทราบกันแล้วหนึ่งส่วน

ส่วนคดีใหม่ในส่วนจำเลยที่ให้การปฏิเสธ 4 คน ต้องแจ้งก่อนในส่วนที่ ปฏิเสธ4คน ณ ตอนนี้ ณ ปัจจุบัน ยังไม่มีจำเลยที่ให้การรับสารภาพเพิ่ม เพราะฉะนั้นการดำเนินขบวนพิจารณาก็จะเข้าสู่วิธีการนัดพร้อม นัดพร้อมเพื่อสอบถามความพร้อม สอบถามว่าจำเลยทั้ง4 จะยืนยันคำให้การปฏิเสธหรือรับสารภาพอีกครั้ง ศาลจะถามในวันนัดก็คืในวันที่ 28 เม.ย. อีกครั้งหนึ่งว่าจะให้การยังไง

เมื่อสอบถามวันนัดแล้วก็จะมีการนัดตรวจพยานและนัดสืบพยาน ในส่วนของจำเลยที่ปฏิเสธอีกครั้ง ในส่วนของคดีเป็นคำสั่งของคดี รายงานการสืบสวน สอบสวนเป็นขั่นตอนพยานหลักฐานเดิมทั้งหมดที่ทำ ก่อนส่งฟ้องศาล ในขั้นตอนการแยกฟ้อง มันเป็นขั้นตอนกระบวนการพิจารณาของศาลที่กำหนดตามกฏหมาย ในระหว่างพิจารณาจำเลยสามารถรับสารภาพก็ได้ เมื่อมีการรับสารภาพศาลก็จะมีดุลพินิจในแต่ละส่วนแยกออกไปเพื่อไม่ให้สำนวนล้าช้าพ้วงกัน เพราะว่าส่วนของจำเลยที่รับสารภาพ ตามหลักเขาก็พร้อมที่จะรับฟังผลของคำพิพากษาของศาล

ส่วนศาลจะตัดสินยังไงเขาจะใช้สิทธิ์อุทธรณ์หรือฎีกาก็เป็นส่วนของจำเลยที่เขารับสารภาพถ้าเขาพอใจในคำพิพากษาของศาล ไม่ว่าศาลจะตัดสินยังไงลงโทษจำคุกหรือไม่ หรือรอการลงโทษหรือไม่ กรณีถ้าจำเลยพอใจในส่วนของจำเลยเขาก็อาจจะไม่อุทธรณ์ แต่ถ้าเขาไม่พอใจในคำพิพากษาของศาลแล้วกฏหมายไม่ได้ต้องห้ามอุทธรณ์ เขาก็มีสิทธิ์ยื่นอุทธรณ์หรือฎีกา ในส่วนของโจทย์ก็เช่นเดียวกันก็ต้องดูผลการพิจารณา ก็เป็นการพิจารณาในส่วนของพนักงานอัยการ ณ ตรงจุดนั้นในอนาคตก็ต้องรอคำพิพากษาคำสั่งศาลเช่นเดียวกับทุกท่านเหมือนกัน

คดีในส่วนคดีอาญาหลักคือถ้าจำเลยให้การปฏิเสธโจทย์มีหน้าที่นำสืบของฝ่สยโจทย์เพราะเราเป็นระบบกล่าวหาเป็นการนำหลักฐานทั้งหมดเท่สที่มีตั้งแต่ชั้นสอบสวนที่พนักงานสอบสวนรวบรวมพยานหลักฐานและคำสั่งสอบสวนเพิ่มเติมของพนักงานอัยการ ก็คือการรวบรวมพยานหลักฐานตั้งแต่ครั้งแรกที่มีการนำส่งเขามา จากที่พนักงานสอบสวนรวบรวมมา เราก็ใช้พยานหลักฐานที่เป็นประโยชน์มีประโยชน์ต่อรูปคดีให้มีน้ำหนักคำฟ้องต่อรูปคดีแล้วก็นำพยานหลักฐานทั้งหมดเข้าสู่กระบวนการพิจารณาของศาล ส่วนจำเลยก็มีสิทธิ์จะให้การแล้วแต่เข้าจะนำพยานหลักฐานอะไรมาหักล้าง ศาลก็จะวิเคราะห์ว่าพยานหลักฐานของโจทย์จำเลย ศาลก็จะให้ดุลพินิจช่างน้ำหนักพยานหลักฐานว่าฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดหน้าเชื่อถือ พยานหลักฐานมั่นคง รับฟังได้ไหมว่าจำเลยทำความผิดตามที่โจทย์ฟ้องหรือไม่ ศาลก็จะวินิจฉัยคดี

RELATED ARTICLES
- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_img