เมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2565 มี รายงานว่า เมื่อวันที่ 28 ก.พ.ที่ผ่านมา รองอธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญา ได้ทำหนังสือบันทึก ถึง อธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญา เรื่อง….ขี้แจงการเพิกถอนหมายจับ นักการเมืองดังท่านหนึ่ง มีใจความรับุว่า “เรียน อธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญา”ตามที่ท่านเลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรมได้มีหนังสือด่วนที่สุด ที่ ศย 003/462 เรื่อง ขอความอนุเคราะห์ข้อมูลคดี ประเด็นที่ 2 กรณีมีการอภิปรายในสภาผู้แทนราษฎรอภิปรายพาดพิงศาลยุติธรรม ว่าศาลอาญามีการเพิกถอนหมายจับโดยมีการแทรกแซงจากรองอธิบดีผู้พิพากษารายหนึ่ง ซึ่งมีข้อมูลว่ามีเจ้าหน้าที่ตำรวจมาขอหมายจับซึ่งเป็นนักการเมืองหลังจากนั้นมีการเรียกเจ้าหน้าที่ตำรวจกลับมาแล้วศาลอาญามีคำสั่งเพิกถอนหมายจับดังกล่าว โดยต้องการทราบว่า ผู้ใดเป็นผู้สั่งให้เจ้าหน้าที่ตำรวจกลับมาเพื่อเพิกถอนหมายจับและผู้ที่สั่งทราบได้อย่างไรว่ามีเรื่องนี้เกิดขึ้น ความดังทราบแล้วนั้น
เดิมเมื่อวันที่ 9 กันยายน 2565 พนักงานสอบสวน กองกำกับการสืบสวน 2 กองบัญชาการตำรวจนครบาล ได้มาดำเนินการขอหมายจับบุคคล 9 คนในความผิดฐานสมคบกันกระทำความผิดร้ายแรงเกี่ยวกับยาเสพติด และได้มีการกระทำความผิดร้ายแรงเกี่ยวกับยาเสพติดตามที่ได้สมคบกันนั้น ฐานสนับสนุนช่วยเหลือผู้กระทำความผิดก่อนหรือขณะกระทำความผิด ฐานจัดหาวัตถุใดๆ เพื่อประโยชน์ หรือให้ความสะดวกแก่การกระทำความผิดหรือเพื่อไม่ให้ผู้กระทำความผิดถูกลงโทษ และฐานรับทรัพย์สิน ประโยชน์อื่นๆ จากผู้กระทำความผิดเพื่อให้ความสะดวกแก่ผู้กระทำความผิด หรือ ไม่ให้ผู้กระทำความผิดถูกลงโทษตาม พ.ร.บ.มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ. 2534 และประมวลกฎหมายยาเสพติดซึ่งต่อมาในเบื้องต้นจับกุมผู้ต้องหาได้ 5 คน คือ 1.) นายทุน มิน หลัด (Mr. Tun Min Latt) สัญชาติเมียนมา, 2.) นาย ดีน ยัง จุลธุระ, 3.) นางสาวน้ำหอม เนตรตระกูล, 4.) นาง ปิยะดา คำต๊ะ, 5.) บริษัทอัลลัวร์กรุ๊ป (พีแอนด์อี) จำกัด โดยนายทุน มิน หลัด
ต่อมาเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม 2565 เวลาประมาณ 10 นาฬิกาเศษ พนักงานสอบสวนได้ยื่นคำร้องขอหมายจับนักการเมือง รายหนึ่งในข้อหาเช่นเดียวกับการขอหมายจับครั้งแรกดังกล่าวข้างต้นทั้งเพิ่มเติมให้ดำเนินคดี ในความผิดฐานร่วมกันฟอกเงิน สมคบโดยตกลงตั้งแต่สองคนขึ้นไปเพื่อกระทำความผิดฐานฟอกเงิน และได้มีการกระทำความผิดฐานฟอกเงินเพราะเหตุที่ได้มีการ สมคบกัน และสนับสนุนการฟอกเงิน ตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 ด้วย เจ้าหน้าที่ศาลยุติธรรมชำนาญงานซึ่งเป็นหัวหน้างานฝากขัง หมายค้น หมายจับ จึงแจ้งเลขานุการศาลอาญา ทราบ ว่าบุคคลดังกล่าว เป็น นักการเมืองเพื่อรายงานท่านอธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญาทราบตามลำดับ ต่อมาเมื่อผู้พิพากษาศาลอาญาที่ทำหน้าที่พิจารณาออกหมายค้นหมายจับประจำวันดังกล่าวได้ทำการพิจารณาแล้วออกหมายจับให้ เจ้าหน้าที่ตำรวจที่เป็นพนักงานสอบสวนไปดำเนินการแล้ว พร้อมทั้งได้โทรศัพท์รายงานเลขานุการศาลอาญาอีกครั้ง และแจ้งว่าการออกหมายจับดังกล่าวน่าจะไม่ได้มีการปรึกษาผู้บริหารศาลอาญาก่อนออกหมายจับเลขานุการศาลอาญา
จึงได้รายงานแก่อธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญา และมาสอบถามข้าพเจ้าในฐานะรองอธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญา ว่ามีเหตุการณ์ที่มีการออกหมายจับนักการเมือง โดยยังมิได้มีการปรึกษาท่านอธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญา (ที่เพิ่งมารับตำแหน่งเป็นวันแรก) ก่อน ซึ่งข้าพเจ้าเห็นว่าการออกหมายจับดังกล่าวยังเป็นการมีได้ปฏิบัติให้เป็นไปตามข้อบังคับของประธานศาลฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการออกคำสั่งหรือหมายอาญา ฉบับที่ 5 พ.ศ. 2565 ข้อบังคับของประธานศาลฎีกา ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการออกคำสั่งหรือหมายอาญาพ.ศ. 2548 คำแนะนำอธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญา ว่าด้วยการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน พ.ศ. 2565 ระเบียบศาลอาญา ว่าด้วยแนวทางการบริหารจัดการคดีของศาลอาญา ลงวันที่ 1 เมษายน 2565 และคำสั่งศาลอาญาที่ 110/2565 เรื่อง มอบหมายหน้าที่รองอธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญา และผู้พิพากษาหัวหน้าแผนกคดีพิเศษในศาลอาญา ลงวันที่ 3 ตุลาคม 2565 เนื่องจากการร้องขอให้ออกหมายจับ ผู้ร้องขอต้องเสนอพยานหลักฐานตามสมควรว่า ผู้จะถูกจับน่าจะได้กระทำความผิดอาญาซึ่งมีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงเกินสามปี หรือน่าจะได้กระทำความผิดอาญาและมีเหตุอันควรเชื่อว่าผู้นั้นจะหลบหนี หรือจะไปยุ่งเหยิงกับพยานหลักฐาน หรือก่อเหตุอันตรายประการอื่น พยานหลักฐานที่อาจพิสูจน์ได้ว่ามีเหตุสมควรในการออกหมายจับ ให้รวมถึงข้อมูลที่ได้จากการสืบสวน สอบสวน เช่น บันทึกสรุปข้อเท็จจริงจากสำนวนการสอบสวนที่เสนอต่อผู้บังคับบัญชา
ในการพิจารณาคำร้องขอหมายจับ แม้ในคดีที่มีอัตราโทษขั้นสูงเกิน 3 ปี ซึ่งอาจออกหมายจับได้ตามความใน ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 66 (1 ) แต่หากไม่ปรากฏเหตุว่า การออกหมายเรียกก่อนจะมีผลเสียหายแก่คดี เสี่ยงต่อการที่ผู้ต้องหาจะหลบหนี การจะไปยุ่งเหยิงกับพยานหลักฐาน หรือจะก่อเหตุอันตรายประการอื่น ศาลพึงพิจารณาให้ออกหมายเรียกแทนที่จะออกหมายจับการปรึกษาคดีนอกจากคดีที่กำหนดไว้แล้ว ให้ผู้พิพากษาปรึกษาอธิบดีผู้พิพากษาศาลญาคือ… คำร้องขอหมายนหรือหมายจับคดีที่ คู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเป็นผู้เป็นนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี นักการเมือง ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ ผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ บุคคลในสถานทูต หรือผู้พิพากษา คดีความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักรหรือคดีความผิดเกี่ยวกับการก่อการร้ายตามประมวลกฎหมายอาญา พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์หรือกฎหมายอื่น คดีความผิดเกี่ยวกับการชุมนุมคดีเกี่ยวกับความมั่นคงในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ คดีที่อยู่ในความสนใจของประชาชน หรือมีผลกระทบต่อสังคมเป็นพิเศษซึ่งคดีที่ต้องปรึกษานี้ ให้ผู้พิพากษาปรึกษารองอธิบดีผู้หิพากษาศาลอาญาก่อนที่จะไปปรึกษาอธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญาต่อไปให้รองอธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญาและผู้พิพากษาหัวหน้าแผนกคดีพิเศษปรึกษาอธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญาในคดีต่อไปนี้
สำหรับคำร้องขอหมายคันหรือหมายจับคดีที่คู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งหรือผู้เสียหายเป็นนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี นักการเมือง ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ ผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ บุคคลในสถานทูต หรือผู้พิพากษา คดีความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักรหรือคดีความผิดเกี่ยวกับการก่อการร้ายตามประมวลกฎหมายอาญาพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์หรือกฎหมายอื่น คดีความผิดเกี่ยวกับการชุมนุมคดีเกี่ยวกับความมั่นคงในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ คดีที่อยู่ในความสนใจของประชาชนหรือมีผลกระทบต่อสังคมเป็นพิเศษ ซึ่งปรากฎว่าเอกสารประกอบคำร้องขอหมายจับในคดีนี้ที่ผู้ร้องขอให้ออกหมายจับได้ส่งบันทึกข้อความลงวันที่ 28 กันยายน 2565 เรื่องรายงานสืบสวนถึงผู้กำกับการสืบสวนสอบสวน 2 กองบัญชาการตำรวจนครบาล ซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาของตน โดยรายงานการสืบสวนสรุปความว่าเห็นควรให้มีการดำเนินคดีกับนักการเมืองรายดังกล่าวในความผิดดังกล่าว
แต่ผู้บังคับบัญชาของผู้ยื่นคำร้องขอยังไม่การเกษียนสั่งในเรื่องดังกล่าวแต่อย่างใดการที่จะออกหมายจับนักการเมืองซึ่งเป็นวุฒิสมาชิก ยังมิได้มีการดำเนินการปรึกษารองอธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญาและอธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญาก่อนมีคำสั่งแต่อย่างใด ซึ่งไม่เป็นไปตามข้อบังคับของประธานศาลฎีกาฯ คำแนะนำอธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญาฯ ระเบียบศาลอาญาฯและคำสั่งศาลอาญาที่ 110/2565 ดังกล่าวข้างต้นด้วยท่านอธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญาและข้าพเจ้าจึงมอบหมายให้เลขานุการศาลอาญาแจ้งเจ้าหน้าที่งานหมายคันหมายจับ ประสานพนักงานสอบสวน ผู้ร้องขอออกหมายจับดังกล่าว นำหมายจับดังกล่าวกลับมาที่ศาลอาญาก่อนเพื่อพิจารณาเรื่องดังกล่าวอีกครั้งในชั้นแรก ผู้ขอให้ออกหมายจับบ่ายเบี่ยงอ้างว่าออกหมายจับให้แล้วจะเรียกกลับไปทำไมได้ส่งหมายจับดังกล่าวเข้าระบบหมายจับของตำรวจทั่วประเทศแล้ว แต่ข้าพเจ้าก็หมายจับกลับมสพิจารณากันใหม่ก่อน เมื่อผู้ขอให้ออกหมายจับดังกล่าวมาที่ศาลอาญาพร้อมกับผู้กำกับการฯ ซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาของตน ก็ได้ร่วมการประชุมปรึกษาร่วมกันกับอธิบดีผู้พิพากษาญา ข้าพเจ้า ผู้พิพากษาที่ออกหมายจับดังกล่าว และเลขานุการศาลอาญาทำหน้าที่หาเอกสารต่างๆ สอบถามแล้วได้ความว่า ผู้ร้องขอให้ออกหมายจับอ้างว่าได้แจ้งให้กับเจ้าหน้าที่หมายจับหมายค้นของศาลแล้วว่ามาออกหมายจัวุฒิสมาชิก แต่ผู้พิพากษาผู้ที่ออกหมายจับไม่ได้รับแจ้งเรื่องกล่าว
ทั้งวันดังกล่าวมีการขอออกหมายจับ หมายนเป็นจำนวนมาก ผู้พิพากษาได้พิจารณาออกหมายจับ หมายค้นไปตามที่เคยปฏิบัติมา โดยไม่ได้สังเกตเห็นว่านายอุปกิตเป็นวุฒิสมาชิกเนื่องจากในคำร้องดังกล่าวระบุว่า เป็นนักการเมืองเพียงครั้งเดียวในหน้าที่ 2 ของคำร้องฯ จึงออกหมายจับให้ไปโดยมิได้นำเรื่องดังกล่าวเข้าปรึกษากับผู้บริหารศาลอาญาตามระเบียบและข้อแนะนำดังกล่าวข้างต้นก่อน ข้าพเจ้าได้สอบถามจากผู้กำกับการสืบสวน 2 ซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาของผู้ร้องขอให้ออกหมายจับแล้ว ไม่ทราบเรื่องดังกล่าวเลย ขณะนั้นข้าพเจ้าไม่ทราบระเบียบหรือข้อบังคับใดๆ ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติเกี่ยวกับการขอหมายจับบุคคลสำคัญเช่นนี้ จึงได้โทรศัพท์ สอบถามผู้บังคับบัญชาสูงของหน่วยงาน แจ้งว่าหน่วยงานดังกล่าวอยู่ในความรับผิดชอบของตน แต่ตนได้มอบหมายให้ รองผู้บัญชาการท่านอื่นดูแล เรื่องที่ขอหมายจับดังกล่าว ตนไม่ทราบ แต่แสดงความเห็นว่าการออกหมายจับซึ่งเป็นบุคคลสำคัญของสถาบันหลักเช่นนี้ น่าที่จะต้องขอออกหมายเรียกก่อน ไม่ควรขอออกหมายจับทันที ข้าพเจ้าได้โทรศัพท์ผู้บังคับการตำรวจนครบาลที่ศาลอาญาอยู่ในเขตความรับผิดชอบ ถึงเรื่องดังกล่าว แจ้งว่าเรื่องดังกล่าวควรจะขอออกหมายเรียกก่อนเช่นกัน และจำได้ว่าน่าจะมีระเบียบของสำนักงานตำรวจแห่งชาติว่าต้องขออนุมัติจากผู้บังคับบัญชาระดับสูงด้วย โดยจะทำการตรวจสอบอีกครั้ง และต่อมาแจ้งว่าเรื่องการที่จะออกหมายเรียกหรือหมายจับสมาชิกรัฐสภาต้องได้รับความเห็นชอบจากผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ หรือรองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ที่ได้รับมอบหมายก่อนเท่านั้น และหากเป็นช่วงที่อยู่ในสมัยประชุมของสภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภา หรือรัฐสภา แม้แต่การออกหมายเรียกสำนักงานตำรวจแห่งชาติก็ต้องออกหนังสือขออนุญาตต่อประธานสภาที่ผู้นั้น เป็นสมาชิกก่อนด้วย ซึ่งในภายหลังได้ส่งตัวอย่างของการดำเนินคดีทำนองเดียวกันนี้มาให้ด้วย
ข้าพเจ้าได้สอบถามผู้พิพากษาที่ทำการออกหมายจับเรื่องดังกล่าวว่า หากท่านพบโดยชัดแจ้งว่า ผู้ที่ถูกร้องขอให้ออกหมายจับเป็นบุคคลสำคัญเช่นวุฒิสมาชิกเช่นนี้ ท่านจะปฏิบัติอย่างไร ท่านผู้พิพากษาผู้ออกหมายจับแจ้งว่าหากตนพบเช่นนั้นก็จะต้องนำเรื่องมาปรึกษารองอธิบดี และอธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญาก่อนอย่างแน่นอน
อีกประการหนึ่งข้าพเจ้าได้สอบถามผู้ร้องขอให้ออกหมายจับว่า คดีดังกล่าวเนื่องจากมีการจับกุมผู้ต้องหาได้ 5 คน ซึ่งอ้างว่าเป็นผู้ร่วมกระทำความผิดกับนายอุปกิตมาก่อนแล้ว คดีนี้จึงมีพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบสำนวน เหตุใดจึงไม่ส่งเรื่องให้พนักงานสอบสวนที่มีอำนาจเป็นผู้มาทำการขอหมายด้วยตนเอง และเหตุใดจึงไม่มีการขออนุมัติจากผู้บังคับบัญชาตามกฎหมายก่อน ผู้ร้องขอให้ออกหมายจับแจ้งว่า นักการเมือง คนนี้เส้นใหญ่มาก ไม่มีทางที่ พนักงานสอบสวนจะดำเนินการหรือดำเนินคดีใดๆ กับนักการเมืองรายหนึ่งอย่างแน่นอน การสืบสวนมาตั้งแต่ตันจึงต้องดำเนินการจับกุมเอง ในการประชุมนั้นข้าพเจ้าเห็นว่า หากให้มีการนำหมายจับที่ออกโดยไม่ชอบ ดังกล่าวไปดำเนินการจับกุมปกิตซึ่งเป็นนักการเมือง และต้องปฏิบัติให้ถูกต้องทั้งตามระเบียบของรัฐสภา สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และของศาลยุติธรรมแล้ว ย่อมจะต้องมีผลเสียหายกลับมาสู่ศาลยุติธรรมอย่างแน่นอนวุฒิสภาต้องทำการตรวจสอบเรื่องนี้ และก็จะพบว่าความบกพร่องส่วนหนึ่งก็มาจากศาลยุติธรรม ซึ่งไม่อาจปล่อยให้เป็นเช่นนั้นได้ ประกอบกับแม้จะมีการออกหมายจับไปแล้วแต่ก็ยังมิได้มีการนำหมายจับดังกล่าวไปแสดงเพื่อจับกุมนายอุปกิตแต่อย่างใด
จึงสมควรที่ทำการแก้ไขเรื่องดังกล่าวให้ถูกต้องโดยการเพิกถอนหมายจับดังกล่าว จากนั้นข้าพเจ้าจึงขอตัวกลับไปที่ห้องทำงานเนื่องจากมีผู้พิพากษามาปรึกษาคดีในที่ประชุมจึงมีความเห็นร่วมกันว่า คำร้องขอออกหมายจับของผู้ร้องดังกล่าวน่จะยังไม่ชอบ เนื่องจากผู้บังคับบัญชายังไม่มีคำสั่งมอบหมายให้ดำเนินการ และไม่ได้ดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมายและระเบียบของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ จึงให้ผู้พิพากษาเจ้าของสำนวนทำการเพิกถอนหมายจับดังกล่าว เพื่อให้ออกหมายเรียกก่อนภายใน 15 วัน หากทางบุคคลสำคัญดังกล่าวไม่มาตามหมายเรียก ก็ให้ผู้ร้องดำเนินการขอหมายจับต่อไป สำหรับหมายเรียกให้พนักงานสอบสวนเป็นผู้ดำเนินการโดยด่วน
ข้าพเจ้าขอยืนยันว่า ข้าพเจ้า ผู้พิพากษา และเจ้าหน้าที่ของศาลอาญาที่เกี่ยวข้องทุกคนไม่มีผู้ใดรู้จัก หรือทำการเพื่อช่วยเหลือนายอุปกิตซึ่งเป็นวุฒิสมาชิกคนดังกล่าวแต่อย่างใดการประชุมปรึกษาหารือและมีคำสั่งเพิกถอนหมายจับดังกล่าวเป็นไปตามกฎหมายระเบียบข้อบังคับและคำแนะนำตามกฎหมายทั้งสิ้นจึงเรียนมาเพื่อทราบ “หนังสือบันทึกดังกล่าว ระบุ”