ตามนโยบายของ พล.ต.อ.ดำรงศักดิ์ กิตติประภัสร์ ผบ.ตร. และ พล.ต.อ.รอย อิงคไพโรจน์ รอง ผบ.ตร./ ผอ.ศูนย์ปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี PCT ให้ปราบปรามกลุ่มเครือข่ายองค์กรอาชญากรรมที่กระทำความผิดในโลกออนไลน์ทุกรูปแบบซึ่งสร้างความเดือนร้อนให้กับประชาชนผู้สุจริตจำนวนมาก โดยชุดลาดตระเวนออนไลน์ บก.สส.บช.น. ได้ออกลาดตระเวนออนไลน์จนเห็นถึงความเดือดร้อนของประชาชนซึ่งซึ่งเคยถูกคนร้าย
เมื่อวันที่ 13 มีนาคม 2566 เวลาประมาณ 08.45 น. พล.ต.ท.ธิติ แสงสว่าง ผบช.น. , พล.ต.ต.นพศิลป์ พูลสวัสดิ์ รอง ผบช.น. พล.ต.ต.ธีรเดช ธรรมสุธีร์ ผบก.สส.บช.น. / หัวหน้าชุด PCT ชุดปฏิบัติการ 5 ,พ.ต.อ.เกียรติศักดิ์ สระทองออย รอง ผบก.สส.บช.น., พ.ต.อ.วรพจน์ รุ่งกระจ่างรอง ผบก.สส.บช.น. พ.ต.อ.สมบูรณ์ สุขศรีดาวเดือน ผกก.สส.3 บก.สส.บช.น., พ.ต.ท.ปกรณ์ ทองช่วง, พ.ต.ท.วิโรฒ จนุบุษย์ รอง ผกก.สส.3 บก.สส.บช.น. ได้สั่งการให้ พ.ต.ต.วรุตม์ คำหล้า สว.กก.สส.3 บก.สส.บช.น. พร้อม เจ้าหน้าที่ตำรวจ กก.สส.3 บก.สส.บช.น. ทำการจับกุมตัว น.ส.วิชุดา วรธาราปกรณ์ อายุ 44 ปี อยู่ที่บ้านเลขที่ 120/46 ซอยสายไหม 20 แขวงสายไหม เขตสายไหม กรุงเทพฯ ผู้ต้องหาตามหมายจับศาลจังหวัดกำแพงเพชร ที่ 313/2565 ลงวันที่ 27 ธันวาคม 2565 โดยกล่าวหาว่า “ร่วมกันฉ้อโกงประชาชนโดยการแสดงตนเป็นคนอื่น, ร่วมกันนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ปลอมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน , เข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ที่มีมาตรการป้องกันการเข้าถึงโดยเฉพาะ และมาตรการนั้นมิได้มีไว้สำหรับตน” และมีหมายจับข้อหาเดียวกันออกโดยศาลจังหวัดธัญบุรี หมายจับที่ 50/2566 ลงวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2566 และศาลจังหวัดเชียงใหม่ หมายจับที่ 43/2566 ลงวันที่ 19 มกราคม 2566
สืบเนื่องจาก เมื่อประมาณเดือนกรกฎาคม 2565 น.ส.วิชุดาฯ ได้พบเห็นโพสต์ในเฟซบุ๊คชักชวนให้ทำงานในลักษณะว่า “ใครร้อนเงินทักมา” โพสต์โดยผู้ใช้เฟซบุ๊คชื่อ “บัวลอยไข่หวาน ไม่เพิ่มน้ำตาลไม่ใส่กะทิ” ซึ่งขณะนั้น น.ส.วิชุดาฯ มีภาระต้องเลี้ยงดูลูก 2 คน ด้วยตัวคนเดียว จึงได้ติดต่อไปเพื่อหาเงินผ่านช่องทางดังกล่าว ต่อมาได้ทำการเปิดบัญชีธนาคารจำนวน 8 บัญชี พร้อมลงทะเบียนหมายเลขโทรศัพท์ผูกบัญชีให้กับผู้ใช้เฟซบุ๊คดังกล่าวไป ได้รับเงินค่าตอบแทนบัญชีละ 500 บาท ต่อมาบัญชีธนาคารที่ น.ส.วิชุดาฯ เปิดไว้ ถูกนำไปใช้รับโอนเงินจากแก๊งคอลเซ็นเตอร์และหลอกลวงผู้เสียหายได้หลายคน ได้แก่ 1) คดีของ บก.สอท.4 หลอกว่าเป็นเจ้าหน้าที่ไปรษณีย์ไทย และ หลอกเป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจ สภ.เมืองตาก มูลค่าความเสียหาย 1,626,819.21 บาท 2) คดีของ สภ.คลองหลวง หลอกลวงลักษณะแอพพลิเคชั่นให้กู้เงิน มูลค่าความเสียหาย 48,000 บาท 3) คดี สภ.แม่ปิง หลอกลวงโดยอ้างเป็นตำรวจ สภ.เมืองพัทลุง แจ้งว่าผู้เสียหายถูกดำเนินคดีและให้โอนเงินมาตรวจสอบ มูลค่าความเสียหาย 670,000 บาท
พล.ต.ต.ธีรเดช ธรรมสุธีร์ ผู้บังคับการสืบสวนสอบสวน กองบัญชาการตำรวจนครบาล เปิดเผยว่า นโยบายของ พล.ต.อ.ดำรงศักดิ์ กิตติประภัสร์ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ และ พล.ต.ท.ธิติ แสงสว่าง ผู้บัญชาการตำรวจนครบาล ให้จัดชุดลาดตระเวนออนไลน์สืบสวนติดตามคนร้ายที่เป็นภัยออนไลน์ สร้างความเดือดร้อนให้กับประชาชนเป็นจำนวนมาก และยังก่อเหตุต่อเนื่อง จึงฝากเตือนไปยังประชาชนอย่ารับจ้างเปิดบัญชีหรือทำธุรกรรมใด ๆ ให้กับคนที่ไม่รู้จัก ซึ่งบัญชีดังกล่าวอาจนำไปใช้ในการกระทำความผิด ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ประชาชนมีผู้เดือดร้อนจำนวนมาก