หน้าแรกกระบวนการยุติธรรม'ศรีวราห์' นั่งหัวโต๊ะประชุมคอนฟอเร้น ตำรวจทั่วประเทศ กำชับวางมาตราการเข้ม รับมือสงกรานต์

‘ศรีวราห์’ นั่งหัวโต๊ะประชุมคอนฟอเร้น ตำรวจทั่วประเทศ กำชับวางมาตราการเข้ม รับมือสงกรานต์

ที่ห้องประชุม ศปก.ตร. ชั้น 20 สำนักงานตำรวจแห่งชาติ พล.ต.อ.ศรีวราห์ รังสิพราหมณกุล รอง ผบ.ตร. เรียกประชุมทางไกล (VDO Conference) เพื่อมอบนโยบายในการเตรียมความพร้อมด้านการจราจรช่วงเทศกาลสงกรานต์ 2561 ให้แก่เจ้าหน้าที่งานจราจรและสายงานสอบสวน ในสังกัด บช.น., บช.ก. และ ภ.1 – 9 ตั้งแต่ระดับ บช. ถึงระดับ สน. สภ. ทั่วประเทศ โดยกำหนดระยะเวลาการดำเนินการช่วงควบคุมเข้มข้น 7 วัน ระหว่างวันที่ 11-17 เม.ย.ในหัวข้อการรณรงค์ : “ขับรถมีน้ำใจ รักษาวินัยจราจร”

พล.ต.อ.ศรีวราห์ เปิดเผยก่อนการเข้าประชุมว่า การประชุมในวันนี้จะมีการสั่งการให้เจ้าหน้าที่รับทราบแผนบูรณาการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลสงกรานต์ พ.ศ.2561 ของศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนน (ศปถ.) พิจารณาแผนและแนวทางการปฏิบัติด้านการจราจรในช่วงเทศกาลสงกรานต์ เช่นการออกข้อบังคับเจ้าพนักงานจราจรทั่วราชอาณาจักร หรือข้อบังคับเจ้าพนักงานจราจรกรุงเทพมหานคร เพื่อกำหนดช่องหรือแนวทางเดินรถขึ้นและล่องในถนนบางสาย (ช่องทางพิเศษ : Reversible Lane)

โดยคาดว่าในปี 2561 นี้ปริมาณรถในช่วงเทศกาลสงกรานต์จะมีมากกว่าช่วงปีใหม่ที่ผ่านมาโดยเฉพาะถนนสายมิตรภาพที่เดินทางไปอีสาน โดยจะมีการตรวจสอบและเรียกประชุมความคืบหน้าในทุกอาทิตย์ เพื่อแก้ไขปัญหาจุดที่อาจทำให้การจราจรติดขัด ให้สามารถเร่งระบายการจราจรและแก้ไขปัญหาการจราจรติดขัด ในช่วงการเดินทางเข้า-ออกจากพื้นที่กรุงเทพมหานครหรือจังหวัดใหญ่ตามภูมิภาคต่าง ๆ รวมถึงจัดกำลังพล และเครื่องมือให้มีความพร้อม

พล.ต.อ.ศรีวราห์ กล่าวถึงมาตรการเกี่ยวกับความปลอดภัยที่จะมีการเสริมเข้าไปในปี 2561 นี้ว่า จะออกข้อบังคับของเจ้าพนักงานจราจรห้ามเล่นน้ำบนถนนทั้งสายหลัก และสายรองทั่วประเทศ ขณะเดียวกันจะมีการร่วมมือกับฝ่ายปกครองหรือผู้นำท้องถิ่นในการกำหนดพื้นที่เล่นน้ำสงกรานต์ ที่มีความปลอดภัยและปลอดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิด (Zoning) ในพื้นที่ดังกล่าว และจะควบคุมการกระทำความผิดอย่างเข้มข้น ตาม พ.ร.บ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ.2561 งดดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในบริเวณพื้นที่เล่นน้ำสงกรานต์ (Zoning) และหากพบว่ามีการจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์โดยผิดกฎหมาย จะดำเนินการโดยเด็ดขาดทุกกรณี และให้ทุกพื้นที่ตรวจสอบกรณีเยาวชนอายุต่ำกว่า 20 ปี ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และให้สืบสวนขยายผลไปยังร้านค้าที่จำหน่ายด้วย

ส่วนกรณีการนั่งท้ายกระบะ หากเป็นพฤติกรรมที่ไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อตนเองและผู้อื่น ก็จะใช้การลงโทษด้วยการว่ากล่าวตักเตือน แต่หากเป็นพฤติกรรมที่มีความล่อเหลมที่จะก่อให้เกิดอันตรายต่อตนเองและผู้อื่นก็ให้บังคับใช้กฎหมาย เช่นกรณีนั่งท้ายกระบะกลับภูมิลำเนา เป็นต้น โดยเชื่อว่าเจ้าหน้าที่จะใช้ดุลยพินิจได้อย่างเหมาะสมไม่มีการเรียกรับผลประโยชน์อย่างแน่นอน

นอกจากนี้ จะบังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มงวดใน 10 ข้อหาหลัก ได้แก่ 1) ขับขี่รถโดยใช้ความเร็วเกินอัตราที่กฎหมายกำหนด 2) ขับขี่รถย้อนศร 3) ฝ่าฝืนสัญญาณจราจร 4) ไม่คาดเข็มขัดนิรภัย 5) ไม่มีใบขับขี่ 6) แซงในที่คับขัน 7) ขับขี่รถในขณะเมาสุรา 8) ไม่สวมหมวกนิรภัย 9) มอเตอร์ไซค์ไม่ปลอดภัย 10)ใช้โทรศัพท์มือถือขณะขับขี่รถ

โดยเน้นหนักในการจับกุมข้อหาที่เป็นปัจจัยเสี่ยงการเกิดอุบัติเหตุทางถนนสูงที่สุด คือ ขับขี่รถโดยใช้ความเร็วเกินอัตราที่กฎหมายกำหนด ขับขี่รถในขณะเมาสุรา ไม่สวมหมวกนิรภัย ไม่คาดเข็มขัดนิรภัย และไม่มีใบขับขี่ อย่างเข้มข้น นอกจากนี้ ยังเข้มงวดกวดขันกับการเกิดอุบัติเหตุทางถนนที่เป็นเหตุให้มีผู้บาดเจ็บหรือเสียชีวิต โดยผู้ขับขี่ทั้ง 2 ฝ่ายจะต้องถูกตรวจวัดระดับแอลกอฮอล์ทุกราย และพนักงานสอบสวนจะบันทึกผล
การตรวจลงในระบบเทคโนโลยีสารสนเทศสถานีตำรวจ (ระบบ CRIMES) เพื่อเป็นข้อมูลในการตรวจสอบการกระทำผิดซ้ำ เพื่อเป็นข้อมูลให้ศาลพิจารณาโทษที่สูงขึ้น


 

RELATED ARTICLES

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_img